เที่ยวงานบุญสุดยิ่งใหญ่ “ แห่นาคโหด”เมืองเขาเล่าว่า….ชัยภูมิ

Read Time:5 Minute, 2 Second

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้รับเชิญจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดินทางไปยังจังหวัดชัยภูมิเพื่อร่วมงานบุญอันยิ่งใหญ่และงานแห่งพลังศรัทธานั่นคือ ประเพณีบุญเดือนหก “แห่นาคโหด” แห่งเดียวในโลก ณ บ้าน โนนเสลา-โนนทัน ตำบลหนองตูม อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งจังหวัดชัยภูมิร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานนครราชสีมา ร่วมกันจัดคือ ประเพณีบุญเดือนหก “แห่นาคโหด”ขึ้นมาเป็นประจำทุกปี

04 25สำหรับ งานบุญแห่งพลังศรัทธามหามงคล เกิดขึ้นจากความเชื่อที่เป็นศิริมงคล งานบุญที่ยิ่งใหญ่ ชายหนุ่มที่มีอายุครบ 20 ปีและเป็นผู้ที่มีศรัทธาใต้ร่มกาสาวพัสตร์ของพระพุทธศาสนา น้ำตาที่เต็มเปี่ยมไปด้วยรอยยิ้มและความปิติยินดีของบิดา- มารดาตลอดจนญาติสนิทมิตรสหายกับชีวิตที่ผ่านพ้นมาและชีวิตที่ปลงแล้วและกว่า ที่จะมาเป็น “พระ” ต้องผ่านการอุปสมบท (บวช) และแน่นอน…อุปสรรคที่ขวางกั้นต้องไม่ธรรมดา สิ่งเหล่านี้ผ่านการยอมรับของชุมชนและคนเมืองชัยภูมิคือคือ ประเพณีบุญเดือนหก “แห่นาคโหด” สำหรับประเพณีแห่นาคโหดที่บ้านโนนเสลานี้ ถือเป็นประเพณีโบราณที่ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาหลายร้อยปี โดยชาวบ้านจะร่วมกันจัดงานอุปสมบทหมู่ให้กับบุตรหลานในหมู่บ้านที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เพื่อให้ลูกหลานได้08 2บวชแทนคุณบิดามารดา ด้วยความตั้งใจที่จะบวชเอง ซึ่งจะมีการเตรียมตัวมาตั้งแต่เดือนสี่ โดยผู้เป็นบิดาจะพาบุตรชายไปฝากไว้กับเจ้าอาวาส ในสองวัดของหมู่บ้านโนนเสลา คือ วัดบุญถนอมพัฒนาราม (วัดนอก) และวัดตาแขก (วัดใน) เพื่อถือขัน 5 ประกอบ ด้วย เทียน 5 คู่ ดอกไม้ 5 คู่ ไปฝากตัวเป็นนาคปฏิบัติธรรมถือศีล 8 อยู่ที่วัด เรียนรู้บทสวดที่จะบวช และเรียนรู้พระธรรมวินัยเบื้องต้น ก่อนถึงกำหนดวันบวชของประเพณี

12สำหรับงานบุญเดือนหกเริ่มต้นด้วยพิธีการตัดและโกนผมนาคตามพิธีบวชปกติ แต่ก่อนจะเข้าพิธีสู่ขวัญ นาคทุกคนจะต้องพากันออกจากวัดไปกราบศาลปู่ตาซึ่งเป็นศาลประจำหมู่บ้านกันก่อน เมื่อเสร็จแล้วนาคทุกคนค่อยกลับวัดเพื่อทำพิธีบายศรีสู่ขวัญนาคต่อไป จากนี้ไปก็เป็นความเชื่อที่นับถือกันต่อมายาวนาน ด้วยการแห่นาคจากบ้านตนเองไปรอบหมู่บ้าน โดยจะใช้คนหนุ่มที่ยังไม่ได้บวชของแต่ละหมู่บ้านมาช่วยกันหามแคร่ไม้ไผ่ แห่นาคไปรอบ ๆหมู่บ้าน และเขย่าโยนนาคอย่างรุนแรง ถือเป็นการทดสอบความตั้งใจว่าผู้บวชจะมีความมุ่งมั่นอดทนที่จะบวชแทนคุณบิดา มารดาหรือไม่ โดยผู้บวชจะต้องประคองตัวเองไม่ให้ตกลงมาจากแคร่ หากใครตกลงมาถูกพื้นดินจะถือว่าขาดคุณสมบัติไม่ให้บวช โดยจะเป็นเช่นนี้ตลอดระยะทางที่แห่รอบหมู่บ้านกว่า 2-3 06 9กิโลเมตร ซึ่งตั้งแต่มีการปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่ พ.ศ. 2514 จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีผู้ใดตกลงมาถูกดินเลยสักราย ถึงแม้จะได้รับบาดเจ็บรุนแรงที่สุด คือ ศีรษะแตกและแขนหลุดก็ตาม ศรัทธามหามงคลยังดำเนินต่อไปตามความเชื่อและความรู้สึกในเส้นทางศาสนา แม้จะแห่ด้วยความโหด แต่ด้วยความมุ่งมั่นตลอด 3-4 ชั่วโมงอย่างต่อเนื่อง และรอบโบสถ์วัดอีก 3 รอบ ความศรัทธายังไม่เสื่อมคลาย สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ถือเป็นความเชื่อของชาวอีสานหล่อหลอมมาตั้งแต่ในอดีต เพื่อเป็นการเพิ่มกำลังใจ และความตั้งมั่นของผู้บวชจึงมีการจัดประเพณีนี้ขึ้น อีกทั้งยังคงความเป็นเสน่ห์ของวัฒนธรรมที่ยั่งยืน ควรค่าแก่การเรียนรู้และสืบทอดต่อไปอีก

