ท่องเที่ยวเขตทหาร บนเส้นทางสายบูรพา

Read Time:7 Minute, 27 Second

IMG_1742๙๙สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.) ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวกองทัพบก (สง.ทท.ทบ.) นำโดยพล.ท.ชาติชาย ขันสุวรรณ ผอ.สง.ทท.ทบ. จัดโครงการสัมนาสื่อมวลชนสัญจร ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวทหาร ทบ. ครั้งที่ 2/2559 บนเส้นทางสายบูรพา กรุงเทพฯ-รร.จปร.-สระแก้ว-จันทบุรี-ชลบุรี-ฉะเชิงเทราโดยเริ่มต้นกันที่ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าตั้งอยู่ที่ตำบลพรหมณี ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 14 กิโลเมตรและห่างจากกรุงเทพฯ ตามเส้นทางองครักษ์ประมาณ 75 กิโลเมตร บริเวณโรงเรียนติดกับเขาชะโงก มีพื้นที่ประมาณ 19,290 ไร่ เป็นสถานที่ให้การศึกษาแก่ผู้ที่จะรับราชการเป็นนายทหารสัญญาบัตรแห่งกองทัพ ไทย ภายในมีสถานที่น่าสนใจหลายแห่ง และมีกิจกรรมต่าง ๆ DSC_0117ให้นักท่องเที่ยวได้เพลิดเพลินและสนุกสนานเหมาะแก่การมาเที่ยวกันแบบครอบครัว นักท่องเที่ยว ควรติดต่อศูนย์บริการท่องเที่ยวโรงเรียนนายร้อย จปร. ก่อน เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับกิจกรรมท่องเที่ยวภายในบริเวณโรงเรียน สำหรับสถานที่น่าสนใจภายใน โรงเรียนนายร้อย จปร. ได้แก่ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕  ซึ่งประดิษฐานอยู่หน้ากองบัญชาการโรงเรียนนายร้อย จปร. ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นผู้พระราชทานกำเนิด โรงเรียนนายร้อย จปร. พระบรมรูปอยู่ ในฉลองพระองค์เครื่องแบบจอมทัพไทยแห่งกองทัพบกเต็มยศประทับเหนือพระราชอาสน์ ศาลาวงกลม หรือศาลาลม จอมพลสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ ทรงดำริให้จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของนักเรียนนายร้อย ภายในDSC_0261ศาลาวงกลมประดิษฐานพระบรมรูปรัชกาลที่ ๕

IMG_1785ชชอาคารพิพิธภัณฑ์ 100 ปี เป็นที่แสดงนิทรรศการเกี่ยวกับกองทัพไทย จัดแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เคยใช้ทำสงครามในอดีต เครื่องแบบนายทหารของกองทัพ ห้องชมสไลด์มัลติวิชั่นบรรยายเรื่องราวและประวัติความเป็นมาของโรงเรียน และยังเป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปหุ่นขี้ผึ้งรัชกาลที่ 5 เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30-16.00 น. ค่าเข้าชมคนละ 10 บาท ศาลเจ้าพ่อขุนด่าน เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มีประชาชนเคารพนับถือมาก ตามประวัติ ท่านเป็นนายด่านเมืองนครนายกสมัยอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.2130 ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ขณะที่ไทยติดพันศึกกับพม่า เขมรได้เข้ามารุกราน และกวาดต้อนผู้คนแถบปราจีนบุรีเพื่อนำกลับไปเขมร และได้ยึดเมืองปราจีนบุรีและเมืองนครนายก ขุนด่านได้รวบรวมชาวเมืองถอยไปตั้งหลักที่เขาชะโงก แล้วยกกำลังเข้าขับไล่ เขมรออกจากนครนายกจนเขมรแตกพ่ายไป ยังมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ของท่านอีกว่าในสมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นนำกำลังพลไปตั้งที่เขาชะโงก และได้รื้อศาลเจ้าพ่อขุนด่าน ท่านจึงแสดงอภินิหารทำให้ทหารญี่ปุ่นล้มตายเป็นจำนวนมาก พระพุทธฉาย เป็นภาพเขียนสีติดอยู่กับชะโงกผาบนภูเขาเตี้ย ๆ ถัดจากเขาชะโงกมีวิหารครอบไว้ พระพุทธฉายนี้ ประวัติเดิมเป็นอย่างไรไม่ปรากฏ แต่เล่ากันว่าสภาพเดิมเป็นภาพพระพุทธรูปปาง ต่าง ๆ เมื่อปีพ.ศ. 2485 กรมแผนที่ทหารบก เข้าไปตั้งโรงงานหินอ่อนที่เชิงเขานี้ และได้เขียนตามรอยพระพุทธรูปเดิมให้ชัดเจนขึ้น ชาวบ้านนับถือกันว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่ง ทุกกลางเดือน 3 จะมีงานนมัสการเป็นประจำทุกปี แต่ถ้าเดินไปทางด้านหลังวัดพระฉายจะพบ “น้ำตกพระฉาย” เป็นน้ำตกเล็ก ๆ ตกลงมาเป็นสาย

