NIA เปิดเวทีโชว์ไอเดียธุรกิจ ประกาศสุดยอดสตาร์ทอัพไทยแลนด์ลีคแห่งปี 2564

Read Time:5 Minute, 13 Second

สำนักงานนวัตกรรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ประกาศสุดยอดสตาร์ทอัพไทยแลนด์ลีคแห่งปี 2564 ระดับมหาวิทยาลัย จาก 400 ทีมทั่วประเทศ พร้อมเปิดพื้นที่โชว์ 200 สุดยอดไอเดียเจ๋ง ตอบโจทย์ธุรกิจ

นายปริวรรต วงษ์สำราญ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า “โครงการสตาร์ทอัพไทยแลนด์ลีค (Startup Thailand League) เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี 2560 โดยเป็นการร่วมมือกันระหว่าง NIA กับ 40 มหาวิทยาลัยเครือข่ายทั่วประเทศทั่วประเทศ เพื่อบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งการเป็นผู้ประกอบการสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ โดยส่งเสริมและสนับสนุนนิสิตนักศึกษาทั่วประเทศให้เข้าถึงองค์ความรู้ในการสร้างธุรกิจสตาร์ทอัพ สร้างระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมที่จะจุดประกายและส่งเสริมการเติบโตของสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ ผ่าน 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ 1) การอบรม Coaching Camp เพื่อสร้างความเข้าใจในการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมของสตาร์ทอัพ 2) กิจกรรม Pitching .ด้านเกษตรและอาหาร 2.ด้านการแพทย์และสาธารณสุข 3.ด้านการเงินและการธนาคาร 4.ด้านอุตสาหกรรม 5.ด้านการท่องเที่ยว 6.ด้านไลฟ์สไตล์ 7.ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 8.ด้านภาครัฐ/การศึกษา 9.ด้านอสังหาริมทรัพย์ และ 10.ด้านดนตรี-ศิลปะและนันทนาการ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ และ 3) กิจกรรมแสดงผลงาน (Demo Day) เพื่อเป็นการแสดงผลงานต้นแบบ (Prototype) ของนักศึกษาที่ได้รับการอนุมัติจากกิจกรรม Pitching Startup Thailand League

ในปีนี้นิสิตนักศึกษาได้ให้ความสนใจในการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมใน 3 กลุ่มเทคโนโลยี ได้แก่ เทคโนโลยีไลฟ์สไตล์ (Lifestyle Tech), เทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร (AgTech & FoodTech) และเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (Health Tech) ซึ่งเทคโนโลยีด้านสุขภาพมีการพัฒนาเป็นธุรกิจนวัตกรรมมากขึ้นกว่าทุกปี ด้วยเพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ทำให้นิสิตนักศึกษาให้ความสนใจในการพัฒนาสร้างสรรค์นวัตกรรมและพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวกับด้านสุขภาพและด้านการแพทย์มากขึ้น สะท้อนให้เห็นว่านิสิตนักศึกษาสามารถใช้วิกฤติ เพื่อสร้างโอกาสในการสร้างสรรค์ผลงานในการเริ่มต้นธุรกิจได้

และจาก 400 ไอเดียธุรกิจของนักศึกษาทั่วประเทศที่เข้าร่วมแข่งขันในระดับภูมิภาค มีเพียง 18 ทีมที่ได้ผ่านเข้าสู่การแข่งขันรอบสุดท้าย Startup Thailand League 2021 ระดับประเทศ ในวันนี้ ซึ่งได้ประชันไอเดียต่อหน้าคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจาก Venture Capital และบริษัทสตาร์ทอัพในหลากหลายสาขา ซึ่งผู้ชนะเลิศ อันดับ 1-3 จะได้รับเงินรางวัลมูลค่า 50,000 บาท, 30,000 บาท และ 20,000 บาท ตามลำดับ พร้อมถ้วยรางวัล และรางวัลพิเศษ ที่บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จะได้สนับสนุน Huawei Cloud Credit แก่นิสิตนักศึกษาที่ชนะเลิศระดับประเทศทั้ง 18 ทีม รวมเป็นรางวัลกว่า 36,000 USD หรือประมาณ 1,200,000 บาท

นอกจากการแข่งขันรอบสุดท้ายแล้ว เรายังจัดกิจกรรมแสดงผลงาน / ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ จาก “IDEA สู่ Prototype” จำนวน 200 ผลงานของนิสิตนักศึกษาทั่วประเทศที่ได้รับการคัดเลือกและสนับสนุนงบประมาณการจัดทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ทีมละ 25,000 บาท รวม 5 ล้านบาท เป็นการสร้างโอกาสสำคัญในการนำเสนอแนวคิดและแสดงผลงานต่อกลุ่มนักลงทุน ภาคเอกชนและผู้ที่สนใจธุรกิจสตาร์ทอัพ และถือเป็นก้าวสำคัญในการเริ่มต้นการเป็นผู้ประกอบการในอนาคต

