โลกออนไลน์เอื้อ “ยาปลอม” ระบาด ไอพี คีย์ เซาท์อีสต์เอเชีย ผุดแคมเปญ #YourHealthisPriceless

Read Time:5 Minute, 13 Second


งานวิจัยทั่วโลกแสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ยาปลอมไม่สามารถรักษาอาการเจ็บป่วย และยังอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ป่วยและผู้บริโภคได้ เนื่องจากยาปลอมมีการแพร่ระบาดในตลาดการค้ามาเป็นเวลานาน และการไม่มีความตระหนักรู้ที่มากพอมักทำให้เกิดการบริโภคยาปลอมจนนำไปสู่อาการและโรคต่างๆ ตลอดจนถึงความพิการแบบถาวร หรือแม้แต่การเสียชีวิตของผู้บริโภค

ไอพี คีย์ เซาท์อีสต์เอเชีย (IP Key South-East Asia) ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป เชื่อว่าสุขภาพของทุกคนเป็นสิ่งที่ประเมินค่ามิได้ จึงเปิดตัวแคมเปญออนไลน์ #YourHealthisPriceless เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงอันตรายที่เกิดการใช้ยาปลอมและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพปลอม โดยให้ผู้บริโภคร่วมแบ่งปันประสบการณ์การใช้ผลิตภัณฑ์ยาปลอมผ่านสื่อสังคมออนไลน์

“แคมเปญ #YourHealthisPriceless คือการเน้นย้ำถึงพันธกิจของสหภาพยุโรปผ่านโครงการ ไอพี คีย์ เซาท์อีสต์เอเชีย ในการสร้างความตระหนักรู้ด้านสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เราเชื่อมั่นว่าการแบ่งปันเรื่องราวจะช่วยให้เราตระหนักถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้บริโภครับทราบถึงลักษณะเด่นของผลิตภัณฑ์แท้ และซื้อผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากแหล่งจำหน่ายที่ถูกต้องตามกฎหมาย” นายติอาโก เกียเรอิโร หัวหน้าโครงการ ไอพี คีย์ เซาท์อีสต์เอเชีย กล่าว

ภัยคุกคามต่อระบบสาธารณสุขของประเทศ
ผลิตภัณฑ์ยาปลอมคือยาที่ไม่มีคุณสมบัติสอดคล้องตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา จากข้อมูลการศึกษาเรื่องการค้าผลิตภัณฑ์ยาปลอม (Trade in Counterfeit Pharmaceutical Products) เมื่อเร็ว ๆ นี้โดยสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของสหภาพยุโรป (European Union Intellectual Property Office : EUIPO) และองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co-operation and Development – OECD) ระบุว่า โดยส่วนใหญ่แล้วหรือประมาณ 90% ของเคสผู้ป่วย พบว่ายาปลอมเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้ป่วย นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) ยังรายงานในปี พ.ศ. 2560 ถึงเรื่องการเฝ้าระวังและระบบการตรวจสอบสากลขององค์การอนามัยโลกในเรื่องมาตรฐานและผลิตภัณฑ์ยาปลอม (WHO Global Surveillance and Monitoring System for Substandard and Falsified Medical Products) และประเมินว่าอาจมีเด็กที่อาจเสียชีวิตด้วยโรคปอดบวมจากการใช้ยาปลอมเป็นจำนวนราว 72,000 ถึง 169,000 คนในแต่ละปี

ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ได้แก่ ยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวด และยาโรคเบาหวาน โรคระบบประสาทส่วนกลาง โรคหัวใจ มะเร็ง มาลาเรีย รวมถึงเอชไอวี/เอดส์ และยาอื่น ๆ อีกมากมาย ผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ยังครอบคลุมถึงยาและอุปกรณ์บำบัดต่าง ๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ด้านความงาม นับตั้งแต่อุปกรณ์จำพวกเข็มฉีดยาไปจนถึงกลุ่มสกินแคร์ แม้ผลิตภัณฑ์บางชนิดจะถูกจัดให้เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือเครื่องสำอางในบางประเทศก็ตาม ผู้บริโภคอาจตกเป็นเหยื่อผลิตภัณฑ์ปลอมจากการใช้โลโก้หรือบรรจุภัณฑ์ปลอมซึ่งเลียนแบบให้เหมือนของแท้ ผู้ขายอาจมีการจัดโปรโมชั่นหรือลดราคาสินค้า หรืออาจถูกเชื้อชวนให้ซื้อเพราะความนิยมในสินค้าดังกล่าว ผลของการใช้ยาที่มาจากแหล่งผิดกฎหมายยังก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านสุขภาพ รวมถึงการไม่สามารถรักษาหรือป้องกันโรคต่าง ๆ ได้

