คนอายุน้อย…ทำไมเป็นมะเร็งปอดมากขึ้น

โดยส่วนใหญ่หลาย ๆ คนมักคิดว่า “โรคมะเร็งปอด” ควรจะต้องเป็นในคนอายุมากหรือคนที่สูบบุหรี่เท่านั้นแต่แท้จริงแล้วโรคมะเร็งปอดสามารถเกิดขึ้นได้ในคนอายุน้อยเช่นเดียวกัน โดย ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย (อ้างอิง การศึกษา Journal of cancer ที่ในสังเกตพบว่ามะเร็งปอดมักพบในช่วงอายุ 70 ปีและมากกว่า 70% มักจะพบในช่วงอายุที่มากกว่า 55 ปี แต่อย่างไรก็ตามมากกว่า 10% ที่พบในกลุ่มที่อายุน้อยกว่า 50% และจำนวน 1.4% พบน้อยกว่าอายุ 35 ปี ทั้งนี้ในกลุ่มคนอายุน้อยจะสังเกตพบว่า จะเจอในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยชนิดที่พบมักจะเป็น Adenocarcinoma)  ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์ทรวงอกเฉพาะทางด้านการผ่าตัดส่องกล้องในช่องทรวงอก โรงพยาบาลวชิรพยาบาล กล่าวว่า ทั่วไปผู้ป่วยที่มีอายุน้อยมักจะพบระยะ 4 เมื่อการตรวจวินิจฉัยครั้งแรก (ระยะ 4 หมายถึง มีการลุกลามเข้าเยื่อหุ้มปอดหรือไปที่บริเวณอวัยวะอื่น ๆ  เช่น สมอง  กระดูก  ต่อมหมวกไต และตับ เป็นต้น) โดยสาเหตุที่พบเจอช้าเนื่องจากเวลามีอาการไอหรือเหนื่อย ในคนอายุน้อยทางการแพทย์เราจะนึกถึงโรคมะเร็งค่อนข้างน้อย จึงใช้เวลาในการหาสาเหตุอื่น ๆ...

วิธีการผ่าตัดรักษาโรคอ้วนแบบสลีฟพลัส Sleeve Plus

โรคอ้วน คืออะไร ? โรคอ้วน คือ ภาวะที่ร่างกายมีไขมันสะสมมากผิดปกติ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันพอกตับ โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ โรคเส้นเลือดหัวใจหรือสมองตีบตัน โรคกรดไหลย้อน กระดูกสันหลังหรือกระดูกเข่าเสื่อม เป็นต้น นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่อีกด้วย  การรักษาด้วยการใช้ยา  การออกกำลังกายหรือการรับประทานอาหารที่มีพลังงานต่ำ สามารถลดน้ำหนักได้ แต่ไม่สามารถรักษาหรือคงน้ำหนักให้ผู้ป่วยได้ตลอด ผู้ป่วยมักจะมีน้ำหนักตัวกลับมาเพิ่มขึ้นได้ จึงได้มีการรักษาด้วยการผ่าตัดขึ้น ซึ่งสามารถลดน้ำหนักได้มากกว่าและมีผลสามารถคงน้ำหนักได้เป็นระยะเวลานานมากกว่า 7-10 ปีขึ้นไป ในผู้ป่วยที่มีดัชนีมวลกาย ไม่มาก สามารถพิจารณาลดน้ำหนักโดยการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายได้ แต่หากผู้ป่วยมีดัชนีมวลกายที่สูงมากมักมีข้อจำกัดในการออกกำลังกายเนื่องจากมีโรคประจำตัวที่เกี่ยวกับโรคอ้วนร่วมด้วย นอกจากนี้ลำพังเพียงการออกกำลังกายและควบคุมอาหารมักไม่สามารถลดน้ำหนักได้มากเพียงพอที่จะทำให้หายจากโรคประจำตัวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วนได้ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ โรคเข่าเสื่อม โรคไขมันในเลือดสูง โรคไขมันเกาะตับ เป็นต้น การผ่าตัดรักษาโรคอ้วน คืออะไร ?...

