วช.หนุนนักวิจัย มทร.อีสานพัฒนาเตียงผู้ป่วยติดเตียง – สูงวัยสู้แผลกดทับสู่อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์

Read Time:2 Minute, 7 Second

รศ.ดร.ศักดิ์ระวี ระวีกุล นักวิจัยสาขาวิศกรรมไฟฟ้า ด้านระบบควบคุมไฟฟ้าและ นวัตกรรมการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.)อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น เปิดเผยว่า ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) เรื่อง “การพัฒนาต่อยอดระบบ software smart bed ควบคุมเตียงพลิกตะแคงและเบาะเจลยางพาราป้องกันแผลกดทับ Doctor N Medigel เพื่อให้ได้มาตรฐานเครื่องมือแพทย์ระดับสากล สำหรับใช้งานในหอผู้ป่วยวิกฤตโควิด-19” ซึ่งเตียงผู้ป่วยติดเตียงผู้สูงวัยที่ต้องนอนเตียงเป็นเวลานาน ๆ เกิดผลข้างเคียงอันเนื่องจากผิวหนังถูกกดทับเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง บริเวณที่ถูกกดทับ มีการตายของเนื้อเยื่อซึ่งแรงกดมากกว่า 20 มิลลิเมตรปรอท เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ถึง 4 ชั่วโมง ทำให้มีปัจจัยต่อการเกิดแผลกดทับ การเกิดแผลกดทับจะส่งผลให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมาน และส่งผลกระทบต่อทางด้านจิตใจของผู้ป่วยด้วย ดังนั้น จึงมีแนวคิดที่จะวิจัยพัฒนาต่อยอดงานวิจัยนี้ เป็นทางเลือกให้กับภาคอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือแพทย์ในประเทศได้พัฒนาขยายโอกาสทางธุรกิจเพิ่มช่องทางการแข่งขันทางการตลาดให้หลากหลาย และลดภาระบุคลากรทางการแพทย์ในการดูแลป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้สูงวัยและผู้ป่วยติดเตียง ร่วมถึงปัญหาการระบาดของโควิด -19 ซึ่งในจำนวนที่เกิดการระบาดนี้จะมีผู้ป่วยปอดอักเสบที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจและการช่วยหายใจในท่าคว่ำจึงจะช่วยให้สามารถคงค่าออกซิเจนในเลือดของผู้ป่วยได้ ซึ่งการจะพลิกคว่ำเปลี่ยนท่าผู้ป่วยเหล่านี้จะต้องใช้พยาบาลหลายคนในการเปลี่ยนท่าผู้ป่วย แต่หากใช้เตียงพลิกตะแคงและ software นี้จะช่วยผ่อนแรงพยาบาลได้ และสามารถควบคุมการเปลี่ยนท่าจาก software central control ได้ ทำให้พยาบาลไม่ต้องเข้าไปเสี่ยงใกล้ชิดผู้ป่วยที่ติดเชื้อมากเกินไป

รศ.ดร.ศักดิ์ระวี กล่าวต่อว่า แต่การจะนำเตียงและ software นี้ใช้ในหอผู้ป่วยวิกฤตได้นั้นจำเป็นที่จะต้องผ่านมาตรฐานเครื่องมือแพทย์ เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานขั้นสูงสุด เตียงผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้นสามารถส่งข้อมูล และ รับข้อมูลผ่านแอพพลิเคชัน ทำให้การเข้าถึงการควบคุมช่วยเหลือ ผู้ป่วย ผู้สูงวัยทำได้รวดเร็ว เช่น การกำหนดเวลาการปรับท่าทางการนอน การเปลี่ยนตำแหน่งจุดกดทับ การปรับให้ผู้ป่วยในท่าทางการรักษาที่เหมาะสม การกำหนดเวลาล่วงหน้า การพาผู้ป่วยผู้สูงวัยทำกายภาพบำบัด ในส่วนต่างๆที่มีความละเอียดอ่อน นวัตกรรมระบบควบคุมนี้ ได้รับจดทรัพย์สินทางปัญญา และ ผ่านการทดสอบมาตรฐาน ซอฟต์แวร์ ทางการแพทย์ ทำให้มั่นใจได้ว่าปลอดภัยกับผู้ใช้งานและ ผู้ปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี

Previous post ผลิตภัณฑ์ทรายแมว เพิ่มมูลค่า มันสำปะหลัง สร้างทางรอดให้เกษตรกร รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ
Next post วช.ให้ทุนสร้าง “หุ่นยนต์ปิ่นโต 2” สื่อสารระหว่างแพทย์กับคนป่วย จำนวน 80 ตัวมอบให้โรงพยาบาลทั่วประเทศ
Social profiles