สืบสานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

Read Time:4 Minute, 19 Second

นายอภินันท์ จันทรังษีเมื่อต้นเดือนมีนาคม 2559 นายอภินันท์ จันทรังษี อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ได้เป็นประธานเปิดกิจกรรมสัมมนาเครือข่ายประชาสัมพันธ์ สืบสานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ครั้งที่ 2 ที่จัดขึ้นโดยสำนักพัฒนาการประชาสัมพันธ์ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว กรมประชาสัมพันธ์ ได้เชิญคณะสื่อมวลชนและเครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์ เข้าร่วมการสัมมนาในครั้งนี้ เพื่อสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นกลยุทธ์หลักของกรมประชาสัมพันธ์ที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่มีนโยบายนำหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศให้เป็นไปใน ทิศทางเดียวกันการสัมมนาครั้งนี้ จะทำให้สื่อมวลชนและเครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์ได้รับรู้ และมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งสามารถนำไปขยายผล เพื่อให้ประชาชนน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ จนกลายเป็นวิถีชีวิตประจำวัน ทั้งนี้การสัมมนาดังกล่าว ผู้เข้าร่วมสัมมนาจะเดินทางไปศึกษาดูงานและฝึกปฏิบัติงานจริง ที่จังหวัดนครปฐม  โดยเริ่มต้นศึกษาดูงานกัน ที่วิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร ตำบลสระพัฒนา หรือ HAPPYLIFE FARM โดยมีนายเชาวเนตร ยิ้มประเสริฐ นายอำเภอกาแพงแสนเป็นผู้ให้การต้อนรับ และนางกมลวัน จันทร์พยอม รองประธานกลุ่มฯ เป็นวิทยากรในการบรรยายกลุ่มวิสาหกิจฟารม์เห็ดหลินจือชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร ตำบลสระพัฒนา ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 107 หมู่ที่ 9 ตำบลสระพัฒนา อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เป็นอีกแหล่งที่สามารถเพาะเห็ดหลินจือป้อนให้กับกลุ่มร้าน อาหารเพื่อสุขภาพ เช่น เลมอนฟาร์มห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ และเอ็มโพเรี่ยม และศูนย์รวมสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ฯลฯ ได้อย่างต่อเนื่องแม้ว่า “กลุ่มวิสาหกิจชุมชน” แห่งนี้ จะเป็นเพียงน้องใหม่ในวงการเห็ด หากประเมินผลงานที่ผ่านมาถือว่าไม่ธรรมดาเข้าข่าย “จิ๋วแต่แจ๋ว” ที่นี่สามารถเพาะเห็ดได้นานาชนิด โดยวิธีการเกษตรอินทรีย์ที่ไม่ใช้สารเคมี เริ่มตั้งแต่วัสดุเพาะ การเขี่ยเชื้อ การนึ่งการปฏิบัติดูแลรักษาให้เจริญเติบโตไปจนกระทั่งเห็ดติดดอก และการเก็บเกี่ยวเห็ดที่ผลิตได้ จึงปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภค

