ICAO’s USOAP Auditor หญิง คนแรกของไทย กับบทบาท “ผู้ตรวจสอบความปลอดภัยด้านการบินสากล”

องค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization) หรือ ICAO เป็นหน่วยงานพิเศษของสหประชาชาติ ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานและวิธีปฏิบัติที่ใช้ในกิจการการบินพลเรือนเพื่อให้สมาชิกทั้ง 193 ประเทศทั่วโลก นำมาตรฐานและวิธีปฏิบัติดังกล่าวไปออกเป็นกฎหมายกำกับดูแลการบินพลเรือนในประเทศ นอกจากนี้ ICAO ยังทำหน้าที่ตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยการบินพลเรือนของประเทศสมาชิกว่าได้นำมาตรฐานและวิธีปฏิบัติที่ ICAO ให้ไว้มาบังคับใช้อย่างไร โดยจะประเมินเป็นระดับประสิทธิผลหรือที่เรียกว่า Effective Implementation (EI) โดยปัจจุบันค่าเฉลี่ยของโลกอยู่ที่ร้อยละ 69.2% ในการตรวจสอบ หากตรวจพบประเทศใดยังไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรฐาน ICAO จะให้เป็นข้อบกพร่อง (Finding) และหากข้อบกพร่องที่ตรวจพบนั้นมีความเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญต่อความปลอดภัยด้านการบินและไม่สามารถแก้ไขได้ในกรอบเวลาที่กำหนด ICAO จะประกาศต่อสาธารณะว่าประเทศนั้นมีข้อบกพร่องที่มีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยการบินอย่างมีนัยสำคัญ (Significant Safety Concern หรือ SSC) และ “ติดธงแดง” ไว้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นของอุตสาหกรรมการบินในประเทศนั้น ๆ อย่างที่ประเทศไทยเคย “ติดธงแดง” ในปี 2558 และต้องใช้เวลากว่า 4 ปี เพื่อปรับปรุง แก้ไขข้อบกพร่อง และยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยด้านการบินของประเทศให้ดีขึ้น จนสามารถปลดธงแดงจาก ICAO ได้สำเร็จในปี 2562  ​การประเมินมาตรฐานความปลอดภัยในการกำกับดูแลการบินพลเรือนโดย ICAO มีวัตถุประสงค์ที่ช่วยให้ประเทศสมาชิกปรับปรุงและรักษามาตรฐานความปลอดภัยด้านการบินให้ปลอดภัยสูงสุด โดยการประเมินของ ICAO จะดำเนินการโดย “คณะผู้ตรวจสอบการกำกับดูแลความปลอดภัยสากล” หรือ “USOAP Auditors” โดย “USOAP” (ยูโซพ) ย่อมาจาก The Universal Safety Oversight...

ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม รฟม. “ศราวุฒิ เอกสุวรรณ” ศิษย์เก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.รังสิต

