เปิดประตูสู่ AEC สานสัมพันธ์ไมตรีไทย-กัมพูชา จากจันทบุรี สู่เมืองพระตะบอง

Read Time:8 Minute, 4 Second

การเกิดของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือที่มีชื่อย่อว่า “AEC” ซึ่งจะมีผลบังคับใช้จริงตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมพ.ศ  2559 ที่ถึงนี้  ทำให้บรรดาเหล่าสมาชิกอาเชี่ยนมีทั้งหมด 10 ประเทศซึ่งประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนใกล้ชิดติดกับประเทศไทย อาทิเช่น พม่า, ลาว และกัมพูชา ต่างก็ได้ทำการปรับปรุงถนนหนทางเชื่อมโยงเข้าหากันเพื่อขยายธุรกิจการลงทุน, การขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยว โดยเฉพาะในเรื่องของการท่องเที่ยว อย่างเช่น เส้นทางจากจังหวัดจันทบุรีผ่านด่านบ้านผักกาดเข้าสู่เมืองไพลินและพระตะบองในประเทศกัมพูชา

ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและด้วยเหตุนี้ผมจึงได้รับการเชิญชวนจาก กองการตลาดของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยภูมิภาคภาคตะวันออกและคุณกนกกิตติกา กฤตย์วุฒิกร ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานระยอง(ระยอง-จันทบุรี)ให้เดินทางลงไปสำรวจแหล่งท่องเที่ยวบนเส้นทางสายนี้โดยเริ่มต้นออกเดินทางจากกรุงเทพฯ สู่จังหวัดจันทบุรี ภาคตะวันออกของประเทศไทยแวะสักการะ ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดจันทบุรีเป็นอาคารรูปทรงเก้าเหลี่ยมหลังคาเป็นรูปพระมาลาหรือหมวกยอดแหลม  ภายในประดิษฐานพระบรมรูปของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในแต่ละวันมีชาวจันท์และนักท่องเที่ยว เดินทางมากราบไหว้สักการะเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง จากนั้นเดินทางไปเยี่ยมชม อู่ต่อเรือเสม็ดงามตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองจันทบุรีประมาณ 11 กม.สันนิษฐานว่าเป็นสถานที่ซึ่งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ใช้เป็นอู่ต่อเรือ เมื่อครั้งเตรียมยกทัพไปตีพม่าเพื่อกู้เอกราชชาติไทยเมื่อ พ.ศ.2310 ตามพงศาวดารธนบุรีระบุว่าก่อนที่พระเจ้าตากจะยกทัพไปตีพม่า ได้มีการต่อเรือประมาณ100 ลำที่เมืองจันท์ บริเวณวัดเสม็ดงามที่อยู่ไม่ไกลพบตอไม้ตะเคียนทองจำนวนมาก และยังได้มีคำบอกเล่าว่า มีคลองที่ขุดเพื่อที่จะใช้ลำเลียงซุงไม้ตะเคียนมายังอู่ต่อเรือแห่งนี้ จึงสันนิษฐานกันว่าบริเวณนี้เคยเป็นอู่ต่อเรือของพระเจ้ามาก่อน 

