ท่องเที่ยวสีเขียวบนถนนหมายเลข 12 @ เขาค้อ

Read Time:3 Minute, 43 Second

เมื่อกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมาได้รับการเชิญชวนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เดินทางขึ้นไปยังอำเภอเขาค้อในจังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อเสาวนาเชิงวิชาการเพื่อระดมความคิดและพัฒนาเครือข่าย ร่วมสร้างเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวสีเขียวในอำเภอเขาค้อ พร้อมเยี่ยมชมพื้นที่และไร่เกษตรกรเป้าหมายในอำเภอเขาค้อ เพื่อให้เห็นภาพต้นทุนทางภูมิทัศน์และภูมิปัญญาของเกษตรกรพร้อมเปิดตัวโครงการ Green KhaoKho Green TOGETHER

นำตกไผ่สีทองในยามฤดูฝนสำหรับความเป็นของการจัดงานเสวนาในครั้งนี้เกิดขึ้นมาจากเมื่อหลายปีที่ผ่านมา “เขาค้อ” กลับมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่คึกคักอีกครั้งหนึ่ง ดั่งจะเห็นได้จากการมีจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นทุกปีแม้จะไม่ใช่อยู่ในช่วงเทศกาลหรือในวันหยุดยาวๆก็ตาม โดยเฉพาะในช่วงเวลาตั้งแต่ปลายฝนเรื่อยไปจนถึงปลายหนาวนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกสารทิศพากันหลั่งไหลมาท่องเที่ยวยังวัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว, ภูทับเบิก และภูลมโล รวมทั้งไร่สตรอว์เบอร์รี่ที่มีอยู่อย่างมากมายในอำเภอเขาค้อ จนในปัจจุบันทำให้เกิดโรงแรม รีสอร์ทและร้านค้าใหม่ ๆ จำนวนมากตั้งแต่เส้นทางหมายเลข 12 เรื่อยไปจนถึงแยกสะเดาะพง จากการที่พื้นที่เขาค้อเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและไร้ทิศทางเช่นนี้ ได้นำมาซึ่งปัญหาที่มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยวเขาค้อหลายอย่าง อาทิเช่น ปัญหาการจราจร, ปัญหาขยะ, ปัญหาเจดีย์พระธาตุผาซ่อนแก้วที่อ.เขาค้อการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและการถือครอง ซึ่งกลายเป็นการท่องเที่ยวภายใต้กระแสสังคมทุนนิยมไป ซึ่งมีส่วนล่อแหลมต่อการทำลายธรรมชาติที่งดงามและดั้งเดิมของพื้นที่ อีกทั้งยังไม่ได้ส่งเสริมให้เกิดอาชีพทางเลือกจากการทำเกษตรกรรม ทั้ง ๆ ที่เขาค้อมีสภาพอากาศที่หนาวเย็นเกือบตลอดทั้งปีซึ่งเหมาะกับการปลูกพืชหลายอย่างที่จะสามารถนำมาเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่งดงามน่าประทับใจให้กับพื้นที่ในอำเภอเขาค้อได้

มหาวิหารสำหรัการเสวนาในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ “ร่วมสร้างเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวสีเขียว@เขาค้อ”ในครั้งนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้หลายภาคส่วนทั้งในและนอกพื้นที่ได้ร่วมกันสอดส่องสะท้อนความคิดในการพัฒนาพื้นที่เขาค้อในอันที่จะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของการเป็นแหล่งท่องเที่ยวสีเขียวให้กับเขาค้อและป้องกันปัญหาจากการขยายตัวของการท่องเที่ยวที่จะมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเขาค้อในระยะยาวอีกด้วย

สำหรับการจัดงานครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย “การพัฒนาการเรียนรู้ของเครือข่ายความร่วมมือทางเกษตรกรรมเชิงพื้นที่เพื่อสร้างภาพลักษณ์” ซึ่งได้รับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) Key Message สำคัญที่ทางนักวิจัยคิดว่าควรมีการเผยแพร่ข้อมูลออกไปสู่สาธารณะชน เขาค้อจะมีภาพลักษณ์ของการเป็นแหล่งท่องเที่ยวสีเขียวได้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจกันทุกภาคส่วน ทีมนักวิจัยได้พยายามพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือของภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ทั้งเกษตรกร ผู้ประกอบการธุรกิจ ส่วนราชการ รวมทั้งนักท่องเที่ยว เพื่อช่วยกันสร้างสรรกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวสีเขียวอย่างมีส่วนร่วมและสมัครใจในระยะยาว ภายใต้ธีมการทำงานคือ “Green KhaoKhoGreen TOGETHER”

พืชผักผลไม้สำหรับไฮไลท์ของการจัดงานครั้งนี้ มีการเปิดศูนย์นิทรรศการกลางแจ้งถาวร เพื่อเป็นศูนย์กลางในการแสดงประวัติความเป็นมาของพื้นที่เขาค้อ “จากสมรภูมิรบสู่แหล่งท่องเที่ยวสุนทรียภาพ (From Battle Field to Harmony Field)” รวมทั้งเพื่อใช้เป็นพื้นที่สื่อสารกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ ตลาดปันสุข(ภาพ) ในการส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวสีเขียวเขาค้อในระยะยาวต่อไป อีกทั้งมีการจัดเสวนา “ร่วมสร้างเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวสีเขียวเขาค้อ” เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นที่จะให้เกิดการผสมผสานประกายความคิดระหว่างคนในและคนนอกพื้นที่ ซึ่งมีทั้งผู้ประกอบการท่องเที่ยว ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์แบรนด์อุตสาหกรรมท่องเที่ยว และองค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้องซึ่งจะได้ช่วยกันประมวลค้นหาคุณลักษณะเฉพาะ (Thematic Highlight) สำหรับให้ภาคีทุกภาคส่วนใช้เป็นแนวทางในการร่วมมือพัฒนาภาพลักษณ์การDSC_0067ท่องเที่ยวเขาค้อที่น่าประทับใจต่อไป

สำหรับสถานที่ที่เดินทางไปเยี่ยมชม เช่น เกษตรกรต้นแบบในการส่งเสริมการเรียนรู้การปลูกไม้ดอกและบ้านไร่ไออุ่นของนายสุทธิพงศ์ พลสยม ชมการเกษตรอินทรีย์และไร่สตรอเบอรี่อินทรีย์ เพื่อเน้นย้ำคุณภาพเกษตรกรรมสีเขียวปลอดสารเคมี เป็นเครือข่ายในระดับพื้นที่หลัก ๆ ที่ร่วมมือกันกับโครงการวิจัย “การพัฒนาการเรียนรู้ของเครือข่ายความร่วมมือทางเกษตรกรรมเชิงพื้นที่เพื่อสร้างภาพลักษณ์” ในการเป็นต้นแบบการเรียนรู้และพัฒนาการทำการเกษตรเชิงมูลค่าเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวสีเขียวในอำเภอเขาค้อต่อไปในอนาคตอีกด้วย.

ศูนย์นิทรรศการกลางแจ้งขอขอบคุณผู้สนับสนุนการเดินทางในครั้งนี้
– สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
– สุเทพ พวงมะโหด เรื่องและภาพ

Previous post เที่ยวมาเลย์ เฮได้ทั้งปี
Next post ไข 4 ปัญหายอดฮิตที่ทำให้สาวไทย “กลัวการใส่ยีนส์”
Social profiles