ยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ สนับสนุนอุตสาหกรรมก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0

Read Time:5 Minute, 39 Second

ยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ (Universal Robots: UR) บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านหุ่นยนต์เพื่อการทำงานร่วมกับมนุษย์ชั้นนำสัญชาติเดนมาร์ก ได้กำหนดให้ประเทศไทยเป็นตลาดหลักที่มีศักยภาพการเติบโตสูง ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ในการสร้างชาติที่มีรายได้ประชากรสูงด้วยระบบเศรษฐกิจที่มีพื้นฐานบนมูลค่าและขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี

สืบเนื่องจากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศไทย ระบุว่าเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติคือกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จในการก้าวสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งภายใต้แนวคิดนี้ รัฐบาลได้กำหนดให้อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ (S-curve industries) 10 ประเภทเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตของประเทศ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ (S-curve) และกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ที่มีศักยภาพ (New S-curve) โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ (S-curve) ได้แก่ อุตสาหกรรมที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในปัจจุบัน เช่น อิเล็กทรอนิกส์, เทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอาหาร ซึ่งสามารถพัฒนาต่อยอดได้ด้วยการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ที่มีศักยภาพ (New S-curve) คืออุตสาหกรรมขั้นสูงแนวใหม่ เช่น อุตสาหกรรมอวกาศและพลังงานชีวภาพ

มร.ซาการิ กูอิกกะ ผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย ยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ กล่าวว่า “ปัจจุบันมีธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมยุค 4.0 เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการใช้ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพขั้นตอนการทำงานและกำลังการผลิต นับตั้งแต่ ค.ศ. 2016 – 2018 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนของไทยได้มีการมอบเงินกระตุ้นการลงทุนแก่โครงการเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานไปแล้วกว่า 36 โครงการรวมมูลค่า 5.22 พันล้านบาท เฉพาะในปีที่ผ่านมา มีการอนุมัติโครงการลงทุนด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติกว่า 11 โครงการ มูลค่ากว่า 1.46 พันล้านบาท แม้จะมีการสนับสนุนเช่นนี้ หากศักยภาพของเทคโนโลยีรูปแบบนี้กลับยังไม่ได้ถูกนำไปใช้งานอย่างแพร่หลายเท่าที่ควร โดยข้อมูลแสดงให้เห็นว่า มีเพียง 15% ของภาคการผลิตของไทยที่ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในขั้นตอนการผลิต เราจึงเล็งเห็นถึงศักยภาพอีกมากในการส่งเสริมการใช้งานเทคโนโลยีเหล่านี้ในยามที่ประเทศกำลังให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคอุตสาหกรรม”

ยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ ได้ขยายเครือข่ายการกระจายสินค้าอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่การนำเสนอธุรกิจของบริษัทเมื่อปี ค.ศ. 2013 หุ่นโคบอทของบริษัทได้ถูกจัดจำหน่ายผ่านพันธมิตรคู่ค้าประจำภูมิภาคทั้ง 5 ราย ได้แก่ บริษัท ออโตเฟล็กซิเบิ้ล แอดวานซ์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด, บริษัท เซราไทย จำกัด, บริษัท เจอแรงการ์ (ไทยแลนด์) จำกัด, บริษัท อินเตอร์ อิงค์ เทคนิคส์ จำกัด และ บริษัท สยามโอเรียนท์อีเลคทริค จำกัด สำหรับประเทศไทย หุ่นโคบอทถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท ทั้งรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และพลาสติกและโพลีเมอร์

เทคโนโลยีโคบอทได้สร้างประโยชน์มากมายให้แก่บริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่อย่าง นิสสัน มอเตอร์ (Nissan Motor Company) โดยนับตั้งแต่เริ่มนำหุ่นโคบอทรุ่น UR10 มาใช้ในโรงงาน บริษัทก็สามารถปรับเปลี่ยนขั้นตอนการทำงานให้เรียบง่าย ลดต้นทุนแรงงาน และสร้างชิ้นงานที่มีคุณภาพสม่ำเสมอได้มากขึ้น นอกจากนั้น ยังช่วยผ่อนแรงคนงานสูงวัยของบริษัทนิสสันจากการทำงานที่ต้องใช้แรงมากและงานที่ทำซ้ำๆ ทำให้พวกเขาได้รับการโยกย้ายไปทำงานอื่น ๆ ที่มีมูลค่าและใช้ทักษะสูงขึ้น สำหรับบริษัทเจวีซี อิเล็กทรอนิกส์ อินโดนีเซีย หุ่นโคบอทของยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ สามารถเพิ่มทั้งกำลังการผลิต คุณภาพของชิ้นงาน รวมถึงสวัสดิภาพของคนงาน พร้อมช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ปีละมากกว่า 80,000 ดอลลาร์เลยทีเดียว ด้วยคุณสมบัติของโคบอทที่มีน้ำหนักเบา ขนาดเล็ก และมีความยืดหยุ่น ทำให้สามารถนำไปใช้งานได้แม้ในพื้นที่แคบและครอบคลุมอุตสาหกรรมได้หลากหลายรูปแบบ คนงานสามารถทำงานร่วมกับมันได้โดยไม่ต้องมีการติดตั้งรั้วกั้นเพื่อความปลอดภัย (ขั้นอยู่กับการประเมินความเสี่ยง) คุณประโยชน์มากมายที่ไม่จบสิ้นของโคบอทยังสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างมากแก่อุตสาหกรรมในประเทศไทย ผ่านการเพิ่มกำลังการผลิต คุณภาพสินค้า และสวัสดิภาพของคนงาน