นายปริวรรต ยังกล่าวอีกว่า NIA มีความยินดีอย่างมากที่ได้เห็นพลังแห่งการสร้างสรรค์จากน้องๆ นิสิตนักศึกษาทั่วประเทศ และเราพร้อมเปิดเวทีต้อนรับความคิดสร้างสรรค์ของทุกคนเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของสังคม ส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่หันมาสร้างธุรกิจสตาร์ทอัพที่เป็นระบบ มีนวัตกรรมและใช้เทคโนโลยีช่วยขยายธุรกิจให้เติบโตอย่างรวดเร็ว

“เวทีการแข่งขัน Startup Thailand League ระดับมหาวิทยาลัย ไม่เพียงแต่จะเป็นการเปิดพื้นที่ให้แก่นิสิตนักศึกษาในการแสดงศักยภาพเท่านั้น แต่ยังสอดรับกับนิสิตนักศึกษาที่เพิ่งจบใหม่และอาจว่างงานในช่วงวิกฤตโควิด-19 ด้วยการส่งเสริมให้พวกเขาเติบโตไปเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ โดยการใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ” นายปริวรรต ทิ้งท้าย



ข้อมูล 18 ทีมที่เข้าแข่งขันรอบสุดท้ายใน Startup Thailand League 2021

  1. Alarms มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ – เครื่องมือการวัดระดับน้ำตาลในเลือดแบบไม่ต้องเจาะเลือด
  2. CG growing มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ – สูตรอาหารเลี้ยงเชื้อสำหรับบ่งชี้เชื้อรา Candida glabrata
  3. Dental Grammetry มหาวิทยาลัยขอนแก่น – เว็บแอปพลิเคชันสร้างแบบจำลอง 3 มิติของฟันเทียม
  4. Erythro-Sed มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ – ผลิตภัณฑ์ควบคุมคุณภาพเครื่องตรวจวัดอัตราการตกตะกอนเม็ดเลือดแดง (ESR)
  5. Exzelon มหาวิทยาลัยศิลปากร – เครื่องผลิตแก๊สชีวภาพจากสิ่งของเหลือใช้จากเศษของเหลือจากเศษอาหารและขยะอินทรีอัตโนมัติ
  6. Gophi มหาวิทยาลัยมหิดล – แพลตฟอร์มสำหรับการเพิ่ม/แปลคำบรรยายใต้ภาพให้กับวิดีโอในรูปแบบ machine assisted Translation
  7. Health Platform มหาวิทยาลัยบูรพา – Health platform สามารถวัดข้อมูลด้านสุขภาพ รวมถึงวิเคราะห์ท่าทางการเคลื่อนไหวด้วยเทคโนโลยี Machine learning แบบ Edge computing รวบรวมในที่เดียว
  8. Jelly Fighter มหาวิทยาลัยนเรศวร – เยลลี่จากน้ำมันมะพร้าวสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก
  9. Mirroroam สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง – ผลิตภัณฑ์หินหอม (Aroma stone) เพื่อการผ่อนคลายหรือดับกลิ่นไม่พึงประสงค์
  10. Mulah มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี – แอปพลิเคชันศูนย์รวมอาหารทั้งผักสด และประเภทเนื้อสัตว์
  11. Never Bean Club จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – Platform รวบรวมเมล็ดกาแฟทั้งในและต่างประเทศ
  12. Perm จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – Platform การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ที่ต้องการใช้ machine learning กับผู้ที่มีข้อมูลอยู่ในมือ​
  13. PSU Digital Life มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ – Platform สั่งอาหาร ยา และบริการอื่นๆ ที่สร้างความสมดุลระหว่าง Demand Site และ Supply Site​
  14. SK1 Film มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ – ฟิล์มที่บริโภคได้ (edible film) จากพอลิเมอร์ชีวภาพ (biopolymer) ที่ละลายน้ำได้ ใช้เพื่อเคลือบหรือห่อหุ้มอาหาร​
  15. Start Industries มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี – ชุดขับเคลื่อนรถเข็นด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า​
  16. The Balance มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ – ช้อนรักษ์โลกจากเปลือกโกโก้เพื่อลดการใช้พลาสติก​
  17. Threeotech มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี – เว็บแอปพลิเคชัน “JustSigns” สร้างคำบรรยายภาษามือเพื่อช่วยเหลือผู้พิการทางการได้ยิน
  18. Verity มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ – แพลทฟอร์มการซื้อ ขาย สินค้าแฟชั่นแบรนด์เนมมือสอง​
Previous post วช. ชู“หุ่นยนต์กุ๊กไก่” เพื่อนผู้สูงอายุ ช่วยฝึกสมอง สมาธิแถมได้เล่นเกมผ่อนคลายิ
Next post นักวิจัย วช. เผยแนวทางรับมืออุทกภัยปี 2564 ปัจจุบันและอนาคต
Social profiles