ม.ศรีปทุมฯ ชูหลักสูตร Design Innovation มุ่งสร้าง Talent อุดม Design Thinking ตอบโจทย์ตลาดแรงงาน

Read Time:5 Minute, 51 Second

มหาวิทยาลัยศรีปทุมเปลี่ยนชื่อคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ใหม่เป็น “คณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์” มุ่งสร้างบัณฑิต Talentตอบโจทย์อุตสาหกรรมในอนาคตที่มีความหลากหลาย และปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว มีจุดแข็งในกระบวนการคิด และการออกแบบที่ใช้ Design Thinking ตอบโจทย์ความต้องการตลาดแรงงานทั้งในและต่างประเทศ เผยทักษะ ด้านดีไซน์ คือรากฐานสำคัญในการทำงาน คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่เพื่อก้าวข้ามทุกวิกฤตและการเปลี่ยนแปลง ชี้ชัดธุรกิจและองค์กรที่ก้าวข้ามวิกฤติดิจิทัลดิสรัปชั่น โควิดดิสรัปชั่น ล้วนมีบุคลากรหรือหน่วยงาน ที่มีนักนวัตกรรมการออกแบบที่มีพื้นฐานของ Design Thinking เป็นแรงขับเคลื่อน ชูจุดเด่นหลักสูตรใหม่ปี 2566 นวัตกรรมการออกแบบ Design Innovation ผสานองค์ความรู้ที่สำคัญและจำเป็นครบทุกมิติ ความเข้าใจมนุษย์ การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ด้านการออกแบบ การบริหารและจัดการด้านการตลาด สอนครบทั้งการดีไซน์ Product, Process, Service Design, Business Model เรียน 3 ปี ทำงานร่วมกับธุรกิจ และอุตสาหกรรมจริง 1 ปี การันตรี จบพร้อมเป็น Talent ขององค์กร และธุรกิจ หรือเป็นสตาร์ทอัพ สร้างธุรกิจส่วนตัว ตั้งเป้าสร้างบุคลากรตามนโยบายรัฐบาล สร้างคนให้ตรงกับงานตอบโจทย์ความต้องการทุกอุตสาหกรรม รับเทรนด์ Creative Economy ที่มีทิศทางเติบโตในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง

อาจารย์ธีรบูลย์ พิศาลอภิพงศ์ คณบดีคณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เผยว่า การเปลี่ยนเป็นชื่อ คณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์ แทนชื่อเดิมคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และมาพร้อมหลักสูตรใหม่ Design Innovation ด้วยจุดแข็งในการมุ่งสร้าง Talent ผ่านการปลูกฝังรากฐาน Design Thinking ทักษะด้านการออกแบบ ที่มาพร้อมความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยี รวมถึงความสามารถในการบริหารจัดการ เพื่อปรับเปลี่ยน เพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้เท่าทันโลก พร้อมช่วยเพิ่มมูลค่าธุรกิจ ตอบโจทย์ทั้งกลุ่มธุรกิจส่วนตัว ธุรกิจสตาร์ทอัพขนาดเล็ก ตลอดจนองค์กรขนาดใหญ่ โดยตลาดแรงงานในยุค Creative Economy ทั้งในและต่างประเทศ มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และมีวิกฤตหลากหลายรูปแบบเข้ามาดิสรัปชั่น ส่งผลให้หลายธุรกิจเผชิญกับความท้าทายอยู่ตลอดเวลา และจะรวดเร็วขึ้นเรื่อย ๆ จนธุรกิจที่ไม่สามารถคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ทางธุรกิจของตนเองได้ อาจจะไปต่อได้ยากในระยะเวลาอันสั้นนี้ในยุคดิจิทัลดิสรัปชั่น และยุคโควิดดิสรัปชั่นหลายธุรกิจล้มและปิดกิจการไปจำนวนมากเพราะไม่สามารถปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงได้ ในขณะที่มีบางธุรกิจสามารถปรับตัวเติบโตและอยู่รอดได้ จากการศึกษาข้อมูลและทำงานกับหลายอุตสาหกรรมพบว่า ธุรกิจหรือองค์กรที่ปรับตัวได้ล้วนมีคนหรือหน่วยงานด้าน Design thinking 

นอกจากนี้ ยังพบว่ากลุ่มโมเดลธุรกิจคนรุ่นใหม่อย่างสตาร์ทอัพที่เน้นการเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยแกนหลักบนโมเดลธุรกิจก็ล้วนมาจากรากฐานของ Design thinking ที่ผ่านการศึกษาพฤติกรรม วิเคราะห์ ความเข้าใจคน สู่การดีไซน์แผนธุรกิจ ผสมผสานกับนวัตกรรม เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ที่แตกต่างและตอบโจทย์ความต้องการของยุคสมัย เพราะโจทย์หลักของสตาร์ทอัพคือการค้นหาโซลูชันใหม่ ๆ ของธุรกิจ หรือเพื่อแก้ Pain point ของคนที่มองหาโซลูชัน ทั้งนี้ ด้วยโมเดลธุรกิจดังกล่าวที่สำเร็จ และก้าวข้ามทุกวิกฤติมาได้ จะเห็นได้ชัดว่าโครงสร้างหลังบ้านขององค์กรธุรกิจล้วนมาจากบุคลากรที่มีรากฐานทักษะการออกแบบเชิงความคิด หรือ Design Thinkingสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ปรับทิศทางธุรกิจเท่าทันโลก และความต้องการตลาด สู่การขับเคลื่อนองค์กรก้าวข้ามทุกวิกฤตและการเปลี่ยนแปลง 