5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการผ่าตัดปอด

หลายคนรู้หรือไม่ว่าปอดของคนเรานั้นมีอยู่ 2 ข้าง แต่จะมีจำนวนกลีบปอดไม่เท่ากัน และอย่างที่เราทราบกันว่า ปอดนั้นมีหน้าที่หลัก คือไว้แลกเปลี่ยนของเสียโดยการขับคาร์บอนไดออกไซด์และนำเอาออกซิเจนเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อไปเลี้ยงทั้งร่างกาย โดยคนทั่วไปจะมีปอดทั้ง 2 ข้าง คือข้างซ้ายและข้างขวา โดยมีหัวใจขั้นอยู่ระหว่างทั้ง 2 ข้าง ซึ่งรู้หรือไม่ว่าปอดทั้ง 2 ข้างมีจำนวนไม่เท่ากัน ปอดข้างขวานั้นประกอบด้วย 3 กลีบ ส่วนข้างซ้ายมีแค่ 2 กลีบเท่านั้น โดยแต่ละกลีบนั้นจะประกอบด้วยถุงลมขนาดเล็ก ๆ ที่เรามองไม่เห็นมากกว่าหลายร้อยล้านถุง ที่คอยช่วยในการแลกเปลี่ยนออกซิเจนและขับของเสียจากกระแสเลือดไปสู่การหายใจออก ดังนั้นจึงขอฝากให้คนทั่วไปได้รู้จักกับ 5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการผ่าตัดปอด ดังนี้ 1.ทำไมผู้ป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายบางรายถึงไม่มีอาการ ทั้งนี้เนื่องจากร่างกายของเรามีถุงลมขนาดเล็กจำนวนมากที่ค่อยช่วยเหลือในการขับของเสีย ฉะนั้นเมื่อเกิดจุดหรือเซลล์มะเร็งปอดเกิดขึ้น ในช่วงเริ่มต้นอาจมีขนาดเพียงแค่ 1 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ปอด ซึ่งมีถุงลมจำนวนมากที่ยังคงทำหน้าที่ทดแทน ทำให้ผู้ป่วยไม่มีอาการใด ๆ ยกเว้นแต่ตัวเชื้อมะเร็งจะอยู่ชิดหลอดลมหรือเส้นเลือด กลุ่มนี้อาจแสดงอาการไอ หรือ มีอาการไอเป็นเลือดเกิดขึ้นได้ แต่เมื่อก้อนเนื้อมะเร็งเริ่มเติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงระดับที่ถุงลมภายในปอดทำงานช่วยไม่ไหว หรือมีน้ำท่วมปอด ที่ไปลดพื้นที่การทำงานของปอด เมื่อนั้นผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเหนื่อยหรือหายใจไม่อิ่ม  2.ถ้าหากเราผ่าตัดปอดไป เราจะยังหายใจได้หรือไม่ ซึ่งอย่างที่เราทราบกันว่า ธรรมชาตินั้นได้สร้างปอดขึ้นมาเผื่ออยู่แล้ว โดยคนปกติที่แข็งแรงนั้น สามารถใช้ปอดหลังจากการผ่าตัดปอดได้ 1 ข้างอย่างสบาย ๆ เลยทีเดียว  แต่อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่ต้องได้รับการผ่าตัดปอดนั้น ควรได้รับการประเมินสมรรถภาพปอดก่อนการผ่าตัด (Pulmonary function...