ครอบครัวเป็นรากฐานที่สำคัญและมีอิทธิพลอย่างมากต่อชีวิตของใครหลายคน หนึ่งในนั้นคือศิษย์เก่ารุ่นที่ 6 ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต “ศราวุฒิ เอกสุวรรณ” ผู้เลือกเจริญรอยตามคุณพ่อ เป็นสถาปนิกมืออาชีพ ก่อนจะเติบโตในสายงานเฉพาะด้านที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งได้ควบรวมองค์ความรู้ 2 แขนงเข้าไว้ด้วยกัน วันนี้เขากลายเป็นสถาปนิกคนแรกที่ดำรงตำแหน่ง “ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)” หน่วยงานที่ให้ความสำคัญและคำนึงถึงประโยชน์ของมวลชนเป็นที่ตั้ง คุณศราวุฒิ ได้เล่าถึงภาระหน้าที่ในบทบาทของ ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม ให้ฟังว่า “ผมมีหน้าที่ควบคุมดูแลและให้คำปรึกษา งานที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ ทั้งในส่วนของงานด้านสถาปัตยกรรม และงานวิศวกรรมระบบไฟฟ้า-เครื่องกล โดยมีขอบเขตการทำงานที่ครอบคลุมงานออกแบบทั่วไปของ รฟม. ตลอดจนโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทั้งหมด ซึ่งจะเริ่มต้นตั้งแต่การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ โดยทำงานร่วมกับที่ปรึกษาภายนอก สำหรับการออกแบบเบื้องต้นเพื่อนำไปพัฒนาต่อยอด รวมไปถึงการประสานงานกับหน่วยงานผู้รับผิดชอบ ในกรณีที่พื้นที่ของโครงการมีความเกี่ยวพันทับซ้อนกับหน่วยงานนั้นๆ อาทิ กรมศิลปากร กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท ในส่วนของการประสานงานกับมวลชน กรณีมีการร้องเรียนจากการเวนคืนพื้นที่เพื่อการก่อสร้าง เราจะทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย และหาทางออกผ่านการออกแบบ เพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด และสร้างผลประโยชน์มากที่สุดต่อประชาชน สำหรับการประกวดราคา เราให้ความสำคัญกับความเหมาะสมของเงื่อนไขและรายละเอียดในข้อสัญญา โดยต้องการงานที่มีมาตรฐาน ซึ่งผลิตจากวัสดุที่มีประสิทธิภาพ จากผู้ผลิตที่มีความน่าเชื่อถือสูง ซึ่งเป็นงานในส่วนที่ต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์ในการตัดสินใจที่ถูกต้อง เรามีความเชี่ยวชาญและสามารถให้คำแนะนำกับที่ปรึกษา เพื่อการปรับปรุง พัฒนา หรือแก้ไขงานออกแบบให้สอดรับกับนโยบายและข้อกฎหมายต่างๆ จนสามารถนำไปใช้เพื่อการก่อสร้างได้ โดยใช้มาตรฐาน NFPA หรือ National Fire Protection...

บันทึกการเดินทางของ “สุริยา สุริยาทิพย์” ศิษย์เก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.รังสิต

สถาปนิกแบบไฮบริด คำนิยามที่อาจใกล้เคียงที่สุด ของสถาปนิกผู้ทำหน้าที่ผนวกการออกแบบ การก่อสร้าง และการดำเนินธุรกิจ มารวมไว้ในคนเดียว นี่คือเรื่องราวการผจญภัยในต่างแดนของ “สุริยา สุริยาทิพย์” ศิษย์เก่ารุ่นที่ 6 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต สถาปนิกนักเดินทางผู้เริ่มต้นจากศูนย์ ผู้ไม่เคยย่อท้อ และพร้อมฟันฝ่าทุกบททดสอบในทุกด่านของชีวิต จุดเริ่มต้นที่ จ. ชลบุรี ประเทศไทย คุณสุริยา สุริยาทิพย์ หรือ ใหญ่ มีภูมิลำเนาอยู่ตำบลอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี เป็นลูกชายชาวประมงและช่างเย็บผ้า ที่มีฐานะทางบ้านไม่ค่อยดีนัก ในช่วงวัยเด็กใช้ชีวิตค่อนข้างแอดเวนเจอร์ ชื่นชอบการเล่นกีฬาหลายประเภทโดยเฉพาะฟุตบอล...

แสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์ SME ไทย สมัยที่ 2 ศิษย์เก่าคณะเทคโนโลยีชีวภาพ

“ความสำเร็จในมิติของผม คือ ความสำเร็จร่วมกัน จากการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับประเทศ” นี่คือคำจำกัดความที่แสดงตัวตนของคนที่มีบทบาทการทำงานที่หลากหลาย “แสงชัย ธีรกุลวาณิช” ศิษย์เก่าคณะเทคโนโลยีชีวภาพ (ปัจจุบันวิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยีอาหาร) มหาวิทยาลัยรังสิต รหัส 33 ผู้ดำรงตำแหน่งประธานสมาพันธ์ SME ไทย สมัยที่ 2 ควบบทบาทผู้บริหาร บริษัท ไร้ท์ โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไร้ท์ รีแอคติเวชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้ซึ่งจะมาแบ่งปันเรื่องราวผ่านบทบาทที่แตกต่าง แต่ล้วนมีปณิธานเดียวกัน คือ เพื่อการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ บทบาทประธานสมาพันธ์ SME ไทย คุณแสงชัย เล่าถึงจุดเริ่มต้นของบทบาทประธานสมาพันธ์ SME ไทยให้ฟังว่า...

