ขั้นตอนในการจัดหาแรงงานต่างด้าวแบบถูกกฎหมาย

Read Time:4 Minute, 43 Second

แรงงานต่างด้าว เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากในภาคธุรกิจ เนื่องจากมีการขาดแคลนแรงงานไทยเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก และยังมีแนวโน้มที่จะมากขึ้นไปอีกในอนาคต ทำให้ปัจจุบันนั้น เกิดการจ้างแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมาย ด้วยหลายสาเหตุ ยกตัวอย่างเช่น ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการนำแรงงานต่างด้าวเข้าประเทศ ไม่มีหนังสือสัญญาทำให้นายจ้างสามารถกดราคาได้ แต่การกระทำเหล่านี้ ทางรัฐบาลก็มีมาตรการที่เข้มงวดคอยตรวจสอบการจ้างแรงงานต่างด้าวในทุกพื้นที่

ด้วยเหตุนี้ ทำให้การจัดหาแรงงานต่างด้าวแบบถูกกฎหมาย หรือเข้าตามระบบ MOU นั้น เป็นทางเลือกที่นายจ้างเลือกใช้กัน เพราะได้รับแรงงานถูกต้องตามกฎหมาย ไม่มีปัญหาตามมา และแรงงานต่างด้าวเหล่านี้ไม่สามารถเปลี่ยนนายจ้างได้ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนด ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ คงที่ไม่มีสะดุด เป็นไปตามความต้องการของนายจ้าง ซึ่งจะเห็นได้ว่าสถิติการนำเข้าแรงงานต่างด้าว ตามระบบ MOU มีสถิติเพิ่มขึ้นทุกปี

ขั้นตอนในการจัดหาแรงงานต่างด้าวแบบถูกกฎหมาย ภายใต้ MOU

การนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศนั้น สามารถทำได้ 2 วิธี คือ นายจ้างดำเนินการนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานด้วยตนเอง หรือ ให้บริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศที่ถูกต้องตามกฎหมายเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งการนำเข้าแรงงานผ่านบริษัทตัวแทนอย่าง  Jobs Worker Service นั้นทำได้ง่ายและสะดวกสบายกว่า เป็นไปตามกฎหมายข้อบังคับ แต่หากนายจ้างคนใดอยากดำเนินการด้วยตนเอง จะมีขั้นตอนดำเนินการดังนี้

1. นายจ้างยื่นแบบแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว (โควตา) กับสำนักงานจัดหางานในพื้นที่

– แบบการแจ้งความต้องการจ้างคนต่างด้าว (แบบ นจ.1)

2. นายจ้างยื่นแบบคำร้องขอนำเข้าแรงงานต่างด้าว กับสำนักงานจัดหางานในพื้นที่ พร้อมเอกสารและหลักฐาน

– แบบคำร้องขอนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ (แบบ นจ.2) 

– หนังสือแต่งตั้ง (Power of Attorney) 

– ตัวอย่างสัญญาจ้างแรงงาน (Employment Contract)

– เอกสารนายจ้าง

o หากนายจ้างเป็นคนไทย ให้แนบสำเนาบัตรประชาชนของนายจ้าง หากเป็นนิติบุคคลให้แนบสำเนาหนังสือรองรับนิติบุคคล และสำเนาบัตรประชาชนกรรมการผู้มีอำนาจ

o หากนายจ้างเป็นคนต่างด้าว ให้แนบสำเนาใบอนุญาตทำงานของนายจ้าง หรือหากไม่มีใบอนุญาตทำงานต้องให้ Notary Public และสถานทูตไทยรับรองการมอบอำนาจให้บุคคลหนึ่งลงนามแทน

3. เจ้าหน้าที่พิจารณารายละเอียดของเอกสาร และจัดส่งคำร้องความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวไปยังประเทศต้นทาง

4. ประเทศต้นทาง ดำเนินการรับสมัคร คัดเลือกแรงงาน และทำสัญญาพร้อมจัดทำบัญชีรายชื่อ (Name list) แจ้งบัญชีรายชื่อคนต่างด้าวพร้อมสำเนาหนังสือเดินทางของคนต่างด้าวให้แก่นายจ้าง

5. นายจ้างยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว กับสำนักงานจัดหางานในพื้นที่ ที่ได้ยื่นคำร้องขอนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานไว้ มีเอกสารประกอบดังนี้