หมดกังวลกับโรคอกบุ๋ม

โรคอกบุ๋ม หรือเรียกว่า Pectus Excavatum (Funnel chest) เป็นความผิดรูปของผนังทรวงอกที่พบบ่อย ในคนทั่วไป ส่งผลทำให้บุคลิกภาพหรือความมั่นใจเสียไป โดยความผิดปกตินี้อาจพบได้ตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งเข้าสู่วัยรุ่น โดยโรคนี้เกิดจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของกระดูกอ่อนที่เชื่อมกับกระดูกหน้าอกและกระดูกซี่โครง ส่งผลทำให้หน้าอกเกิดการยุบตัว โดยผู้ป่วยมักไม่มีอาการ แต่ในกรณีที่ภาวะนี้มีความผิดปกติอย่างรุนแรง อาจส่งผลทำให้มีอาการกดเบียดหัวใจและปอดได้ ในบางรายอาจมีการกดเบียดลิ้นหัวใจทำให้ลิ้นหัวใจรั่วและมีอาการเหนื่อยง่าย บางรายอาจมีภาวะร่วมอย่างอื่นได้เช่นกระดูกสันหลังคด หรือภาวะจากยีนผิดปกติ เช่น Marfan syndrome ได้ ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย จากคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล กล่าวว่าโรคนี้ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด พบอัตราส่วนการเจ็บป่วย 1 ต่อ 1,000 คนและมักเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง 3-4 เท่าและอาจเจอกระดูกสันหลังคดร่วมด้วยวิธีการวินิจฉัยมักทำได้โดยการเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT chest) เพื่อดูสัดส่วนความกว้างยางของบริเวณทรวงอก หรือ ที่เรียกว่า Haller index  ถ้ามีอัตราส่วนมากกว่า 2.5 ถือว่ามีความผิดปกติ ปัจจุบันวิธีการรักษาโรคนี้ รักษาได้ทั้งผ่าตัด...

แพทย์และนักวิชาการห่วงกระแสเครื่องดื่มแนวใหม่ อินเทรนด์แต่ทำลายสุขภาพโดยไม่รู้ตัว

เช็คด่วน! น้ำตาล โซเดียมสูงเกิน แพทย์และนักวิชาการห่วงกระแสเครื่องดื่มแนวใหม่ อิ๊วโซดา โคล่าเติมเกลือ กาแฟเติมเกลือ ถึงแม้จะอินเทรนด์แต่ทำลายสุขภาพโดยไม่รู้ตัว เผยเครื่องดื่มเทรนด์ใหม่ ๆ ที่เป็นกระแสในโซเชียล ไม่ควรบริโภคเค็มเกินความพอดี  รศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็มกล่าวว่า เครื่องดื่มเทรนด์ใหม่ ๆ ที่เป็นกระแสในโซเชียลมีเดียในขณะนี้ อย่างเช่น อิ๊วโซดา โคล่าเติมเกลือ กาแฟเติมเกลือ ซึ่งเครื่องดื่มเหล่านี้มีโซเดียมสูงตั้งแต่ 200-600 มิลลิกรัมต่อแก้วทีเดียว คิดเป็น 10-30% ของความต้องการโซเดียมต่อวันของผู้บริโภค ซึ่งปัจจุบันคนไทยก็กินเกลือโซเดียมสูงเกินความต้องการของร่างกายเกือบ 200% จากการรับประทานอาหารในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว และนำไปสู่โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหัวใจ และอัมพาต มากกว่า 20 ล้านคนในไทย นอกจากนี้เครื่องดื่มเหล่านี้มักมีน้ำตาลสูง ยังนำไปสู่โรคอ้วน เบาหวาน ดังนั้นการดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้เป็นประจำ ย่อมมีผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว โดยเฉพาะเด็ก และวัยรุ่น...

