ฉลอง 400 ปีความสัมพันธ์ไทยและเดนมาร์ก พร้อมนวัตกรรมการรักษาโรคเบาหวานในประเทศไทย 

สถานเอกอัครราชทูตเดนมาร์กประจำประเทศไทย ร่วมกับ บริษัท โนโว นอร์ดิสค์ ฟาร์มา (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทผู้นำด้านนวัตกรรมยาและเวชภัณฑ์ทางด้านการรักษาโรคเบาหวานมากว่า 99 ปี จัดงานแถลงข่าว “ฉลอง 400 ปีความสัมพันธ์ไทยและเดนมาร์ก พร้อมนวัตกรรมการรักษาโรคเบาหวานของไทย” ณ สถานเอกอัครราชทูตเดนมาร์กประจำประเทศไทย เป็นเวลากว่า 39 ปี ที่โนโว นอร์ดิสค์ ฟาร์มา (ประเทศไทย) มีบทบาทสำคัญในการตอบสนองต่อความต้องการทางการแพทย์ ที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองของผู้ป่วยเบาหวาน ตลอดจนในการพัฒนานวัตกรรมสำหรับการรักษาและดูแลโรคเบาหวานในประเทศไทย ​ มร. ยอน ธอร์กอร์ด ( H.E. Mr. Jon Thorgaard) เอกอัครราชทูตเดนมาร์ก ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “สำหรับการจัดงาน “ฉลอง 400ปีความสัมพันธ์ไทยและเดนมาร์ก พร้อมนวัตกรรมการรักษาโรคเบาหวานของไทย” ครั้งนี้ เรามีวัตถุประสงค์ เพื่อต้องการเสริมสร้างความสัมพันธ์ 400 ปีของ ไทยและเดนมาร์ก ซึ่งที่ผ่านมาความสัมพันธ์ของเราเป็นไปด้วยดี รวมถึงด้านการดูแลสุขภาพของ โนโว นอร์ดิสค์ ฟาร์มา (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทยาระดับโลกที่มีจุดกำเนิดมาจากประเทศเดนมาร์กด้วยนวัตกรรมและความเป็นผู้นำในการดูแลโรคเบาหวาน...

เส้น-ด้าย คลองสามวาพร้อมให้บริการประชาชนในพื้นที่รอบนอกและใกล้เคียง ช่วยบรรเทาทุกข์ผู้ป่วยโควิด-19 

นางเสมอใจ อินทวงศ์ ผู้จัดการศูนย์เส้นด้าย คลองสามวา กล่าวว่า ศูนย์เส้นด้ายคลองสามวา จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนไม่เลือกเพศ ไม่เลือกวัย ไม่เลือกสัญชาติให้กับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ด้วยการให้การบริการตรวจ ATK ซึ่งถ้าพบผู้ติดเชื้อก็จะให้ยาเบื้องต้นไปรับประทาน แต่ถ้ามีอาการสีเหลือง สีแดง ก็ให้คำแนะนำปรึกษาประสานหาเตียงรถรับส่ง เพื่อที่ผู้ติดเชื้อได้มีทางออกกันต่อไป นางเสมอใจ ได้ให้คำแนะนำวิธีการดูแลตัวเองแบบง่าย ๆ ให้รอดในสถานการณ์วิกฤติแบบนี้ 1 หากมีไข้สูงมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส2 พักผ่อนให้เพียงพอ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน3 ดื่มน้ำมากๆ แนะนำว่าควรดื่มน้ำเรื่อย ๆ...

GRAND OPENING “สมาคมช่างภาพสื่อมวลชนดิจิทัล” พร้อมขับเคลื่อนองค์กร ประกาศจุดยืน ต้องเป็นสื่อมวลชนดิจิทัลที่แท้จริง 