นายสุธรรม จันทร์อ่อนฟักข้าว (Gac Fruit)จากนั้นจึงเดินทางต่อมายัง สวนฟักข้าวของลุงชนะ และเมื่อเดินทางเข้าไปในสวนของ ลุงชนะพวกเราตื่นตาตื่นใจกับโรงจอดรถของลุงชนะที่บนหลังคาของโรงรถเป็นต้น ฟักข้าว แถมยังมีลูกฟักข้าวที่ห้อยย้อยอยู่บนหัวเต็มกันไปหมด สำหรับการปลูกฟักข้าวของลุงชนะนั้นแกปลูกแบบไร้สาร ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ผู้ที่คอยแนะนำให้คำปรึกษากับลุงชนะก็คือ ผู้ใหญ่สุธรรม จันทร์อ่อน ประธานหมอดินอาสา ในย่าน ต.ทุ่งขวาง อำเภอกำแพงแสน จ.นครปฐม โดยมีชาวบ้านนิยมปลูกฟักข้าวจำนวนมาก มีการรวมกลุ่มผู้ปลูกฟักข้าวปลักไม้ลาย แต่สวนของลุงชนะจะแตกต่างจากสวนอื่นก็คือ แกจะไม่ใช้ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลงที่จะทำให้เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ฟักข้าว (Gac Fruit) มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายสูงมากจนมีคนให้สมญานาม “ฟักข้าว” ว่าเป็นผลไม้จากสวรรค์ (Fruit of Heaven) ซึ่งเป็นการเสริมอาหารให้กับร่างกายได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน สามารถลดความเสี่ยงและป้องกันอาการต่าง ๆ อาทิเช่น ช่วยต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันมะเร็ง,ช่วยบำรุงผิวพรรณชะลอความ แก่, ช่วยป้องกันภูมิแพ้ ฯลฯ ภายในเนื้อที่ 1.5 ไร่ของลุงชนะ จะปลูกฟักข้าวประมาณหนึ่งไร่และทำเป็นซุ้มรอบบ้านอย่างสวยงาม

สินค้าของชุมชนจากสวนฟักข้าวของลุงชนะพวกเราเดินทางต่อมายัง ศูนย์เรียนรู้ชุมชนปลักไม้ลายของ ปราชญ์ชาวบ้าน นายสุธรรม จันทร์อ่อน ตั้งอยู่ที่ 54 หมู่ 10 บ้านหนองไข่กา ตำบลทุ่งขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โดยนายสุธรรม จันทร์อ่อนปราชญ์ชาวบ้าน ได้ทำการเกษตรแบบผสมผสานเน้นเกษตรอินทรีย์โดยใช้สมุนไพรและชีวภาพทดแทนการ ใช้สารเคมีเพื่อลดต้นทุนการผลิต และสร้างความสมดุลทางธรรมชาติ โดยการใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิม ผสมผสานกับเทคโนโลยีในการควบคุมดูแลพืชผักที่แกปลูก นอกจากนั้นยังเป็นวิทยากรศึกษาสมุนไพร และนำชมสวนป่าสมุนไพรพืชผัก ภายในสวนของตนเองอีกด้วย

สำหรับประวัติการก่อตั้งและความเป็นมาของศูนย์ฯ เริ่มตั้งแต่ในปี 2540 จากการรวมกลุ่มของผู้ปลูกผักปลอดสารพิษ โดยการสนับสุนนจากมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และสำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม ผลิตผักปลอดสารพิษตราปลักไม้ลาย จึงเป็นจุดเรียนรู้และถ่ายทอดการทำเกษตร อินทรีย์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จนกระทั่งในปี 2550 ได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชน(เกษตรอินทรีย์)ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาสังคม จังหวัดนครปฐม และสำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดนครปฐม บนพื้นที่ศูนย์ฯจำนวน 17 ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินของตนเองที่รับมรดกจากพ่อแม่ แบ่งออกเป็น 2 แปลง โดยมีชลประทานผ่านกลางที่ดิน จัดอบรมถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกรและบุคคลทั่วไปที่สนใจ ทั้งนี้ทางศูนย์ฯ ได้เข้าร่วมโครงงานพัฒนาเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา หน่วยงานใดสนใจที่จะศึกษาดูงานติดต่อได้ที่ศูนย์เรียนรู้ชุมชนปลักไม้ลาย เลขที่ 54 หมู่ 10 บ้านหนองไข่กา ตำบลทุ่งขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โทรศัพท์ 08-1384-5352 ได้ทุกวัน

* สุเทพ พวงมะโหด เรื่องและภาพ

Previous post ปั่นจักรยานท่องเที่ยว CSR ตามหา…พลับพลึงธาร เมืองระนอง
Next post เชื่อหรือไม่!!! อาการผมหลุดร่วงคือศัตรูหมายเลข 1 ของชายไทย
Social profiles