หมดกังวลเมื่อต้องผ่าตัดปอด

ในภาวะปัจจุบันการบริหารจัดการเรื่องฝุ่นPM 2.5 เป็นปัญหามลภาวะเป็นพิษในระดับประเทศ ซึ่งประเด็นดังกล่าวเป็นปัญหาทางสังคมไม่ด้อยไปกว่าการสูบบุหรี่หรือสูบบุหรี่ไฟฟ้าเลย ส่งผลทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพ โดยเฉพาะมีผู้ป่วยป่วยเป็นภาวะโรคทางปอดเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากไม่ว่าจะเป็นโรคปอดติดเชื้อ ไอเรื้อรัง หอบหืดหรือมะเร็งปอด พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นและส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยโรคปอดต้องได้รับการผ่าตัดเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย  สำหรับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดปอด มักเกิดความวิตกกังวลว่าจะหายใจได้มั้ย ปอดจะสร้างใหม่ได้หรือไม่และแผลที่ผ่าตัดจะเจ็บมากมั้ย ซึ่งในปัจจุบันวิธีการผ่าตัดปอดสามารถทำได้ด้วยการผ่าตัดผ่านกล้อง ทำให้แผลมีขนาดเล็กมากและสามารถลดผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นไม่ต้องกังวลกับการผ่าตัดอีกต่อไป โดยก้อนในปอดหรือจุดที่ปอดเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยจากการตรวจเช็คสุขภาพร่างกาย เนื่องจากปอดมีเนื้อที่ขนาดใหญ่ ดังนั้นเวลาเกิดจุดเล็ก ๆ หรือใหญ่ขึ้นมา ผู้ป่วยมักจะไม่มีการแสดงอาการ โดยจุดที่ปอดนั้นอาจเป็นได้ทั้งเนื้องอกชนิดที่ไม่เป็นมะเร็งและเป็นมะเร็งปอด หรือโรค วัณโรค ซึ่งหลักการพิจารณาผ่าตัดปอดเป็นหนึ่งในการรักษาและสามารถวินิจฉัยโรคได้ โดยการผ่าตัดปอด ผู้ป่วยจะได้รับการผ่าตัดก้อนออกโดยการดมยาสลบ โดยวิธีการผ่าตัดปอดนั้นจะตัดออกแค่ก้อนหรือทั้งกลีบ ขึ้นกับชนิดของก้อนเนื้อและตัวโรคตามดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา ความเสี่ยงของการผ่าตัดปอดเมื่อผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการผ่าตัดปอดคำถามที่ถูกถามเสมอคือความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการผ่าตัดโดยความเชื่อที่ว่าหลังจากผ่าแล้วจะจะหายใจได้หรือไม่ สาเหตุเนื่องจากปอดเป็นอวัยวะสำคัญหลักที่ทำหน้าที่หายใจ โดยปอดประกอบด้วยถุงลมปริมาณหลายล้านถุงลม การที่เราตัดปอดบางส่วนมักไม่มีผลกระทบต่อการหายใจ แต่อย่างไรก็ตามก่อนผ่าตัดทุกครั้งควรต้องมีการประเมินสมรรถภาพปอด (Pulmonary function test) เพื่อทดสอบว่าเราสามารถทนการตัดปอดได้มากน้อยขนาดไหน สำหรับภาวะแทรกซ้อนอื่น เช่น ภาวะเลือดออกจากแผลผ่าตัด...

สัญญาณเตือนภัย โรคระบบทางเดินปัสสาวะอาการแบบไหนเสี่ยงมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ควรพบแพทย์ด่วน