“สมาคมช่างภาพสื่อมวลชนดิจิทัล” พร้อมขับเคลื่อนองค์กรอย่างเต็มที่ GRAND OPENING อย่างเป็นทางการ 26 มีนาคม 2565 ประกาศจุดยืน ต้องเป็นสื่อมวลชนดิจิทัลแท้จริง ที่เน้นย้ำ “ต้องแตกต่าง อย่างมีคุณค่า” มุ่งนำเสนอหลากหลายกิจกรรม ดูแลสวัสดิการสมาชิกร่วมองค์กร และสนองคืนกลับสังคมรูปแบบใหม่ในยุค NEW NORMAL นายกิตติพันธ์ ขันติศีลชัย นายกสมาคมช่างภาพสื่อมวลชนดิจิทัล ได้กล่าวถึงความเป็นมาของสมาคมฯ และปณิธานความตั้งใจในการรังสรรค์สมาคมฯนี้ขึ้นมาว่า หลังจากที่ทุกฝ่ายร่วมผลักดันให้ องค์กรอิสระ เพื่อสมานสามัคคี สร้างสรรค์ผลงานคืนกลับสู่สังคม และดูแลเหล่าสมาชิกร่วมองค์กร ทั้งสื่อกระแสหลัก และสื่อออนไลน์...

บราเดอร์ รุกตลาดด้วยกลยุทธ์ CSB 2024 ตั้งเป้าเติบโต 14% ในปีงบประมาณ 65

นำเสนอหลากหลายสินค้าตอบโจทย์ทุกกลุ่มผู้บริโภค พร้อมมุ่งรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน บราเดอร์ยังครองความเป็น 1 ใน 3 แบรนด์ผู้นำตลาดเครื่องพิมพ์ของไทย ปีงบประมาณ 65 คาดการณ์อัตราการเติบโตของกลุ่มธุรกิจเครื่องพิมพ์ไว้ที่ 13% และกลุ่ม non-print ที่ 16% พร้อมพัฒนากลยุทธ์เชิงรุกเพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจรับโควิดคลี่คลาย นายธีรวุธ ศุภพันธุ์ภิญโญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจัยด้านการผลิตยังคงเป็นหนึ่งปัจจัยหลักที่บราเดอร์ต้องให้ความสำคัญอย่างมากในปีนี้ ปฎิเสธไม่ได้ว่า 2 ปีที่เกิดสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ทุกธุรกิจต้องกำหนดมาตรการการทำงานแบบเว้นระยะห่าง ส่งผลให้สายงานการผลิตต้องควบคุมจำนวนพนักงานภายในโรงงานตามมาตรการป้องกันโควิด-19 ทำให้มีปริมาณการผลิตที่ลดลง ประกอบกับสถานการณ์ด้านวัตถุดิบที่มีปริมาณไม่เพียงพอ ส่งผลต่อการกระจายสินค้าเพื่อเติมเต็มความต้องการตลาดที่ยังเห็นสัญญาณการยังเติบโตอยู่ด้วยเช่นกัน “ทั้งนี้ ตัวเลขส่วนแบ่งการตลาดของเครื่องพิมพ์ในปี 2564 ตามรายงานของ จีเอฟเค(GFK) ระบุว่า บราเดอร์ยังครองความเป็น 1 ใน 3 แบรนด์ผู้นำของตลาดได้อย่างต่อเนื่อง และสร้างอัตราการเติบโตให้เกิดขึ้นใน 3 กลุ่มเครื่องพิมพ์จนสามารถครองส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 1 ได้สำเร็จท่ามกลางสถานการณ์ที่ท้าทาย ประกอบด้วย กลุ่มเครื่องพิมพ์โมโนเลเซอร์อยู่ที่ 37.1%, กลุ่มเครื่องพิมพ์โมโนเลเซอร์มัลติฟังก์ชัน 64.3%, กลุ่มเครื่องพิมพ์คัลเลอร์เลเซอร์มัลติฟังก์ชัน 47.9% ทั้งยังครองอันดับ 2 ในกลุ่มเครื่องพิมพ์คัลเลอร์เลเซอร์อยู่ที่ 19.5% และจากปัจจัยด้านวัตถุดิบทำให้เครื่องพิม์อิงค์แทงค์ของบราเดอร์ยังคงเติบโตใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา โดยครองส่วนแบ่งเป็นอันดับ 3 ของตลาดอยู่ที่ 20%”  นายธีรวุธ ศุภพันธุ์ภิญโญ กล่าวถึงศักยภาพของบราเดอร์ที่ยังคงครองความเป็นผู้นำ 1 ใน 3 ของตลาดเครื่องพิมพ์ไว้อย่างเหนียวแน่น โดย 3 ปีต่อจากนี้ บราเดอร์ จะเดินหมากธุรกิจภายใต้กลยุทธ์ CSB 2024 (ChallengeStrategy Brother 2024) ครอบคลุมตั้งแต่ปี 2565-2567 ผ่าน 3 แนวทาง ประกอบด้วยRe-energizing Business การปรับแนวทางการดำเนินธุรกิจเพื่อพัฒนากลยุทธ์สู่การเติบโตจากปัจจุบันสู่อนาคต Sustainability การดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนควบคู่กับสังคม (local community) และสิ่งแวดล้อม (environment) โดยดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรม (Good Governance) และ Driving DX หรือการขับเคลื่อนด้าน Digital Transformation (DX) โดยการนำเทคโนโลยีและกลยุทธ์ทางดิจิทัลเข้ามาใช้ในการวางรากฐานและเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนขั้นตอนการทำงานและวัฒนธรรมขององค์กร เพื่อให้พร้อมเติบโตคู่กับไปกับกระแสเทคโนโลยีที่ปรับตัวอย่างรวดเร็ว ณ ปัจจุบัน โดยกลยุทธ์ดังกล่าวจะถูกนำมาใช้ในการดำเนินธุรกิจของบราเดอร์ทั้ง 15 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก “ความท้าทายของการทำธุรกิจในปี 2565 คือความไม่แน่นอนของปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ...