25จากนั้นเดินทางต่อไปยังวังสวนบ้านแก้วและพิพิธภัณฑ์วังสวนบ้านแก้ว ตั้งอยู่เลขที่ 41  หมู่5 ตำบลท่าช้าง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ในสมัยก่อนเคยใช้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7  ซึ่งประกอบไปด้วยตำหนักและอาคารหลายหลัง ปัจจุบันวังสวนบ้านแก้ว อยู่ในความดูแลของมหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี และเปิดเป็นแหล่งเรียนรู้ทางการศึกษาให้แก่ประชาชนโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ต่อจากนั้นเราแวะมาท่องเที่ยวกันที่ชุมชนริมน้ำจันทบูรเป็นชุมชนริมน้ำเก่าแก่อายุกว่า 300 ปี ประกอบไปด้วยประชากร 3 เชื้อสายได้แก่ ไทย , ญวน และ จีน ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ชุมชนริมน้ำจันทบูรเริ่มก่อตั้งตั้งแต่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงย้ายเมืองมาจากบ้านหัววัง ต.พุงทลาย (ปัจจุบันเป็น ต.จันทนิมิต จ.จันทบุรี) มายังเมืองจันทบูรริมฝั่งแม่น้ำชุมชนขยายไปจนถึงย่านท่าสิงห์ ย่านท่าหลวง เนื่องจากบริเวณนี้อยู่บนเนิน น้ำไม่ท่วม อุดมสมบูรณ์ อยู่ติดแม่น้ำ สามารถออกสู่ทะเลได้ และยังปลอดภัยจากข้าศึก ศัตรู ในสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินก็ใช้เมืองจันทบุรีรวบรวมกำลังพล กอบกู้กรุงศรีอยุธยาจากพม่าเมื่อ 100 กว่าปีที่แล้ว ช่วงสมัยรัชการที่ 5 (พระบาทสมเด็จพระDSC_7378จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ย่านท่าหลวง ใกล้กับชุมชนริมน้ำจันทบูร มีความเจริญเป็นอย่างมาก มีถนนสายแรกตัดผ่าน คือ ถนนสุขาภิบาล ถนนเลียบแม่น้ำจันทบุรี บริเวณนี้เป็นศูนย์กลางการค้าขาย และศูนย์การคมนาคมทั้งทางรถ และ ทางเรือที่ตั้งของชุมชนริมน้ำจันทบูรเริ่มจากถนนท่าหลวง ไปทางถนนสุขาภิบาลทั้งเส้นริมสองฝั่งแม่น้ำ ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตรบริเวณนี้ มีบ้านเรือนเก่าโบสถ์คริสต์, วัด, ศาลเจ้าจีน, ตลาดพลอย, ร้านขายอาหาร, ขนมไทยแบบดั้งเดิม ซึ่งนับวันจะหาด้านนอกของอาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมลชมได้ยากจากนั้นจึงออกเดินเท้าข้ามสะพานแม่น้ำจันทบุรีมายังโบสถ์วัดโรมันคาทอลิก อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล มีแม่น้ำจันทบุรีไหลผ่านบริเวณด้านหน้า เป็นโบสถ์ที่มีประวัติการก่อสร้างยาวนานถึง 100 ปี ครั้งแรกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2254 บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรี โดยคุณพ่อเฮิ้ต โตแลนติโน และบรรดาคาทอลิกชาวญวน จนถึงปี พ.ศ. 2377  ได้มีการย้ายมาสร้างบนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำจันทบุรีอันเป็นสถานที่ตั้งในปัจจุบัน โดยมิได้มีการบันทึกถึงสาเหตุของการย้ายแต่ประการใด และในปี พ.ศ. 2446 ได้ก่อสร้างโบสถ์หลังปัจจุบันขึ้นให้มีขนาดใหญ่กว่าหลังเก่า เพื่อรองรับกับจำนวนคริสตศาสนิกชนที่เพิ่มมากขึ้น ลักษณะการก่อสร้างมีลักษณะรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกซึ่งเรียกว่า “ศิลปะแบบโกธิค”  ตัวอาคารยาว 60 เมตร กว้าง 20 เมตร มีหอแหลมสูงเด่นในตอนเริ่มแรกสร้างทั้งสองด้าน ต่อมาปี ค.ศ. 1940 (พ.ศ. 2483) ทางการสั่งให้รื้อออก เพราะเกรงว่าจะเป็นเป้าของระเบิดทางอากาศในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2  หอสูงด้านขวามีนาฬิกาเรือนใหญ่ติดตั้งอยู่ เส้นรอบหน้าปัดวัดได้ 4.70 เมตร จากหอสูงนี้สามารถมองเห็นทัศนียภาพของเมืองจันทบุรีได้ไกลประมาณ 2 กิโลเมตร

