ฮาลาลไทย ประกาศความเป็นหนึ่ง ผู้นำด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาล

Read Time:5 Minute, 12 Second

เมื่อโลกก้าวไกลสู่ยุคใหม่ที่มีนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนในสังคมโลกวันนี้ และการใช้วิทยาศาสตร์ฮาลาลเข้ามายกระดับเเละพัฒนาผลิตภัณฑ์ และเพิ่มภาพลักษณ์ เพื่อสร้าง Thailand Diamond Halal โดยแนวทางศาสนารับรอง วิทยาศาสตร์รองรับ ซึ่งเป็นอีกพลังหนึ่งที่มีส่วนสนับสนุนหลักความน่าเชื่อถือ และความแม่นยำ ที่ทำให้ ‘ฮาลาลไทย’ ก้าวสู่ยุคใหม่ ทันสมัย ดังนั้นในปีนี้ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศวฮ) นำเสนอรูปแบบการจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ International Halal Science and Technology Conference 2018 (IHSATEC) ’ ซึ่งพัฒนามาจากการจัดการประชุม HASIB (Halal Science Industry and Business นั่นเอง เพื่อประกาศความเป็นหนึ่งด้านการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮาลาลนานาชาติ และพร้อมพัฒนาต่อไปอย่างไม่มีวันสิ้นสุด โดยปีนี้จัดเป็นครั้งที่ 11 ร่วมกับงานแสดงสินค้าและนิทรรศการ THAILAND HALAL ASSEMBLY 2018 (THA) ระหว่างวันที่ 14 – 16  ธันวาคม 2561 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค (BITEC) บางนา      

                 

รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่านับว่าเป็นครั้งที่ยิ่งใหญ่ โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งสิ้น 27 ท่านจากประเทศต่าง ๆ อาทิ บรูไน ปากีสถาน ไทย ตุรกี นิวซีแลนด์ มาเลเซีย สวิสเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา อียิปต์ และอินโดนีเซีย พร้อมผู้สนใจเข้าร่วมงานมากมาย ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ มีเนื้อหาเข้มข้น ด้วยการนำเสนอผลการค้นคว้า การวิจัยของนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ซึ่งใช้วิทยาศาสตร์เป็นส่วนสนับสนุนหลักความเชื่อ ความศรัทธาจึงเกิดขึ้น ภายใต้คอนเซ็ปต์ บูรณาการฮาลาลแม่นยำยุคเศรษฐกิจฐานชีวภาพ (Precision Halalization in The Bioeconomy Era)การบูรณาการฮาลาลแม่นยำ เป็นความพยายามของประเทศไทยในการผสมผสานเทคโนโลยีเพื่อการรับรองฮาลาล ไม่ว่าจะการตรวจทางห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ฮาลาล โดยนำระบบ H-Number ที่พัฒนาขึ้นใหม่เข้ามาใช้ เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมอาหารสามารถเลือกวัตถุดิบฮาลาลได้อย่างถูกต้อง และเลือกใช้ห้องปฏิบัติการเฉพาะที่จำเป็น ในระบบการมาตรฐานฮาลาลมีการพัฒนาระบบ HAL-Q Plus เพื่อให้การดำเนินงานการมาตรฐานฮาลาลเป็นไปอย่างจำเพาะโดยใช้เวลาสั้น 

                               

นอกจากระบบห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ฮาลาลและระบบการมาตรฐานฮาลาลที่ได้รับการพัฒนาขึ้น ปัจจุบันเรามีห้องแล็บที่สุดยอด และมีอุปกรณ์ทันสมัยที่สุด ซึ่งสามารถครอบคลุมการดำเนินงานฮาลาลในทุก ๆ ด้านด้วยการใช้มาตรฐานฮาลาลที่ถูกต้องมีส่วนสำคัญในการพัฒนางานบูรณาการฮาลาลแม่นยำ ..ตราฮาลาลคือแบรนด์ ถือเป็นมาตรฐานที่สำคัญ ด้วย บูรณาการฮาลาลแม่นยำ (Precision Halalization) ซึ่งแตกต่างมาตรฐาน ISO เพราะการทำในมาตรฐานฮาลาลใช้ต้นทุนที่ต่ำกว่า ของ ISO ใช้ต้นทุนสูงมาก และจะต้องพัฒนาแบรนด์ฮาลาลให้เทียบเท่ากับแบรนด์หลุยส์ วิตตอง จึงต้องสร้างสรรค์และเพิ่มประสิทธิภาพให้มากยิ่งขึ้น เพื่อก้าวสู่แบรนด์ Diamond Halal   นอกจากนี้ภายในงาน ยังมีการบรรยาย 5 เรื่องราวที่น่าสนใจ ได้แก่

1.ลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและโภชนาการ  โดย เกษิณี เกตุเลขา นักวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า ในด้านความปลอดภัยด้านสุขภาพของเครื่องสำอางฮาลาลเป็นส่วนที่สำคัญมากที่สุด ความปลอดภัยในที่นี้ไม่เพียงแต่ตัวผลิตภัณฑ์สุดท้ายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงวัตถุดิบตั้งต้น ส่วนประกอบ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ฉลาก วัสดุที่นำมาใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ เทคโนโลยีและกระบวนการผลิต เป็นต้น และสิ่งที่สำคัญสุดคือ การทำให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ได้รับการผลิตเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ดีในการผลิต (GMP) และคุณภาพของเครื่องสำอางฮาลาลเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ในการผลิตได้คุณภาพตรงตามที่ระบุไว้ในข้อกำหนดทางด้านคุณภาพของเครื่องสำอางประเภทนั้น ๆ ด้วย   