เดินหน้าปฎิรูป“แพทย์แผนไทย”ส่งเสริมภูมิปัญญาไทย ผสานนวัตกรรม ด้วยแพลตฟอร์มออนไลน์

​“พลเรือเอกชาญชัย เจริญสุวรรณ”  อดีตประธานคณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปการแพทย์แผนไทย สภาปฏิรูปแห่งชาติประกาศเดินหน้า สร้างความเชื่อมั่น “แพทย์แผนไทย” -ส่งเสริมภูมิปัญญาไทย ผสานนวัตกรรม รับสังคมยุคนิวนอร์มอล  ​ ในปัจจุบันการแพทย์แผนไทย เป็นที่รู้จักและถูกยอมรับในวงกว้างมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีบางส่วนที่ขาดความเชื่อมั่น กับภูมิปัญญาไทยเหล่านี้ ด้วยเหตุปัจจัยหลายอย่าง ทั้งนี้ พลเรือเอกชาญชัย เจริญสุวรรณ ได้ให้มุมมองในการสร้างความเชื่อมั่น ทิศทางการแพทย์แผนไทยที่อยากจะให้เป็น พร้อมแนะถึงเวลาสร้างแพลตฟอร์มออนไลน์ตอบโจทย์สังคมในยุคปัจจุบัน  ​“พลเรือเอกชาญชัย เจริญสุวรรณ” กล่าวว่า “ถ้าถามผมถึงภาพลักษณ์ของแพทย์แผนไทยในปัจจุบัน ผมว่าสังคมไม่ค่อยเชื่อมั่น ในเรื่องของมาตรฐาน วิชาการ คือไม่เชื่อมั่นในการใช้ยาแผนไทย แล้วตำรับยาแผนไทยเองก็ไม่มีงานวิจัย เหมือนกับว่าองค์ความรู้โบร่ำโบราณแล้วก็พิสูจน์ไม่ได้ ผมเลยคิดว่าสังคมขาดความเชื่อมั่นในการมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล”  ​เมื่อถามว่าแบบนี้แล้วทิศทางของแพทย์แผนไทยที่อยากเห็นในอนาคตจะเป็นอย่างไร ก็ได้คำตอบว่า “อยากเห็นความเชื่อมั่น และศรัทธาในภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย เชื่อมั่นในตำรับยาแผนไทย...

คาโอและคาเนโบ ประเทศไทย ร่วมกับ GC และกลุ่มพันธมิตร มอบชุด PPE จากโครงการ “แยกขวด ช่วยหมอ” สานต่อความยั่งยืน และปกป้องสังคม 

บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทผู้ผลิตสินค้าเพื่ออุปโภคและธุรกิจเคมีภัณฑ์ชั้นนำ ร่วมกับ บริษัท คาโอ คอนซูเมอร์ โปรดักซ์ (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) จำกัด บริษัท คาเนโบ คอสเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด) และบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ผู้นำเคมีภัณฑ์ระดับสากล เพื่อสร้างสรรค์คุณภาพชีวิต รวมพลังช่วยสังคมและคนไทยให้ผ่านพ้นสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ด้วยการบริจาคชุด PPE จำนวนทั้งสิ้น 1,000 ชุด ที่ผลิตจากขวดพลาสติกใช้แล้ว ภายใต้โครงการ “แยกขวด...