ศุภฤกษ์ อิทธิพลานุคุปต์ ศิษย์เก่าคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ จากรั้ว ม.รังสิต กับบทบาท Cyber Security มือทอง ผู้มุ่งหวังสร้างความปลอดภัยให้ประเทศ

เมื่อรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการทำงานของผู้คนทั่วโลก ได้ย้ายมาอยู่บนเครือข่ายดิจิทัล ข้อมูลปริมาณมหาศาลที่เกิดขึ้นในทุก ๆ วินาที เป็นสิ่งล่อตาล่อใจจากความพยายามคุกคามและโจมตีของผู้ไม่หวังดี ที่จะมาแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลที่สำคัญเหล่านั้น อาชีพด้าน “Cyber Security” จึงเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานอย่างสูง “ศุภฤกษ์ อิทธิพลานุคุปต์” คือหนึ่งในผู้ที่กระโจนเข้ามาทำหน้าที่นี้ ตั้งแต่ในช่วงที่เทรนด์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ ยังไม่ได้รับความสนใจมากนัก ศิษย์เก่าคนเก่งจากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้ทำหน้าที่พิทักษ์ความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ ของหนึ่งในองค์กรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ กลุ่มบริษัท ปตท. ผู้ที่จะมาแลกเปลี่ยนมุมมองความสำเร็จ ในอาชีพที่หลายคนอาจไม่คุ้นชื่อ แต่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในยุคปัจจุบัน ศุภฤกษ์ อิทธิพลานุคุปต์ ดำรงตำแหน่ง Senior IT Security...

เปิดตำนานเครื่องเสียง BMB แบรนด์สุดเก๋าแห่งดินแดนอาทิตย์อุทัย กับการรุกตลาดเมืองไทยในปี 2022

เครื่องเสียง BMB(บีเอ็มบี) หรือ Best Music Band เครื่องเสียงที่ได้รับความไว้วางใจ และมีประวัติความเป็นมาอันยาวนานจากประเทศญี่ปุ่น ต้นกำเนิดของกระแสความนิยม “คาราโอเกะ” นี่คือเครื่องเสียงจากยุคเริ่มต้นของการสร้างสรรค์วัฒนธรรม ซึ่งผ่านการรังสรรค์และพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความบันเทิงผ่านการขยาย ถ่ายทอด และกระจายเสียงมาตลอดระยะเวลา 50 ปี ขอเชิญค้นพบและสัมผัสกับเสน่ห์ของเครื่องเสียง BMB แบรนด์สุดเก๋าจากดินแดนอาทิตย์อุทัย กับการรุกตลาดเมืองไทยในปี ค.ศ. 2022 นายพงษ์พันธ์ สุระวัฒน์เจริญ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายขยายธุรกิจ บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย)...

เส้นทางความสำเร็จ กับคุณหทัยชนก เล้ารุ่งเรือง ศิษย์เก่าฟู้ดเทค

“เพราะอาหารเป็น 1 ในปัจจัย 4 ของมนุษย์ ถ้าเราสามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยในการดำรงชีพของมนุษย์ได้คงจะดี” นี่คือความคิดของคุณหทัยชนก เล้ารุ่งเรือง (คุณบี) กรรมการผู้จัดการ บริษัท บีซี อาหารและเครื่องดื่ม จำกัด ศิษย์เก่าสาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะเทคโนโลยีอาหาร มหาวิทยาลัยรังสิต คุณบี เล่าว่า หลังจากเรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลายที่จังหวัดยะลา ก็เลือกดูหลักสูตรของ มหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เปิดสอนทางด้านเทคโนโลยีอาหาร  และตัดสินใจเลือกเรียนที่มหาวิทยาลัยรังสิต เพราะเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีหลักสูตรที่ตรงกับสิ่งที่ตนเองอยากเรียน ซึ่งพอเข้ามาเรียนแล้วด้านวิชาการก็ตอบโจทย์เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ยังได้มุมมองแง่คิดในการใช้ชีวิต สมัยเรียนสนุกมาก ได้ใช้ชีวิตนักศึกษาเต็มที่ได้เฮฮากับเพื่อนๆ...