137จากนั้นในวันรุ่งขึ้นจึงออกเดินทางจากจังหวัดจันทบุรีเข้าสู่เมืองพระตะบองในประเทศกัมพูชาโดยเริ่มต้นกันที่จุดผ่านแดนถาวรบ้านช่องผักกาดในจังหวัดจันทบุรีเปิดทำการตั้งแต่เวลา 07.00 – 16.00 น. เป็นตลาดการค้าชายแดนจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค สำหรับจุดผ่านแดนบ้านช่องผักกาดแห่งนี้ มีระยะทางห่างจากกรุงไพลินในประเทศกัมพูชาเพียง 17 กิโลเมตร ซึ่งใกล้กว่าจุดผ่านแดนอื่นๆ จากกรุงไพลิน ออกเดินทางสู่เมืองพระตะบองระยะทางห่างจากด่านบ้านผักกาดชายแดนไทย-กัมพูชา 90 กิโลเมตร เมืองพระตะบองเป็นเมืองเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศกัมพูชา และเป็นเมืองใหญ่อันดับสองรองจากกรุงพนมเปญนอกจากนี้ยังเป็นแหล่งปลูกข้าวชั้นนำของประเทศกัมพูชาอีกด้วย โดยตัวเมืองพระตะบองตั้งอยู่ริมแม่น้ำสังแกหรือสตึงสังแก (Sangkae River) อาคารบ้านเรือนภายในเมืองพระตะบองเป็นสถาปัตยกรรมในยุคอาณานิคมหรือสไตล์โคโลเนียลฝรั่งเศส ปัจจุบันยังคงได้รับการบำรุงรักษาไว้เป็นอย่างดี

สำหรับในจังหวัดพระตะบองมี แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายแห่ง อาทิเช่น ศาลากลางเมืองพระตะบอง เป็นอาคารที่มีเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมที่มีความโดดเด่นเป็นอย่างมากตัวตึกหันหน้าไปทางทิศตะวันออกบนถนนหมายเลข 5  สู่กรุงพนมเปญเมืองหลวงของประเทศกัมพูชา นอกจากนี้ศาลากลางเมืองพระตะบองหลังนี้ยังเป็นตึกต้นแบบของตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ปัจจุบันตั้งอยู่ภายในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาเจ้าพระยาอภัยภูเบศร(ชุ่ม อภัยวงศ์)เคยดำรงตำแหน่งเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลบูรพา ปกครองเมืองพระตะบองได้นำแบบของศาลากลางเมืองพระตะบองมาสร้างเป็นศาลากลางจังหวัดปราจีนบุรี เมื่อครั้งอพยพครอบครัวกลับมาตั้งรกรากอยู่ที่จังหวัด ปราจีนบุรี ภายหลังจากที่สยามประเทศคืนเมืองพระตะบองให้กลับไปอยู่ในการปกครองของกัมพูชาเมื่อปีพ.ศ 2449 ปัจจุบันกระทรวงวัฒนธรรมของกัมพูชาได้ทำการบูรณะซ่อมแซมศาลากลางเมืองพระตะบองแห่งนี้จนแลดูสวยงามขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก ถ้ามีโอกาสเดินทางไปเมืองพระตะบองควรหาเวลาเดินทางไปเที่ยวชมเป็นอย่างยิ่ง

 ต่อมาขอแนะนำให้คุณเดินทางไปเยือน “วงเวียนพญาตะบองขยุง เป็นรูปปั้นพญาตะบองขยุงถือกระบองตั้งอยู่บริเวณวงเวียนใจกลางเมืองพระตะบอง ปัจจุบันรูปปั้นพญาตะบองขยุงแห่งนี้ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ประจำเมืองพระตะบองมาจนถึงทุกวันนี้

หลังจากนั้นขอแนะนำให้คุณไปเยือน “วัดดำเรยซอ” หรือ “วัดช้างเผือก” อีกวัดหนึ่งที่มีความเก่าแก่มากแห่งหนึ่งของเมืองพระตะบองโดยวัดแห่งนี้เป็นวัดต้นตระกูลอภัยภูเบศร โดยมีตราสัญลักษณ์เหนือกรอบประตูด้านหน้าและหลังพระอุโบสถเป็นตราแผ่นดินรัชกาลที่ 5 แห่งราชอาณาจักรสยาม

