โรงพยาบาลพระรามเก้า นำร่องระบบไทยแลนด์ 4.0 ใช้ระบบดิจิทัลเต็มตัว

Read Time:3 Minute, 18 Second

โรงพยาบาลพระรามเก้า ร่วมมือกับบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด มุ่งยกระดับประสิทธิภาพในการพัฒนาสาระสนเทศน์ เพื่อช่วยเป็นกำลังผลักดันการปฏิรูปธุรกิจสู่ยุคดิจิทัล อุตสาหกรรมการแพทย์ถือเป็นอีกกลุ่มธุรกิจที่ไมโครซอฟท์เข้ามามีบทบาทในการช่วยส่งเสริมการยกระดับการดูแลรักษาผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สร้างความเชื่อมั่นให้กับองค์กร พนักงาน ตลอดจนคนไข้หรือลูกค้าของโรงพยาบาล

แพทย์หญิงปิยะรัตน์ สัมฤทธิ์ประดิษฐ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ กำกับดูแลฝ่ายสารสนเทศ โรงพยาบาลพระรามเก้า กล่าวว่า “โรงพยาบาลพระรามเก้าเป็นโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่มีสาขา มีพนักงานกว่า 1,200 คน และมีผู้ป่วยนอกมารับบริการเฉลี่ย 1,100 คนต่อวัน ดังนั้นโรงพยาบาลจึงจำเป็นต้องขยายอาคารและปรับปรุงระบบเพื่อรองรับปริมาณผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น ตอบรับการดำเนินงานตามมาตรฐานสากลของโรงพยาบาล ดังนั้น เมื่อโรงพยาบาลเติบโตขึ้นเราจึงต้องวิเคราะห์ความเสี่ยงและหาวิธีดูแลและวิเคราะห์ข้อมูลคนไข้ให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ โรงพยาบาลพระรามเก้ายังเป็นโรงพยาบาลที่มีความพร้อมด้านการเปลี่ยนไตที่ได้รับมาตรฐาน JCI สำหรับ Health Care บุคคลากรทางการแพทย์จะคำนึงถึงคนไข้เป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อช่วยยกระดับประสิทธิภาพให้คนไข้ปลอดภัยซึ่งมีการพัฒนาประสบการณ์ใหม่ ๆ ในการทำงานในองค์กร และเสริมสร้างความเชื่อมั่นตามพันธกิจของเรา โดยเริ่มต้นจากระบบสำรองข้อมูลในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรือ Disaster Recovery ด้วยการจัดเก็บข้อมูลการทำงานของโรงพยาบาลรวมไปถึงข้อมูลคนไข้บนคลาวด์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าโรงพยาบาลจะสามารถดำเนินงานต่อได้อย่างแม่นยำแม้จะมีเหตุการณ์ที่เราควบคุมไม่ได้เกิดขึ้น นอกจากนั้น วิสัยทัศน์ของโรงพยาบาลพระรามเก้า คือ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยในการบริหารจัดการรวมไปถึงวิเคราะห์ข้อมูลพร้อมจัดสรรวิธีการดูแลรักษาผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการทางสุขภาพได้สะดวกและรวดเร็ว ในขณะเดียวกัน ก็ยังช่วยบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลในการดูแลข้อมูลผู้ป่วยได้เป็นอย่างดียิ่ง”

เป้าหมายของโรงพยาบาล คือการตั้งเป้าสู่การเป็นโรงพยาบาลดิจิทัล ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาขับเคลื่อนเพื่อสร้างความเชื่อมั่น ซึ่งแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ธุรกิจจะต้องดำเนินไปได้อย่างมั่นคงและสามารถควบคุมความเสี่ยงได้ในด้านการดูแลรักษาคนไข้ สร้างความเชื่อมั่นโดยการบริหารจัดการข้อมูลคนไข้ให้เป็นไปอย่างถูกต้องและแม่นยำ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลรักษาคนไข้ให้ได้รับการรักษาที่ดีและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และการวิเคราะห์ข้อมูลคนไข้ ตรวจสอบพฤติกรรมเชิงลึก ซึ่งระบบจะเข้ามาช่วยป้องกันความผิดพลาดพร้อมแนะนำการบริการได้ ซึ่งโซลูชัน Business Intelligence จากไมโครซอฟท์ ที่ประกอบด้วย SQL Server Enterprise Edition และ Mobile BI ที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (HIS) ได้เป็นอย่างดี เข้ามาตอบโจทย์การวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากในโรงพยาบาล เพื่อให้สามารถนำข้อมูลต่างๆ ในระบบมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งยังสร้างความมั่นใจและลดความเสี่ยงในการดูแลและปกป้องข้อมูลคนไข้ของโรงพยาบาลได้อีกด้วย”        

แพทย์หญิงปิยะรัตน์ กล่าวเสริมถึงอนาคตของโรงพยาบาลพระรามเก้าว่า “เรามีการวางแผน ในการบริหารจัดการข้อมูลของโรงพยาบาลให้มีความน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำดาต้าไมน์นิ่งและวิเคราะห์ข้อมูลการแพทย์ (Analytics) เพื่อจัดเก็บเป็นข้อมูลพื้นฐานของโรงพยาบาล โดยสามารถเข้าถึงตามหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละสายงาน รวมทั้งการบริหารจัดการสินทรัพย์ เช่น การตรวจสอบประวัติการใช้งานของอุปกรณ์การแพทย์ เพื่อความปลอดภัยต่อการใช้งานครั้งถัดไปกับคนไข้อื่น ทั้งหมดนี้ เรามีจุดมุ่งหมายที่อยากให้ทุกคนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้จะช่วยให้ทุกคนทำงานง่ายขึ้นและอำนวยความสะดวกลูกค้าได้อย่างสมบูรณ์แบบ ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลหาวิธีรักษาคนไข้ได้อย่างตรงจุด ทั้งยังช่วยต่อยอดพัฒนาโรงพยาบาลในทิศทางที่ดีโดยไม่ก้าวล่วงจริยธรรมทางการแพทย์ โดยในตอนนี้เรากำลังพยายามเร่งปรับเปลี่ยนแนวคิดในการทำงานของบุคลากร เพื่อนำดิจิทัลเข้ามาช่วยปฏิรูปองค์กรให้โรงพยาบาลพระรามเก้ามุ่งมั่นการบริการที่ผสมผสานและการลงทุนเพื่อเทคโนโลยีที่น่าไว้วางใจ ทั้งด้านความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว การควบคุม การปฏิบัติตามกฎระเบียบหลักมาตรฐานสากล

Previous post ร้านอาหารญี่ปุ่นยาโยอิ (Yayoi) รุกตลาดรับต้นปี ขยายโลเคชั่น ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์
Next post ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล สมุย เชิญเที่ยวงาน Samui Coconut Fest 2018
Social profiles