“สมาคมกีฬายิงปืนรณยุทธแห่งประเทศไทย (THPSA)” ร่วมกับ บ.ไทยอามส์ จก.และฟอนเทียร์ เมทัล โพเซสซิ่ง ผู้ผลิตกระสุนปืนชั้นนำจากแอฟริกาใต้ แถลงจัดแข่งขัน IPSC Handgun World Shoot 2022

Read Time:3 Minute, 52 Second

พล.อ.วินัย ภัททิยกุล นายกสมาคมกีฬายิงปืนรณยุทธแห่งประเทศไทย (THPSA ) พร้อมด้วย นายชาญชัย กรรณสูต ประธานกรรมการบริษัท ไทยอามส์ จำกัด และ นายวรวิทย์ ชวนะนันท์ ผู้แทนสมาพันธ์ IPSC ประจำประเทศไทย และอุปนายกสมาคมกีฬายิงปืนรณยุทธแห่งประเทศไทย (THPSA ) คณะกรรมการร่วมแถลงข่าวความพร้อมจัดการแข่งขันกีฬายิงปืนรณยุทธ “IPSC Handgun World Shoot 2022, Pattaya Thailand” กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 16 พฤศจิกายน – 4 ธันวาคม 2565 นี้ ณ พัทยา จ.ชลบุรี

นายวรวิทย์ ชวนะนันท์ ผู้แทนสมาพันธ์ IPSC ประจำประเทศไทย และอุปนายกสมาคมกีฬายิงปืนรณยุทธแห่งประเทศไทย (THPSA ) กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมในการจัดการแข่งขัน IPSC Handgun World Shoot 2022, Pattaya Thailand ว่า การแข่งขันแมทซ์สำคัญของโลกในครั้งนี้ ได้มีกำหนดจัดขึ้นในช่วงปลายปี ระหว่างวันที่ 16 พ.ย. – 4 ธ.ค. 2565 ซึ่งเป็นครั้งแรกของประเทศไทยสำหรับการจัดแข่งขันระดับ world shoot และโดยคาดว่าจะมีนักกีฬาสมาพันธ์ยิงปืนรณยุทธนานาชาติเข้าร่วมแข่งขัน มากขึ้นกว่าเดิมเป็นเท่าตัวกว่า 2,000 คน จากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก จึงเป็นโอกาสสำคัญของประเทศไทยในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการขับเคลื่อนกีฬายิงปืนรณยุทธของไทยให้ก้าวสู่ระดับสากล การส่งเสริมภาพลักษณ์ และความสนใจต่อกีฬายิงปืนรณยุทธในวงกว้าง ตลอดจนการสร้างนักกีฬารุ่นใหม่ ๆ เพื่อสานต่อให้กีฬายิงปืนรณยุทธ์ของไทยสามารถโลดแล่นบนเวทีโลกได้อย่างยั่งยืน

สำหรับการเตรียมความพร้อมการจัดการแข่งขันนั้น ถือว่ามีความคืบหน้าในระดับดีในทุก ๆ ส่วน ทั้งความพร้อมของสถานที่แข่งขันและสถานที่เปิดงาน คณะกรรมการตัดสินจากต่างประเทศ การจัดระบบการแข่งขันซึ่งจะเปิดให้ลงทะเบียนเข้าร่วมแข่งขันภายในเดือนพฤษภาคมนี้ รวมถึงความพร้อมด้านการคัดเลือกนักกีฬาไทย ซึ่งอยู่ในระหว่างการคัดเลือกโดยมีการคัดเลือกทั้งหมด 8 ครั้ง ปัจจุบันได้ทำการคัดเลือกไปแล้ว 6 ครั้ง เหลืออีกเพียง 2 ครั้ง เท่านั้น ส่วนภาพรวมของผลงานทีมนักกีฬาไทยที่ผ่านมาถือว่าสร้างผลงานได้ดีและโดดเด่นในระดับภูมิภาค และคาดหวังว่าการแข่งขันระดับ World shoot ในครั้งนี้ ทีมนักกีฬาไทยจะสามารถคว้าเหรียญจากการแข่งขันได้ด้วยเช่นกัน

“อีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญ คือ ทางสมาคมฯ ได้เลือกกระสุนปืนในการแข่งขันจากผู้ผลิตกระสุนปืนในเมืองไทยของบริษัท ไทยอามส์ จำกัด เพื่อร่วมสร้างโอกาสในการแสดงศักยภาพของผู้ผลิตชาวไทย อันเป็นการผสานจุดแข็งของการกีฬา และทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการร่วมส่งเสริมศักยภาพการกีฬายิงปืนรณยุทธ และการสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยควบคู่กัน โดยกระสุนปืนที่ใช้ในการแข่งขันจะต้องมีคุณลักษณะพิเศษทาง technical ที่เป็นไปตามข้อกำหนด และมาตรฐานเฉพาะ สำหรับการแข่งขันในระดับโลกและต้องตอบโจทย์การแข่งขัน IPSC Handgun World Shoot ครั้งนี้ด้วย” นายวรวิทย์ กล่าว

นายวีรพงศ์ ช่วงแก้ววิเศษ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท ไทยอามส์ จำกัด ผู้ผลิตกระสุนปืนระดับแนวหน้าของประเทศไทยในฐานะที่ได้รับการคัดเลือกเป็น World Shoot 2022 Official Match Ammunition ผู้ผลิตกระสุนปืนสำหรับใช้ในการแข่งขัน IPSC Handgun World Shoot 2022 อย่างเป็นทางการ กล่าวถึง ความพร้อมและโอกาสสำคัญในการได้รับเลือกจากสมาคมฯ ว่า ทาง ไทยอามส์ (THAI ARMS )มีความพร้อมทั้งด้านการผลิต และโนฮาวในการพัฒนากระสุนปืนที่สามารถตอบโจทย์การแข่งขันระดับ World shoot ซึ่งเรากับพันธมิตรหลัก คือ บริษัท ฟอนเทียร์ เมทัล โพเซสซิ่ง จำกัด ( Frontier Metal Processing (Pty) Ltd. ) บริษัทผู้ผลิตกระสุนปืนจาก South Africa ที่ทั่วโลกรู้จักและให้การยอมรับ ในการร่วมผลิตหัวกระสุน เพื่อให้ได้กระสุนปืนที่ดีที่สุด สำหรับใช้ในการแข่งขันรายการใหญ่ในครั้งนี้

“ รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่เราได้ถูกรับเลือกใช้กระสุนปืนสำหรับการแข่งขัน IPSC Handgun World Shoot 2022 อย่างเป็นทางการ นับเป็นความภาคภูมิใจ และเป็นโอกาสสำคัญของ บริษัทไทยอามส์ (THAI ARMS ) ที่มากกกว่าความสำเร็จทางด้านธุรกิจ คือ การได้มีส่วนร่วมส่งเสริมกีฬายิงปืนรณยุทธไทยบนเวทีโลก ในฐานะผู้ผลิตกระสุนปืนที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ทั้งยังเป็นโอกาสของภาคธุรกิจ และผู้ผลิตชาวไทยที่จะได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพทางด้านการผลิต และความก้าวหน้าในภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย ผ่านการแข่งขันรายการใหญ่ระดับโลกอย่าง IPSC Handgun World Shoot 2022, Pattaya THAILAND ที่มียอดนักกีฬายิงปืนจากทั่วโลกได้ใช้ และไว้ใจในกระสุนปืนของไทยอามส์ ที่อาจส่งผลถึงการสนับสนุนด้านการส่งออกในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยในอนาคต ตอบสนองนโยบายรัฐในการผลักดันอุตสาหกรรมป้องกันประเทศเป็นเป้าหมายของ New S-curve ตัวที่ 11 ที่รัฐต้องการให้มีการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ EEC ด้วยเช่นกัน”

Previous post วช. โชว์ผลสำเร็จ นักประดิษฐ์ – นักวิจัยไทย คว้ารางวัลสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมนานาชาติ ที่เซี่ยงไฮ้ 
Next post ไทย ไรซ์ นามา เดินหน้ามาตรการทางการเงิน พร้อมสนับสนุนเกษตรกรเพิ่มประสิทธิภาพการทำนาลดโลกร้อน 
Social profiles