อายุไม่เท่าไหร่ ทำไมขี้ลืม

Read Time:2 Minute, 41 Second

เราอาจเคยเข้าใจว่าความจำแย่ลง เทียบเท่ากับอัลไซเมอร์ แต่จริง ๆ แล้วปัญหาด้านความจำ โดยเฉพาะในคนที่อายุยังไม่มาก อาจเกิดจากสาเหตได้อีกหลายอย่าง บางครั้งเป็นโรคทางกาย โรคติดเชื้อ หรือแม้กระทั่งโรคทางใจ ซึ่งเราอาจยังไม่มีอาการอื่น หรือไม่ได้สังเกตตนเองมาก่อน มีผู้ป่วยเพียงบางส่วนเท่านั้น ที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ หรือโรคสมองเสื่อมชนิดอื่น ๆ 

กลไกการจำของสมองคนเรานั้น เปรียบเทียบง่าย ๆ ให้คิดว่าสมองเราเป็นคอมพิวเตอร์ เวลาเราจะจำอะไรเหมือนเราได้ทำการป้อนข้อมูลเข้าไปบันทึกในเมมโมรี่ยูนิท คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งอาจจะมีเมมโมรี่ยูนิคเดียว แต่ในสมองเราเปรียบได้กับคอมพิวเตอร์โครงข่ายองค์กรขนาดใหญ่ ที่ใช้หลาย ๆ ส่วนทำงานร่วมกัน โดยมีหน่วยงานหลักก็คือ ส่วนที่เรียกว่า ฮิปโปแคมปัส ในการบันทึกข้อมูลต่าง ๆ , เวลาจะนึกถึงเรื่องใด สมองเราก็จะทำการค้นข้อมูล ผ่านใยประสาทที่มีแขนงมากมาย เมื่อพบข้อมูลแล้ว สมองจึงทำการแสดงผลออกมาในรูปแบบต่าง ๆ อาจเป็นภาพ 

ปัญหาความจำเกิดจากอะไรได้บ้าง

♥ ปัญหาความจำเกิดได้จากทั้งสามส่วน เราอาจเสีย input เช่น เรากำลังมีภาวะเครียด ทำให้ไม่มีสมาธิ ส่วนของการรับข้อมูลก็จะเสียไป ในคนแก่ ๆ บางคนหูตึง แต่ไม่รู้ตัว คนรอบข้างก็ดูเหมือนว่าเขาจะเป็นสมองเสื่อม แต่จริง ๆ คนไข้หูตึง 

♥ โรคบางโรค เช่น ไทรอยด์ผิดปกติ โรคติดเชื้อไวรัส โรคของปลอกหุ้มประสาท หรือคนที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองเล็ก ๆ ตีบ พวกนี้ก็ไปรบกวน processor การส่งกระแสประสาท ทำให้ประสาทวิ่งช้า ก็มีอาคารคล้ายความจำไม่ดีได้ ลักษณะนี้จะเหมือนคนนึกอะไรนาน เอ๊ะ อะไรนะ คุ้น ๆ แต่พอใบ้ข้อมูลก็จะ อ๋อ เพราะว่าเสียแค่ การส่งกระแสประสาทที่ช้าลง แต่ความจำยังอยู่

♥ ในโรคอัลไซเมอร์ เปรียบได้กับการเสียการทำงานที่ศูนย์บัญชาการใหญ่ เนื้อสมองที่ทำงานโดยตรงคือ ฮิปโปแคมปัส มันฝ่อเหี่ยว เหมือนคอมพิวเตอร์ที่พังตรง CPU เลย ก็แทบจะใช้งานได้ยากลำบาก ถ้าไม่เอาไปซ่อม

จะป้องกัน และแก้ไข อย่างไร

หากเป็นปัญหาความจำไม่ดีอย่างเดียว ลองสำรวจว่า เรามีอะไรที่อธิบายอาการได้หรือไม่ เช่น พักผ่อนน้อย นอนดึกประจำ นอนกรนจากทางเดินหายใจอุดกั้น เครียดจากภาระงาน วิตกกังวล ซึมเศร้า หรือมีเรื่องกระทบกระเทือนจิตใจ หรือมีโรคทางกาย ถ้ามีสาเหตุเราก็ป้องกันหรือแก้ไขตามสาเหตุนั้น ๆ วิธีช่วยที่ได้คือ การฝึกสมาธิ การออกกำลังกายแบบแอโรบิค การทำกิจกรรมพิเศษ จัดการความเครียด ริเริ่มทำสิ่งใหม่ เพื่อกระตุ้นการทำงานของใยประสาท แต่ถ้าหากมีอาการอื่นร่วมด้วย อาทิเช่น การเดินล้มบ่อย ทรงตัวไม่ดี ปวดศรีษะเรื้อรัง การนอนผิดปกติรวมทั้งนอนกรน หรือมีอาการอย่างเฉียบพลัน เป็นต้น  แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ สำหรับโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากความชรา ความเสื่อมถอยของเซลล์ร่างกาย ปัจจุบันยังไม่มียาที่รักษาได้ แต่สามารถชะลอโรค และมุ่งเน้นการปรับแก้อาการอื่น ๆ ที่พบร่วมกับตัวโรค เช่น ปัญหาการนอน ปัญหาด้านพฤติกรรม โดยใช้วิธีการใช้ยา และไม่ใช้ยา โดยมีเป้าหมาย คือให้ผู้ป่วยได้ดำรงชีวิตได้อย่างปกติ สุขที่สุดเท่าที่จะทำได้

ขอบคุณสำหรับข้อมูลจาก โรงพยาบาลสินแพทย์ 0-2793-5099

ภาพ: http://www.vcharkarn.com/60382

Previous post พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ จัดงาน“บูชาสัตตมงคลสถาน ถวายน้ำสงกรานต์เกศแก้วจุฬามณี รวมใจภักดีพระภูมี 2 แผ่นดิน”
Next post ฟู้ด แคปปิตอล ควบรวม 2 กิจการ จี เอ็นเตอร์ไพรส์ -กลุ่มโอชา ขึ้นแท่นผู้นำเทรนด์ธุรกิจร้านอาหาร
Social profiles