หัวใจสำคัญของธุรกิจ คือ การตลาดออนไลน์

ภก.ดร.ปัณณวิชญ์ โชติเตสธรรมมณี เป็นหนุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่อนาคตไกลที่น่าจับตามองอย่างมาก สำหรับ ภก.ดร.ปัณณวิชญ์ โชติเตชธรรมมณี หรือ ดร.เจล (วัย 29 ปี) กรรมการผู้จัดการ บริษัท ด็อกเตอร์ เจล จำกัด นักบริหารยุคใหม่วิสัยทัศน์กว้างไกล ผู้มีความรู้ทางด้านดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง เป็นอย่างดี ทำให้ธุรกิจผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอางแบรนด์ ‘ด็อกเตอร์เจล’ (Dr.JEL) ที่เขาก่อตั้งขึ้นมา มีการเติบโตอย่างรวดเร็วและกำลังไปได้สวย ลองไปทำความรู้จักกับเขากัน ดร.เจล เรียนจบปริญญาตรี จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ ซึ่งเน้นทั้งด้านเภสัชฯ และด้านโปรแกรมเมอร์ เมื่อจบมาจึงทำได้ทั้งเขียนโปรแกรม สร้างเว็บไซต์ หรือเซ็ตอัพระบบจ่ายยาในโรงพยาบาลได้ด้วย นอกจากนี้เขายังจบปริญญาโท จากคณะวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และได้รับมอบปริญญาเอก (กิตติมศักดิ์) จาก Honorary Doctorate Degree Business Administration,International University of Morality, Florida,...

เปิดประสบการณ์ทำงานต่างแดน กับศิษย์เก่าการแพทย์แผนตะวันออก ม.รังสิต

การแพทย์แผนตะวันออก นับเป็นการแพทย์ทางเลือกที่หลายคนต่างหันมาให้ความสำคัญ โดยเฉพาะจากวิกฤต COVID-19 เป็นช่วงเวลาที่คนไทยใส่ใจในสุขภาพและดูแลตัวเองมากขึ้น อย่างไรก็ตามการแพทย์แผนไทย เป็นสิ่งที่มีคุณค่า และมีประโยชน์ในการรักษาไม่แพ้การแพทย์แบบอื่นๆ อย่างที่ศิษย์เก่าของเราคนนี้ได้นำความรู้การแพทย์แผนไทยไปสู่การทำงานด้านสุขภาพในระดับนานาชาติ “ฝ้าย” สุภาวดี เงินคำ เป็นศิษย์เก่าวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต รุ่นที่ 7 ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยผ่านการสอบใบประกอบโรคศิลปะ และถือใบประกอบโรคศิลปะ (MT) ด้าน Massage-Physiotherapy เธอมีประสบการณ์การทำงานที่น่าสนใจ โดยเมื่อปี 2015 ได้เริ่มงานกับคลินิกกายภาพบำบัด Taiy Pradit Physical...

ความท้าทายของงานประชาสัมพันธ์ในยุค Digital Disruption & COVID-19 Attack

เป็นหนึ่งในจอมยุทธ์สายประชาสัมพันธ์ ที่ท่องยุทธภพในแวดวงพีอาร์เอเยนซี่มาเกือบ 3 ทศวรรษ สำหรับ “ตุ๊ก” เพียงเพ็ญ พรายแสง ไดเร็คเตอร์แห่งบริษัท พับบลิคฮิต จำกัด ผู้นำทีมบริษัทที่ปรึกษาด้านประชาสัมพันธ์ ที่ได้ประสบพบเจอความเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจมาหลายยุคสมัย โดยเฉพาะโลกปัจจุบันที่ก้าวล้ำด้วยเทคโนโลยี และมาพร้อมกระแสดิจิทัล ดิสรัปชั่น (digital disruption) บวกกับวิกฤตการแพร่ระบาดไปทั่วโลกของไวรัสโควิด-19 ซึ่งส่งผลให้ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคแปรเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ทั้งยังสร้างผลกระทบให้หลายธุรกิจต้องมีอันล้มหายตายจาก หรือหากอยู่รอดก็ต้องเร่งปรับตัวกันทั้งองคาพยพ เพื่อรับมือและต่อสู้กับโจทย์ใหม่ ๆ ลองมาดูข้อคิดดี ๆ  ในการดำรงอยู่ของธุรกิจพีอาร์เอเยนซี่ ท่ามกลางความแปรผันของโลกยุคใหม่ และกระแสดิจิทัล ดิสรัปชั่น...
Social profiles