DSC_7501ต่อมาขอแนะนำให้เดินทางเที่ยวชมปราสาทบานอน  สันนิษฐานว่าสร้างในช่วงปลายศตวรรษที่ 11 และ ศตวรรษที่ 12 ในยุคสมัยของพระเจ้า อุทัยทิตย์วรมันที่ 2 แล้วถูกบูรณะปฏิสังขรณ์ในยุคของพระเจ้า ชัยวรมันที่ 7 ปราสาทบานอนสร้างขึ้นบนเนินเขาสูงประมาณ 100 เมตร นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยือนต้องเดินขึ้นบันไดหินจำนวน 258 คั่น ส่วนบริเวณเชิงเขาพนมบานอนมีบาราย (สระน้ำ) และมีถ้ำที่สำคัญ ๆ อีกหลายแห่งดังเช่น ถ้ำพระคงคา, ถ้ำปิดทอง  ปราสาทบานอน จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, ประวัติศาสตร์ และธรรมชาติ นอกจากนี้ชาวบ้านบริเวณนั้นยังนิยมปลูกส้มโอและส้มเขียวหวานรวมทั้งไร่องุ่นนำมาทำเป็นไวน์เลิศรสให้นักท่องเที่ยวที่มาเยือนได้ลองลิ้มชิมรสอีกด้วยครับ

สุดท้ายก่อนเดินทางกลับลองชวนกันเดินทางไปเปิดประสบการณ์ใหม่ๆกับกิจกรรม BambooTrain หรือ รถไฟไม้ไผ่ กลางทุ่งนาในชนบทของเมืองพระตะบอง ซึ่งเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวของชาวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวในเมืองพระตะบองแห่งนี้ จนมีคำว่า “หากมาพระตะบองแล้วไม่ได้นั่งรถไฟไม้ไผ่เหมือนกันว่ามาไม่ถึงเมืองพระตะบอง “สำหรับรถไฟไม้ไผ่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นพาหนะที่ประกอบขึ้นจากเครื่องยนต์ขนาดเล็กและพื้นที่นั่งทำมาจากไม้ไผ่ล้วนๆลักษณะคล้ายเตียงไม้ไผ่วางอยู่บนล้อเหล็กนั่นเอง รถไฟไม้ไผ่วิ่งไปมาในระยะทางประมาณ 7 กม. ตามรางรถไฟสภาพเก่าคดเคี้ยวไปมายังกับงูเลื้อยเส้นทางรถไฟสายนี้จะไปสิ้นสุดที่กรุงพนมเปญนอกจากนี้รถไฟไม้ไผ่ยังใช้เป็นพาหนะของชาวกัมพูชาที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นเดินทางไปมาหาสู่กันอีกด้วย

ปีพ.ศ. 2559 เป็นปีที่โครงการประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยนได้บังเกิดขึ้นแล้วจึงอยากจะใคร่ขอเชิญชวนนักเดินทางและท่านผู้อ่านเดินทางย้อนเวลาไปบนเส้นทางสายใหม่ท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรี จากนั้นลองแวะไปเยี่ยมเยือนเมืองพระตะบองในประเทศกัมพูชาเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงในประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยนของเราบ้าง  ปัจจุบันการเดินทางบนเส้นทางสายนี้สะดวกสบาย ไม่ลำบากลำบนเหมือนในอดีตที่ผ่านมาอีกแล้วครับ

ขอขอบคุณผู้ที่สนับสนุนการเดินทางในครั้งนี้

  • คุณกนกกิตติกา กฤตย์วุฒิกร ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานระยอง(ระยอง-จันทบุรี)
  • กองการตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยภูมิภาคภาคตะวันออก
  • สุเทพ พวงมะโหด บันทึกภาพและข้อมูล
Previous post ดุสิต อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดโรงแรมใหม่ ที่มณฑลหูหนาน ประเทศจีน
Next post เยือนเมืองคู่แฝดจากปราจีนบุรี สู่ พระตะบอง
Social profiles