– แบบคำขอรับใบอนุญาตทำงาน (แบบ ตท.2)

– หนังสือรับรองการจ้าง

– สัญญาหนังสือยืนยันการมีโควตา

– สำเนาการเดินทาง

– บัญชีรายชื่อคนต่างด้าว (Name list) ระบุด่านที่จะเดินทางเข้ามา

– หลักฐานการรับวัคซีนโควิด – 19 หรือใบรับรองการติดเชื้อมาก่อนไม่เกิน 3 เดือน

– สัญญาจ้างแรงงานต่างด้าว

– หนังสือมอบอำนาจของนายจ้าง (กรณีนายจ้างไม่มายื่นด้วยตนเอง)

ค่าธรรมเนียม ยื่นคำขอและใบอนุญาตทำงาน 1,000 บาท/ปี/คน

6. มีหนังสือถึงประเทศต้นทาง และทางสำนักงานจัดหางานในพื้นที่แจ้งอนุญาตทำงานให้กับนายจ้างทราบ พร้อมออกหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ด่านตรวจคนเข้าเมือง , สถานทูตไทยในประเทศที่คนต่างด้าวอยู่)

7. เมื่อแรงงานต่างด้าว เดินทางเข้ามา จะดำเนินการดังนี้

– ตรวจสุขภาพ และตรวจหาเชื้อโควิด – 19

– รับการอบรมผ่านระบบ Video Conference

– ขอรับใบอนุญาตทำงาน มีเอกสารประกอบดังนี้

o คำร้องขอรับใบอนุญาตทำงาน

o สำเนาหนังสือเดินทาง และการตรวจลงตราวิซ่า

o หนังสือแจ้งผลการอนุญาตให้เข้ามาทำงานได้

o ใบรับรองแพทย์ (ไม่เกิน 6 เดือน)

o เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

เมื่อคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศแล้ว นายจ้างมีหน้าที่ดังนี้

1. การแจ้งการจ้างคนต่างด้าว

นายจ้างต้องแจ้งการจ้างต่างด้าวให้กับนายทะเบียนทราบ พร้อมระบุชื่อและสัญชาติของคนต่างด้าว รวมถึงลักษณะงานที่ให้ทำ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่รับคนต่างด้าวเข้ามาทำงาน

2. การแจ้งคนต่างด้าวออกจากงาน

นายจ้างต้องแจ้งการออกงานของคนต่างด้าว ให้นายทะเบียนทราบ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่คนต่างด้าวออกจากงาน พร้อมระบุเหตุผลในการออก (หากเป็นคนต่างด้าวที่เข้ามาโดยตัวแทนบริษัท ต้องแจ้งภายใน 7 วัน)

3. การส่งลูกจ้างกลับประเทศเมื่อลูกจ้างทำงานจนครบสัญญา

เมื่อครบสัญญาให้นายจ้างที่เป็นผู้วางหลักประกัน จัดส่งคนต่างด้าวกลับประเทศต้นทาง

4. การแสดงสัญญาจ้างต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

นายจ้างต้องแสดงสัญญาจ้างเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบ

สรุปแล้ว กาจัดหาแรงงานต่างด้าวแบบถูกกฎหมาย ภายใต้ MOUนั้นสามารถทำได้ 2 วิธี คือ นายจ้างดำเนินการด้วยตนเอง หรือนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานผ่าน บริษัทจัดหาแรงงานต่างด้าว อย่าง Jobs Worker Service ที่ให้บริการนำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU สัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา เป็นไปตามกฎหมายข้อบังคับ ซึ่งทางบริษัทจะช่วยดำเนินการตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมเอกสารวีซ่าทำงานของแรงงานต่างด้าว พร้อมทั้งประสานงานกับประเทศต้นทาง ไปจนถึงการส่งแรงงานมายังสถานที่ประกอบการ (ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล) การใช้บริการบริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศนั้น ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ตัวนายจ้าง พร้อมให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแรงงานต่างด้าว โดยผู้เชี่ยวชาญตลอดอายุสัญญา

Previous post บราเดอร์ จับมือพันธมิตรค่ายไอทีชั้นนำ จัดงาน SOLUTIONS FOR YOUR BUSINESS พร้อมรุกตลาด CLMV หลังโควิดจาง
Next post <strong>กรุงศรี ออโต้ เผยผลการดำเนินงานปี 65 เติบโตแข็งแกร่ง 17%</strong>
Social profiles