อยู่ร่วมกับโรคโควิด-19 ด้วยการออกกำลังกายปอด 

Read Time:2 Minute, 5 Second

ในยุคที่เราต้องอยู่ร่วมกับโรคโควิด-19 ซึ่งเชื้อเกิดการกลายพันธุ์อยู่บ่อยครั้ง เราจึงควรที่จะเตรียมร่างกายให้แข็งแรงพร้อมไว้เสมอ โดยเฉพาะปอด

นพ.กฤษณะ เกียรติโชควิวัฒน์ แพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู จากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลวชิรพยาบาลกล่าวว่าหลักฐานจากหลายงานวิจัยบ่งชี้ว่าการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอสามารถกระตุ้นภูมิกันร่างกาย และลดอัตราการติดเชื้ออื่น ๆจากชุมชนได้ โดยการออกกำลังกายที่แนะนำประกอบไปด้วย 2 ส่วน

ส่วนที่ 1.การออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น การเดิน การวิ่ง การปั่นจักรยาน โดยแนะนำให้ออกกำลังกายในความหนักระดับปานกลาง ไม่ควรหนักจนเกินไป สังเกตง่าย ๆ ได้จากการพูด ซึ่งขณะออกกำลังกายควรจะพูดได้เป็นประโยคที่ไม่ขาดคำ แต่ไม่ถึงกับร้องเพลงได้ และควรทำอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 30 นาที สำหรับในผู้ที่ไม่เคยออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอมาก่อน ควรจะเริ่มต้นแบบเบา ๆ เช่น เดินต่อเนื่อง 10 นาที และค่อย ๆ เพิ่มเวลาให้นานขึ้นอย่างช้า ๆ การออกกำลังกายประเภทนี้มีข้อควรระวัง คือ คนที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดัน เบาหวาน ไขมัน โรคไต โรคหัวใจ หากออกกำลังกายอย่างไม่ถูกต้องอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ หากมีอาการหรือมีโรคประจำตัวมาก แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย

ส่วนที่ 2 คือการออกกำลังกายบริหารปอด จะทำเพื่อให้ปอดแข็งแรงขึ้นโดยวางมือข้างหนึ่งไว้ที่หน้าอกและวางมืออีกข้างหนึ่งไว้ที่ท้อง จากนั้นหายใจเข้าและออกช้า ๆ อย่างผ่อนคลายโดยมีหลักการสำคัญคือขณะหายเข้าใจเข้าต้องให้ท้องป่อง และขณะหายใจออกต้องให้ท้องยุบ

สำหรับผู้ที่ติดเชื้อ covid-19 ซึ่งไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย การออกกำลังกายปอดสามารถเริ่มทำได้ทันทีหากมีสัญญาณชีพคงที่ โดยเริ่มจากการฝึกหายใจเข้า-ออก ลึก ๆ ช้า ๆ ทำได้โดยการกางแขนขึ้นสองข้างขณะหายใจเข้าและเอาแขนลงขณะหายใจออก ทำประมาณ 10 ครั้งต่อรอบ ทำได้บ่อยเท่าที่ต้องการ สำหรับผู้ป่วยมีอาการปานกลางถึงรุนแรง แนะนำปรึกษาทีมแพทย์และนักกายภาพบำบัดช่วยประเมินอาการและทำกายภาพบำบัดตามความเหมาะสม


นอกจากนี้ นพ.ศิระ เลาหทัย ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านการส่องกล้องทรวงอก โรงพยาบาลวชิรพยาบาล กล่าวเพิ่มเติมว่า ในยุคของโควิด 19 การดูแลสุขภาพปอดเป็นสิ่งสำคัญจริง แต่การระมัดระวังตัวเองก็เช่นเดียวกัน เช่น การสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ หรือ หลีกเลี่ยงสถานที่ ๆ มีความเสี่ยงหรือสถานที่แออัด สำคัญที่สุดคือ หมั่นดูตัวเอง เมื่อใดที่มีอาการได้แก่ มีไข้ ไอจาม มีน้ำมูก หรือ สัมผัสบุคคลที่ติดเชื้อ แนะนำให้มาพบแพทย์ทันที  

Previous post พลิกโฉม “โรบินสันขอนแก่น เปลี่ยนเป็น ห้างเซ็นทรัลขอนแก่น” สนุกทุกสีสันแห่งการช้อป บนเสน่ห์ห้างอันโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ ของภาคอีสาน
Next post อว. เปิดงาน BCG Health Tech Thailand 2021 ‘มหกรรมนวัตกรรมการแพทย์และสุขภาพ’ ดันไทยเป็น ‘ศูนย์กลางการแพทย์อาเซียน’ ปี 2570
Social profiles