ปัจจับันหลายธุรกิจเล็งเห็นและให้ความสำคัญในการเฟ้นหาบุคลากรที่มีกระบวนการคิดในแบบ Design Thinking เข้ามาทำงานด้วยมากขึ้น ส่งผลแนวโน้มตลาดแรงงานมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังคาดการณ์ว่าบทบาทของ Creative Economy จะกระตุ้นให้อาชีพ Design Innovator ขยับขึ้นเป็นตำแหน่งสำคัญบนโครงสร้างหลักของทุกองค์กรที่จำเป็นไม่ต่างจากอาชีพนักบัญชี และนักกฎหมายในอดีต เพื่อขานรับการปรับตัวธุรกิจยุคใหม่ที่ต้องการบุคลากรที่คิดสร้างสรรค์ คิดเร็ว ทำไว พลิกแพลงวิกฤตเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ขับเคลื่อนธุรกิจข้ามผ่านวิกฤตในระยะที่รวดเร็ว 6-12เดือน ช่วงชิงโอกาสทางการตลาดท่ามกลางกระแสเปลี่ยนแปลงโลก และการแข่งขันในตลาด จากเดิมที่ต้องอาศัยระยะเวลาพลิกฟื้น 3-5 ปี

อย่างไรก็ดีหลักสูตรนี้ จึงมุ่งสร้าง Talent ให้นิสิตนักศึกษามีความโดดเด่นในทักษะรอบด้าน ทั้งศาสตร์และศิลป์ในกระบวนการทางความคิด ผ่านการฝังรากฐาน Design Thinking ทักษะด้านการออกแบบเชิงความคิดสร้างสรรค์การปรับเปลี่ยน พร้อมก้าวสู่การทำธุรกิจส่วนตัว หรือการเป็นมันสมองส่วนสำคัญให้องค์กร ด้วยการผสานองค์ความรู้ ศาสตร์ 4 ด้านที่สำคัญและจำเป็นครบทุกมิติ ประกอบด้วย 1. Design Creative สร้างสรรค์โมเดลธุรกิจให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงโลก 2. Humanity ความเข้าใจเรื่องคน สร้างความพึงพอใจ เจาะเข้าถึงพฤติกรรมผู้บริโภคในตลาด 3Technology Innovation การใช้เครื่องมือเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มโอกาสธุรกิจ สอดรับทิศทางตลาด และนวัตกรรมใหม่ ๆ 4. Marketing Managementการบริหารกลยุทธ์เชิงการตลาด พร้อมเจาะลึกถึงกระบวนการตั้งต้น ผ่านแนวคิดการออกแบบตั้งแต่เรื่องของ Product จุดเด่นผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์เทรนด์ผู้บริโภคในแต่ละยุคที่เปลี่ยนแปลงไป ถัดมาเป็นเรื่องของ Process กระบวนการต่างๆที่ส่งเสริม และตัดทอนขั้นตอนต่างๆที่ไม่จำเป็นของธุรกิจ จนไปถึงกระบวนการเพื่อสร้างสินค้า ผลิตภัณฑ์ ประสบการณ์ใหม่ ๆ Service design การดีไซน์รูปแบบด้านบริการต่าง ๆ ที่ตอบโจทย์ธุรกิจที่เน้นเรื่องการให้บริการ และสร้างความประทับใจ และจดจำไม่รู้ลืม จนเกิดการมาใช้ซ้ำ ๆ และสุดท้ายคือเรื่อง Business Model การดีไซน์รูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ พร้อมกำหนดทิศทางกลยุทธ์ให้ตอบโจทย์ตลาดอย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้ ด้านระยะเวลาตามหลักสูตร คณะการออกแบบ และสถาปัตยกรรมศาสตร์ แบ่งเป็น 2 ช่วงคือการเน้นการศึกษาด้านแนวคิด กลยุทธ์ ทิศทาง และฝึกปฎิบัติในรูปแบบสตูดิโอดีไซน์ 3 ปี และเรียนรู้ฝึกฝน กับภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรมหลากหลายประเภทตามความสนใจ เพื่อสร้างประสบการณ์ทำงานจริง 1 ปี พร้อมนำ Talent ด้าน Design Thinking สู่การพัฒนา และขับเคลื่อนองค์กร และธุรกิจ หรือเป็นสตาร์ทอัพ หรือสร้างธุรกิจเป็นของตัวเอง ก้าวทันความต้องการตลาดแรงงาน ยกระดับอุตสาหกรรมไทยเท่าทันโลก ตอบโจทย์ได้กับทุกธุรกิจแบบไร้ข้อจำกัด โดยตั้งเป้าสร้าง Talent สร้างคนให้ตรงกับงาน รับเทรนด์ Creative Economy โดยมุ่งป้อนบุคลากรสู่ตลาดไทยและภูมิภาคปีละ 80-120 คน รับเทรนด์ Creative Economy ที่มีทิศทางเติบโตในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง

Previous post เชิญชวนผู้ที่มีแนวคิดและสนใจธุรกิจสื่อเชิงปลอดภัย, สร้างสรรค์ สมัครเข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้ประกอบการสื่อรายใหม่ ชิงเงินลงทุนมูลค่ารวมกว่า 1,000,000 บาท
Next post ‘วิฟสกิน’จัดงานเฉลิมฉลองยิ่งใหญ่ ‘VIV SKIN GRAND CELEBRATION 2023’ ตั้งเป้าสู่NO.1 เครื่องสำอางสมุนไพรไทยด้วยนวัตกรรมระดับสากลที่มีการเติบโตขึ้น 2 เท่า
Social profiles