โรคในระบบทางเดินปัสสาวะ สามารถแสดงอาการออกมาได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นปัสสาวะแสบขัด กระปริบกระปรอย ปวดท้องน้อย ซึ่งหลายคนคงไม่รีรอที่จะไปพบแพทย์เพื่อหาแนวทางในการรักษา แต่ที่น่าห่วงคือ บางคนมีอาการปัสสาวะปนเลือดเพียงครั้งเดียวแล้วหายไป โดยไม่รู้สึกเจ็บปวด แสบ หรือไม่มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ทำให้ชะล่าใจคิดว่าไม่เป็นอันตราย แต่รู้หรือไม่ว่า นั่นอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงการเจ็บป่วยของโรคร้ายแรงอย่าง "มะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ" กว่าจะมาตรวจพบว่าเป็นโรคร้าย ปัญหาก็ลุกลามไปมากแล้ว นายแพทย์วรพงษ์ เลิศวีระศิริกุล ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ศูนย์ศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง อธิบายถึงกลุ่มอาการของโรคในระบบทางเดินปัสสาวะที่พบได้บ่อยให้ทราบว่ามี 4 กลุ่มคือการอักเสบ เกิดจากมีเชื้อโรคเข้าไปในระบบทางเดินปัสสาวะ มักทำให้เกิดอาการปวดหน่วงที่ท้องน้อย ปัสสาวะไม่สุด...

การรักษาโรคอ้วนด้วยวิธีการผ่าตัด

โรคอ้วน คืออะไร ? โรคอ้วน คือ ภาวะที่ร่างกายมีไขมันสะสมมากผิดปกติ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันพอกตับ โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ โรคเส้นเลือดหัวใจหรือสมองตีบตัน โรคกรดไหลย้อน กระดูกสันหลังหรือกระดูกเข่าเสื่อม เป็นต้น นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่อีกด้วย และปัจจุบันจากข้อมูลของสำนักงานส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ พบว่า มีคนไทยมีโรคอ้วน มากกว่า 20.8 ล้านคน ซึ่งส่งผลเสียต่อระบบสุขภาพของประเทศเป็นอย่างมาก จากข้อมูลโรคร่วมที่เกิดขึ้นจากภาวะโรคอ้วน ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการป้องกันและรักษาโรคอ้วนได้อย่างชัดเจน แต่การรักษาด้วยการใช้ยา  การออกกำลังกายหรือการรับประทานอาหารที่มีพลังงานต่ำ สามารถลดน้ำหนักได้ แต่ไม่สามารถรักษาหรือคงน้ำหนักให้ผู้ป่วยได้ตลอด ผู้ป่วยมักจะมีน้ำหนักตัวกลับมาเพิ่มขึ้นได้ จึงได้มีการรักษาด้วยการผ่าตัดขึ้น ซึ่งสามารถลดน้ำหนักได้มากกว่าละมีผลสามารถคงน้ำหนักได้เป็นระยะเวลานานมากกว่า 7-10 ปีขึ้นไป ในผู้ป่วยมีดัชนีมวลกายไม่มาก สามารถพิจารณาลดน้ำหนักโดยการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายได้ แต่หากผู้ป่วยมีดัชนีมวลกายที่สูงมากมักมีข้อจำกัดในการออกกำลังกายเนื่องจากมีโรคประจำตัวที่เกี่ยวกับโรคอ้วนร่วมด้วย นอกจากนี้ลำพังเพียงการออกกำลังกายและควบคุมอาหารมักไม่สามารถลดน้ำหนักได้มากเพียงพอที่จะทำให้หายจากโรคประจำตัวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน เช่น โรคเบาหวาน...

จักษุแพทย์แว่นท็อปเจริญ แนะช่วงฤดูร้อนระวังโรคลมแดดแล้ว ยังเสี่ยงกลุ่มโรคทางตาด้วย