เบนซ์ทองหล่อ จัดขบวนทัพกับข้อเสนอเกินต้าน ในงาน Motor Show 2022 

เบนซ์ทองหล่อ-รามอินทรา ผู้แทนจำหน่ายรถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์ อย่างเป็นทางการ ชวนทุกท่านร่วมสัมผัสประสบการณ์จากค่าย เมอร์เซเดส-เบนซ์ ที่ยกทัพยนตรกรรมหรู หลากรุ่นที่ถูกคัดสรร ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้งาน พร้อมไฮไลท์ เปิดตัว Mercedes-Benz New C-Class โฉมใหม่เกินต้าน อีกทั้งข้อเสนอสุดพิเศษเกินห้ามใจ ที่เบนซ์ทองหล่อ พร้อมมอบให้ *รับทองคำหนัก10บาททันที แบบไม่ต้องมีลุ้น เมื่อจองและออกรถ Mercedes-Benz GLC SUV (เฉพาะรุ่นที่ร่วมรายการ) ทั้งหมดนี้เพียงคุณถามหาพนักงาน “เบนซ์ทองหล่อ” ที่พร้อมให้บริการหน้างานฯ โดยสิทธิพิเศษแบบแจกไม่ยั้งนี้มีเฉพาะในงาน “Bangkok International Motor Show 2022” ณ ชาเลนเจอร์ฮอลล์ อิมแพค เมืองทองธานีหรือรับข้อเสนอเดียวกับงาน Motor Show ได้ที่ เบนซ์ทองหล่อ โชว์รูมรามอินทราตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม-3 เมษายน นี้เท่านั้น พลอยกาญจน์ โพธิพิมพานนท์ ประธานบริษัท และ ซีอีโอ บริษัท ทองหล่อ-รามอินทรา จำกัด ในนาม เบนซ์ทองหล่อ ผู้จำหน่ายรถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์อย่างเป็นทางการ กล่าวว่า “ปัจจุบันด้วยสถานการณ์กลับสู่ภาวการณ์ปกติเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว ส่งผลให้ความต้องการและกำลังซื้อในด้านต่างๆกลับมา อีกทั้งความต้องการครอบครองด้านยนตรกรรมที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ ความหรูหราที่มาพร้อมสมรรถนะความเป็นเลิศในการใช้งาน ผสานเทคโนโลยีสุดล้ำของ เมอร์เซเดส-เบนซ์ เป็นที่ต้องการเพิ่มมากขึ้นของทุกเจนเนอเรชั่น ทั้งยังเป็น Top of Mind ตั้งแต่รุ่นคุณพ่อ ส่งต่อรุ่นลูก...

สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมั่นใจตลาดรถปีนี้ฟื้นตัวต่อเนื่อง พร้อมขานรับมาตรการสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าของรัฐ  