แม้จะเป็นปัญหาระดับโลก แต่การเพิ่มปริมาณของผลิตภัณฑ์ยาปลอมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็เริ่มเป็นเรื่องที่น่าวิตกมากขึ้นเรื่อยๆ งานศึกษาในปี ค.ศ. 2019 เรื่องอาชญากรรมข้ามชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Transnational Organized Crime in South-East Asia) โดยสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime : UNODC) ได้ระบุถึงรายชื่อประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย ที่เป็นต้นกำเนิดของยาปลอมและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพปลอม โดยไทยถูกระบุว่าเป็นจุดขนถ่ายสินค้าดังกล่าว และยังเป็นอีกประเทศหนึ่งซึ่งเชื่อมโยงกับการปลอมแปลงหรือการผลิตยาเทียบเคียง เช่นเดียวกับฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และเวียดนาม ในช่วงปี พ.ศ. 2556-2560

“อันตรายต่อสุขภาพที่เกิดจากจากการใช้ยาปลอมทำให้ทรัพย์สินทางปัญญาเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรามากยิ่งกว่าในอดีต และยังแสดงให้เห็นว่า การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเข้มงวด รวมถึงการปกป้องเครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร และการออกแบบอุตสาหกรรม สามารถส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คนและระบบสาธารณสุขได้อย่างมหาศาล” นายติอาโก เกียเรอิโร กล่าว

ภัยคุกคามต่อการค้าโลกและซัพพลายเชนในทางกฎหมาย

การซื้อขายผลิตภัณฑ์ยาปลอมข้ามพรมแดนสามารถทำได้อย่างง่ายดายในโลกยุคดิจิทัล ผ่านระบบอี-คอมเมิร์ซและการขนส่งที่รวดเร็วและง่ายดาย รวมทั้งกระแสโลกาภิวัฒน์ที่ยิ่งทำให้ผู้จัดจำหน่ายลำดับรองสามารถขายสินค้าปลอมไปทั่วโลกได้มากขึ้น กล่าวคือสินค้าไม่จำเป็นต้องถูกผลิตในตลาดที่เป็นแหล่งจัดจำหน่าย เพราะสามารถขนถ่ายมาจากแหล่งใดก็ได้

ผลการศึกษาของ OECD ในปี ค.ศ. 2016 ระบุว่าการซื้อขายผลิตภัณฑ์ยาปลอมทั่วโลกมีมูลค่ากว่า 11.87 พันล้านยูโร หรือประมาณ 3.78 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนสูงกว่า 3.3% ของมูลค่าการค้าผลิตภัณฑ์ยาทั่วโลก จึงถือเป็นความท้าทายสำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพย์สินทางปัญญาและเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลในการตรวจจับสินค้าปลอมและบังคับใช้มาตรการปกป้องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ดังนั้นการดูแลใส่ใจผู้บริโภคที่ได้รับการเชิญชวนจากผู้จำหน่ายสินค้าปลอมเหล่านี้จึงเป็นเรื่องจำเป็น

“สหภาพยุโรปให้การสนับสนุนโครงการทั้งในประเทศไทยและอาเซียน เพื่อต่อต้านผลิตภัณฑ์ยาปลอมที่มีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน การทำให้มาตรการด้านความปลอดภัยและการควบคุมของประเทศต่าง ๆ ทั่วอาเซียนมีมาตรฐานเดียวกันจะช่วยให้การระบุผลิตภัณฑ์ยาปลอม การปรับปรุงการรับรองมาตรฐาน และการควบคุมชายแดนเป็นสิ่งที่ง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การจดสิทธิบัตรเพื่อระบุร้านจำหน่ายยาออนไลน์ที่ดำเนินงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายก็จะช่วยจำกัดการซื้อขายสินค้าอันตรายเหล่านี้ได้” นายโลรองต์ ลอร์เดส์ ที่ปรึกษาแห่งคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย (Delegation of the European Union to Thailand) กล่าว

ขอเชิญชวนให้ผู้บริโภคซื้อผลิตภัณฑ์ยาของแท้จากผู้จัดจำหน่ายที่ผ่านการรับรองและถูกต้องตามกฎหมาย และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญนี้เพื่อแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์ยาปลอม โดยสามารถบรรยาย โพสต์รูปถ่ายหรือคลิปวีดีโอ พร้อมติดแฮชแท็ก #YourHealthisPriceless #IPKeySEA #EUForeignPolicy #EUinThailand และใส่บัญชีทวิตเตอร์ @IPKey_EU หรือเพจเฟซบุ๊ก IP Key ในโพสต์ของคุณ

Previous post CP Land คว้า 8 รางวัล ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม งาน “ร้อยดวงใจ ร่วมใจลดโลกร้อน” ประจำปี 2563
Next post ททท. จัดงานมอบรางวัลโครงการ TAT GYM 2020 ยกระดับการท่องเที่ยวไทยด้วยนวัตกรรม
Social profiles