หลัง จากเสร็จสิ้นประเพณีบุญเดือนหก “แห่นาคโหด” เป็นที่เรียบร้อยแล้วคณะของเราออกเดินทางไปยังพระธาตุหนองสามหมื่นที่ตั้ง อยู่ในอำเภอภูเขียว จ.ชัยภูมิห่างจาก บ้าน โนนเสลา-โนนทัน ตำบลหนองตูมระยะทางประมาณ 20กม. เรียกชื่อตามหนองน้ำ ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัด เป็นพระธาตุที่มีลักษณะสวยงาม และสมบูรณ์ที่สุดองค์หนึ่ง ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่จากลักษณะทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมที่ปรากฏเกิดจากการผสมผสานกัน ระหว่างศิลปล้านนา, ล้านช้างและอยุธยา สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 21-22 ในสมัยพระไชยเชษฐาธิราชแห่งราชอาณาจักรลาว พระธาตุหนองสามหมื่น เป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ตั้งอยู่บนฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีความสูงประมาณ 45 เมตร มีบันไดทางขึ้นทั้งสี่ด้าน เหนือฐานเขียงเป็น03 33ฐานบัวคว่ำบัวหงายรองรับองค์พระธาตุ ซึ่งมีซุ้มจรนัมยอดสูงทั้งสี่ทิศ ภายในซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปปางประทับยืน ซุ้มด้านทิศเหนือและทิศตะวันตกเป็นพระพุทธรูปปางรำพึง ซุ้มด้านทิศใต้และทิศตะวันออกเป็นพระพุทธรูปปางลีลา ภายในองค์พระธาตุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า รูปแบบดังกล่าวอาจเปรียบเทียบได้กับพระธาตุอื่น ๆ ทั้งในนครเวียงจันทน์และในเขตไทย เช่น พระธาตุวัดเทพพล เมืองเวียงคุก จังหวัดหนองคาย, พระธาตุบังพวน จังหวัดหนองคาย , พระธาตุวัดนาก ชานเมืองเวียงจันทร์, พระธาตุศรีเมืองนครเวียงจันทน์ เป็นต้น กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พุทธศักราช 2479 และได้กำหนดเขตที่ดินโบราณสถานมีพื้นที่ 5 ไร่ 3 งาน 79 ตารางวา ประกาศในราชกิจจา วันที่ 14 กันยายน พุทธศักราช 2525 ดำเนินการขุดแต่งและบูรณะจนแล้วเสร็จระหว่างปีพุทธศักราช

142531-2533 นอกจากนี้ภายในบริเวณพระธาตุหนองสามหมื่น เป็นที่ตั้งของพระพุทธรูปปางไสยาสน์ไม่มีวิหารคลุมมีขนาดความยาวประมาณ 15 เมตร ด้านหน้าขององค์พระเป็นสนามหญ้าขนาดใหญ่โล่งกว้าก่อนเดินทางกลับแวะช้อบปิ้ง สินค้าโอทอปขึ้นชื่อของจ.ชัยภูมินั่นคือ “หมอนขิด” และที่จะขาดเสียไม่ได้ก็คือ “หม่ำเนื้อ-หม่ำหมู” เป็นอาหารพื้นเมืองเก่าแก่ที่เลื่องชื่อของชาวอีสานและเป็นเมนูยอดฮิตของ จ.ชัยภูมิ โดยมีส่วนผสมของเนื้อหมูหรือเนื้อวัว, ตับ,กระเทียม รูปร่างลักษณะเหมือนไส้กรอก ต่างกันที่ส่วนผสมและรสชาติที่ออกเปรี้ยว นอกจากนี้หมํ่ายังเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในการถนอมอาหารให้เก็บไว้ได้นานอีกด้วย

ขอขอบคุณ

* การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานนครราชสีมา

* สุเทพ พวงมะโหด เรื่องและภาพ

Previous post ชายวัยทอง อาการที่ไม่ควรมองข้าม
Next post ขับรถหน้าร้อนอย่างเย็นสบายไปกับ MG3
Social profiles