กรุงเทพฯ 25 มีนาคม 2565 - สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย(The Thai Automotive Industry Association : TAIA) จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับสื่อมวลชน (TAIA Meets the Press) ในหัวข้อ“ทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย” มองแนวโน้มตลาดรถสามารถฟื้นตัวได้ต่อเนื่องจากวิกฤตโควิด-19 ในประเทศที่เริ่มคลี่คลาย  มั่นใจนโยบายภาครัฐต่างๆ ที่พร้อมสนับสนุนการพลิกฟื้นภาคเศรษฐกิจทั้งระบบ รวมถึงมาตรการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าที่จะเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยให้มากยิ่งขึ้น  นายสุวัชร์ ศุภกาญจน์เดชากุล นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย เผยว่า “ในปี พ.ศ. 2565 คาดการณ์การผลิตรถยนต์ของไทยโดยรวมที่ 1.8 ล้านคัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มียอดผลิต 1.68 ล้านคันโดยแบ่งเป็นผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 8 แสนคัน และผลิตเพื่อส่งออก 1 ล้านคัน และได้คาดการณ์ยอดจำหน่ายรถยนต์ทุกประเภทในปีนี้จะอยู่ที่ 8.5 แสนคัน เพิ่มขึ้น 90,000 คันจากยอดจำหน่ายปีที่แล้ว หรือประมาณ 12% ส่วนตัวเลขรถจักรยานยนต์ คาดการณ์ยอดผลิตที่2,000,000 คัน และยอดจำหน่ายปีนี้ 1,650,000 คัน เพิ่มขึ้น 3% เพราะมีปัจจัยบวกสนับสนุนในหลายส่วน ได้แก่ การที่รัฐบาลเตรียมประกาศให้โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่นตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 เนื่องจากมีผู้ได้รับวัคซีนมากกว่า 80% ของประชากรทั้งประเทศและมีการปรับวิถีชีวิตอยู่ร่วมกับโควิดได้ดีขึ้น นโยบายเปิดประเทศโดยการผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ การเพิ่มพื้นที่สีฟ้าเพื่อนำร่องการท่องเที่ยว การเปิดรับนักท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ เช่น มาตรการ Test & Go ยกเลิกการตรวจ RT-PCR ก่อนการเดินทางที่จะเริ่มในวันที่ 1 เมษายนนี้ เป็นต้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจไทยตลอดปี พ.ศ. 2565 ว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 4% โดยมาจากการขยายตัวของภาคการส่งออก 4.9% การอุปโภคบริโภค 4.5% การลงทุนภาคเอกชน 3.8%  และการลงทุนภาครัฐ 4.6% รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของภาครัฐ ในการช่วยเหลือประชาชน ผู้ประกอบการและผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจในปีที่ผ่านมา”   ส่วนด้านปัจจัยลบ ทางสมาคมฯ มองว่า มี 2 สาเหตุหลัก กล่าวคือ • ปัจจัยลบนอกประเทศ เช่น ปัญหาการขาดแคลนและการถูกปรับราคาขึ้นของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เนื่องจากความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดปัญหา Logistic & Supply chain disruption จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ การแข่งขันทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน ปัญหาความรุนแรงระหว่างยูเครนและรัสเซียที่ส่งผลให้ราคาน้ำมันโลกสูงขึ้น รวมถึงมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ • ปัจจัยลบภายในประเทศ ได้แก่ ค่าครองชีพที่สูงขึ้นจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงอย่างต่อเนื่องทั่วโลก อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น  และปัญหาหนี้ครัวเรือนสูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อกำลังการซื้อของประชาชนที่ลดลง    สำหรับกระแสยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV ที่กำลังเป็นเทรนด์ของทั่วโลก เนื่องจากเทคโนโลยีนี้ได้เข้ามาตอบโจทย์การลดภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน ประเทศต่างๆ หันมาส่งเสริมการใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น โดยเฉพาะในจีนและสหรัฐอเมริกา ล่าสุดรัฐบาลไทยได้ผ่านร่างมติคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) กำหนดนโยบาย30@30 คือ การตั้งเป้าการผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle)  หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ.2030  หรือ พ.ศ.2573 เพื่อก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) และการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลกหรือศูนย์กลางของภูมิภาค (EV Hub)  นายสุวัชร์กล่าวเสริมว่า “มาตรการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าของภาครัฐที่เพิ่งประกาศล่าสุด เช่น การสนับสนุนด้านสิทธิประโยชน์และภาษีของยานยนต์ไฟฟ้าเป็นการกระตุ้นตลาด เพื่อให้รถไฟฟ้ามีราคาที่น่าสนใจสำหรับผู้บริโภค โดยในปีนี้คาดการณ์ยอดจดทะเบียนใหม่ยานยนต์ไฟฟ้าจะมีแนวโน้มเติบโตอย่างก้าวกระโดด สำหรับประเภทรถยนต์นั่งไฟฟ้า คาดว่าน่าจะทะลุ 10,000 คัน ส่วนเรื่องการสร้างไทยให้เป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเหมือนกับรถกระบะ และรถอีโค่คาร์นั้น...
Social profiles