2.เศรษฐกิจฐานชีวภาพและการตลาดดิจิตัลฮาลาล  กล่าวโดย ดร.ภราดร สุรีย์พงษ์ รองผู้อำนวยการ ศวฮ เศรษฐกิจดิจิทัลฮาลาลจะทำให้มีการใส่ใจเกี่ยวกับฮาลาลมากขึ้น  และจะมีการจดใบรับรองกันมากขึ้น เพื่อให้ได้มาตรฐานมากขึ้น ทั้งมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวดเร็วมากขึ้น แต่ใช้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น ถูกลง และการขอรับรองฮาลาล ก็ใช้แอพพลิเคชั่น เป็นตัวช่วยในทุกขั้นตอน ก็จะได้ E-Certification ไปเลย ทำให้การรับรองมากยิ่งขึ้น เมื่อโลกเปลี่ยน เปิดประตูฮาลาลสู่โลกกว้างในยุคดิจิทัล ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสที่ดีที่น่าจับตามอง

3.นวัตกรรมใหม่ด้านวัสดุสัมผัสอาหารกับมุมมองด้านฮาลาล  ดร.อัซอารีย์ สุขสุวรรณ นักวิจัย บรรยายว่า สำหรับนวัตกรรมในเรื่องของวัสดุที่ใช้ในอุตสาหกรรมฮาลาล นอกจากอาหารแล้วยังต้องดูในเรื่องของแพ็คเกจจิ้ง  ต้องตรวจสอบที่มาว่าเป็นฮาลาลหรือไม่ โดยมีอุปกรณ์ตัวสอบ smart polymer หรือ smart material ใช้ตรวจสอบแหล่งที่มา แม้กระทั่งต้องคำนึงถึงวิธีการเลี้ยงด้วย หรือสัตว์ต้องห้ามตามหลักศาสนา ซึ่งฮาลาลส่วนใหญ่มาจากธรรมชาติ คือมาจากพืช หากแหล่งที่มาถูกต้องก็สามารถใช้ได้ 

4.เทคโนโลยีล้ำสมัยเพื่อผลิตภัณฑ์และบริการด้านฮาลาล  กล่าวโดย มาลิ บูอิด ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ ธนาคารกาตาร์เซ็นทรัล ประเทศกาตาร์  ในโลกปัจจุบัน เทคโนโลยีทำให้เรื่องฮาลาลมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น แต่ต้องคำนึงถึงจริยธรรมหรือกฎหลักต่างๆ ตามศาสนาอิสลาม มาปรับใช้ให้สอดคล้องกับหลักศาสนามากที่สุด เช่น เรื่อง blockchian เป็นเรื่องความน่าเชื่อถือ ทั้งการใช้ Artificial Intellectual (AI) หรือ ปัญญาประดิษฐ์  ซึ่งเป็นเรื่องของสมองที่ไม่สามารถโคลนนิ่งได้ และเรื่องของความรู้สึกความตระหนักรู้ก็ไม่สามารถทำได้เลย แต่ถึงอย่างไรก็สามารถสร้าง AI ให้สอดคล้องในทางปฎิบัติกับศาสนาและหลักฮาลาลได้ ดังนั้นจะต้องนำมาประยุกต์และเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีให้สอดคล้องกับหลักการทางศาสนา และ หลักฮาลาลให้ได้  แม้เวลาจะเปลี่ยนไปแต่คำสอนยังคงเหมือนเดิม เพียงแต่มาตรฐานจะมากขึ้นจากเทคโนโลยีที่ทันสมัยนี้

5. เทคโนโลยีโอมิกส์สู่การบูรณาการฮาลาล แม่นยำ ในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีโอมิกส์มาประยุกต์ใช้ในการวิจัยด้านการเกษตร อาหาร และโภชนาการ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ทั้งในเชิงคุณภาพของวัตถุดิบ การเปลี่ยนแปลงในระหว่างกระบวนการแปรรูปและเก็บรักษาอาหาร สมบัติทางโภชนาการและการออกฤทธิ์ทางชีวภาพของสารอาหาร รวมทั้งระดับการปนเปื้อนของสารพิษและความปลอดภัยของอาหาร โดยทำให้เกิดบูรณาการฮาลาล แม่นยำ  นับเป็นความก้าวหน้าของการนำนวัตกรรม เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ฮาลาล สู่ความเป็นหนึ่ง ประเทศไทย…ผู้นำด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาล  

แล้วพบกันใหม่ปีหน้า ฉลอง 70 ปี การรับรองฮาลาล ประเทศไทย

Previous post ศิษย์เก่าสาธิตปทุมวัน มินิมาราธอน 2019 (Townrun) ชิงถ้วยพระราชทาน
Next post แมกโนเลียส์ วอเตอร์ฟรอนท์ เรสซิเดนซ์ ณ ไอคอนสยาม เดินหน้าส่งมอบห้องชุด ต้อนรับเทศกาลปีใหม่
Social profiles