เทคโนโลยีหุ่นยนต์ กุญแจสำคัญที่ทำให้วิสัยทัศน์ไทยแลนด์ 4.0 เป็นจริง

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้กลายเป็นศูนย์กลางการผลิตที่แข็งแกร่ง ซึ่งโดดเด่นในภาคอุตสาหกรรมรถยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ที่เฟื่องฟู และทั้ง 2 ภาคอุตสาหกรรมนี้ยังเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตของเทคโนโลยีหุ่นนต์และระบบอัตโนมัติของโลก ประเทศไทยยังเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีโรงงานประกอบรถยนต์ 23 แห่ง และโรงงานประกอบมอเตอร์ไซค์ 8 แห่ง ไทยยังเป็นผู้ส่งออกฮาร์ดดิสก์บันทึกข้อมูลชั้นนำ โดยคิดเป็น 82% ของผู้ส่งออกทั่วโลก การเปลี่ยนแปลงไปสู่เทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติจึงถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด ในการรับประกันว่าอุตสาหกรรมเหล่านี้และอุตสาหกรรมอื่น ๆ จะสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างยั่งยืนและรักษาสถานผู้นำในระดับโลกได้

การศึกษาของ ซิสโก้ และ เอ.ที.คาร์นีย์ พบว่า ภาคการผลิตของไทยสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้มูลค่า 50 พันล้านดอลลาร์ภายในปี ค.ศ.2028 ผ่านการใช้เทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมยุค 4.0

“ระบบอัตโนมัติกลายเป็นส่วนสำคัญในสมการการผลิตของอุตสาหกรรมหลายประเภทในเมืองไทย และในการทำให้ระบบอัตโนมัติเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ตามคำมั่นสัญญา เราจึงทำงานร่วมกับพันธมิตรอย่างใกล้ชิดเพื่อทำการประเมิน ให้คำแนะนำ และนำเสนอการใช้งานโซลูชั่นเทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่ออกแบบมาให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าแต่ละราย สำหรับการเพิ่มความสามารถของหุ่นยนต์ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ด้วยการทำงานของสถาบัน UR Academy ของเรา ทั้งนายจ้างและลูกจ้างสามารถใช้องค์ความรู้จากแบบจำลองและเว็บบินาร์แบบไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อฝึกฝนทักษะการตั้งโปรแกรมโคบอทหลักในการทำงานได้” มร.ซาการิ กูอิกกะ กล่าว

การเข้าร่วมงาน Assembly and Automation Technology Exhibition 2019

ยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ เข้าร่วมงาน Assembly and Automation Technology Exhibition 2019 ซึ่งจัดขึ้นระหว่าง 19-22 มิถุนายน 2562 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค กรุงเทพฯ โดยที่บูท 9E01 ในฮอล์ 99 ยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์จะจัดแสดงโคบอทสำหรับการทำงานในอุตสาหกรรม 5 รูปแบบ ได้แก่ การหยิบจับของจากในกล่อง การบรรจุหีบห่อ การจัดวางสินค้าบนแท่นวาง การหยิบและวางสินค้า และการตรวจสอบสินค้า นอกจากนี้ ยังมีสถานีการสอนพร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วง UR+ ซึ่งเป็นแพล็ตฟอร์มออนไลน์ที่จัดแสดงอุปกรณ์ต่อพ่วงหุ่นยนต์ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการทำงานร่วมกับโคบอทของยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ผู้เข้าชมงานยังมีโอกาสได้ทดลองตั้งค่าและตั้งโปรแกรมการทำงานโคบอทของยูนิเวอร์ซัลด้วยตัวเองภายในสถานีการสอนนี้

 

Previous post ETDA จัดยิ่งใหญ่งาน Thailand Cybersecurity 2019
Next post บ๊อช ร่วมงาน Techsauce Global Summit 2019
Social profiles