เข้าสู่เดือนเมษายน อุณหภูมิอากาศในประเทศไทยยังคงร้อนถึงร้อนจัดในหลายพื้นที่ นอกจาก “โรคลมแดด หรือ Heat Stroke” ที่ทุกคนจะต้องพึงระวังแล้ว นายแพทย์นพวุฒิ ตรีพรชัยศักดิ์ จักษุแพทย์แห่ง “แว่นท็อปเจริญ” ได้เผยถึงปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มโรคทางตาที่สามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงฤดูร้อน (Summer Eye Problems - SEP) ดังนี้ อาการตาแห้ง เป็นภาวะที่ปริมาณน้ำตาไม่เพียงพอที่จะหล่อเลี้ยงให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวตา อากาศที่ร้อนจัดและแสงแดดจ้าอาจทำให้เกิดการระเหยน้ำตามากขึ้น ส่งผลให้คุณภาพของฟิล์มน้ำตาลดลง นอกจากนี้ พฤติกรรมการใช้สายตากับมือถือและอุปกรณ์ดิจิทัลมากเกินไป ก็ส่งผลให้เกิดอาการตาแห้งได้เช่นกัน ภูมิแพ้ขึ้นตา สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาทิ การเปลี่ยนแปลงของอากาศ สารภูมิแพ้ ฝุ่น ละอองเกสรดอกไม้ สามารถส่งผลให้เกิดอาการคันบริเวณดวงตาและตาแดงได้ ภาวะกระจกตาอักเสบ รังสี UV จากแสงแดดในช่วงกลางวัน อาจส่งผลทำให้กระจกตาดำอักเสบ (Photokeratitis) โดยจะมีอาการปวดหรือไม่สบายตา ซึ่งหากเกิดขึ้นต่อเนื่องในระยะยาว อาจพบต้อกระจกหรือจอตาเสื่อมได้ อาการตาแดง ในฤดูร้อนมักพบโรคตาแดงที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือปริมาณเชื้อราที่เกิดขึ้นจากเหงื่อไคลที่ติดอยู่ตามเสื้อผ้าหรือผ้าเช็ดหน้า...

เตือนภัยสุขภาพของอิ๊วโซดาที่เผยแพร่ทางโซเชียลมีเดีย

จากผลทางสุขภาพของอิ๊วโซดาที่เผยแพร่ทางโซเชียลมีเดีย จากการเชิญชวนให้ผู้บริโภคดื่มซีอิ๊วดำสูตร 1 ผสมกับโซดาหรือเครื่องดื่มอื่น ๆ โดยผสมซีอิ๊ว 3 ช้อนโต๊ะ กับโซดา 1 แก้วหรือเครื่องดื่ม 1 แก้ว นั้นทางเครือข่ายลดบริโภคเค็มได้ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรโดย ศ.เกียรติคุณ พญ.วรรณี นิธิยานันท์ สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย-สมาคมเครือข่ายโรคไม่ติดต่อไทย และเครือข่ายคนไทยไร้พุง ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย , ดร.นพ.ไพโรจน์  เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะสสส., ทพญ.ปิยะดา ประเสริฐสม อดีตทันตแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านทันตสาธารณสุข) กรมอนามัย และเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน ,อ.จงกลนี วิทยารุ่งเรืองศรีผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. ผู้จัดการโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส สถาบันสร้างเสริมวิถีบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ร่วมกันแสดงให้ความเห็นในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ 1)ซีอิ้วดำ 3 ช้อนโต๊ะ ให้โซเดียมเท่าไร  ซีอิ๊วดำ 3ช้อนโต๊ะมีโซเดียม ประมาณ 650มิลลิกรัมเท่ากับปริมาณโซเดียมที่ควรได้รับตามคำแนะนำต่อ  อาหาร 1 มื้อ (ดังตาราง) และน้ำตาล 24 กรัมเท่ากับปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน และถ้าผสมกับเครื่องดื่มรสหวานหรือโซดาจะได้โซเดียมเพิ่มไปอีกเป็น 708-763 มิลลิกรัม และจะทำให้ได้รับน้ำตาลสูงขึ้นไปอีก 2)ถ้าดื่มเป็นประจำจะเกิดผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร ถ้าดื่มเครื่องดื่มนี้ที่มีทั้งรสชาติหวานและเค็มมากเป็นประจำ จะทำให้เสี่ยงต่อโรคอ้วน เบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งนำไปสู่โรคไต โรคหัวใจและอัมพาตได้ในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีโรคประจำตัว เช่นเบาหวานความดันโลหิตสูง...
Social profiles