กิจกรรมต่างๆในค่ายทหาร1ในค่ายทหาร2จากผาสูงประมาณ 30 เมตร มายังแอ่งน้ำเบื้องล่างซึ่งสามารถเล่นน้ำได้ และจะมีน้ำมากในช่วงฤดูฝน นอกจากการเที่ยวชมสถานที่น่าสนใจดังกล่าว นักท่องเที่ยวสามารถขับรถหรือขี่จักรยาน เที่ยวชมบริเวณได้ โดยบริเวณศูนย์บริการท่องเที่ยวมีจักรยานให้เช่า และยังมีสถานที่พัก ห้องประชุมสัมมนา ค่ายเยาวชน กิจกรรมกีฬาที่เปิดให้บุคคลภายนอกใช้บริการได้ เช่น สนามยิงปืน, สนามกอล์ฟ, สนุกเกอร์, คาราโอเกะ กิจกรรมผจญภัยที่ท้าทายได้แก่ ไต่หน้าผาจำลอง ,กระโดดหอสูง 34 ฟุต, ยิงปืนบีบีกัน, ยิงปืนจริง, เลื่อนข้ามลำน้ำ, พายเรือคยัค นอกจากนั้น ยังมีกิจกรรมละลายพฤติกรรม ปลูกฝังความรักความสามัคคี ตลอดจนการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ และยังรับจัดอบรมสัมมนาเป็นหมู่คณะ มีทั้งกิจกรรม ที่พัก และอาหารให้บริการแก่นักท่องเที่ยว เปิดบริการทุกวันไม่เว้น0543050147899วันหยุดราชการ ตั้งแต่ 08.00-16.00 น. ติดต่อล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน สอบถามรายละเอียดได้ที่สำนักงานการท่องเที่ยว โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โทรศัพท์ 0 3739 3185, 0 2241 2691-5 ต่อ 62960, 08 9799 1429 โทรสาร 0 3739 3312

จากนั้นเดินทางต่อมายัง ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริฯ (ภาคกลาง) และศูนย์สาธิตและส่งเสริมงานศิลปาชีพ กองพลทหารราบที่ 11 ค่ายสมเด็จพระนั่งเกล้าถนนฉะเชิงเทรา-พนัสนิคม ต.คลองนา อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งเกิดขึ้นด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงห่วงใยช่วยเหลือราษฎรในท้องถิ่นห่างไกล ให้มีอาชีพทำกิน มีรายได้เลี้ยงครอบครัว อยู่อย่างมีความสุข และพอเพียงตามวิถีชีวิตแบบไทย ดังนั้น เมื่อปีพ.ศ. 2545 คู่สมรสคณะรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้เฉลิมพระเกียรติในวโรกาสวันเฉลิมพระชนม พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยจัดโครงการถวายเป็นพระราชกุศลแบบยั่งยืน สนองแนวทฤษฎีใหม่ และแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยตั้งชื่อโครงการว่า “ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริฯ” เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวสำหรับเยาวชน เกษตรกร และประชาชนทั่วไป โครงการนี้ดำเนินการทั้ง 4 ภาคของประเทศ โดยภาคกลางใช้พื้นที่ของกองทัพบก บริเวณกองพลทหารราบที่ 11 ค่ายสมเด็จพระนั่งเกล้า ต.คลองนา อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา ต่อมาเพื่อ เป็นการเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ที่ทรงห่วงใยช่วยเหลือราษฎรในท้องถิ่นห่างไกล ด้วยการฝึกอาชีพแก่ชาวบ้านให้ สามารถใช้ทรัพยากร และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างรายได้เสริมเลี้ยงครอบครัว จึงได้เปิดเป็น “ศูนย์สาธิตและส่งเสริมงานศิลปาชีพ” ควบคู่กัน

ศูนย์การเรียนรู้ฯ แห่งนี้ มีพื้นที่รวม 45 ไร่ แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

1.ส่วน เศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย อาคารนิทรรศการแสดงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภายในมีนิทรรศการแสดง 7 ส่วน คือ วิดีทัศน์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎีใหม่ ตามแนวพระราชดำริ, วิถีที่พอเพียง, ดิน คือ หัวใจของการทำเกษตร, น้ำ คือ ชีวิต, ข้าวและท้องทุ่งนา คือ ที่มาของความพอเพียง, แปลงพืชผสมผสาน เพื่อการเกื้อกูล และเกษตรกรนักบริหารในไร่นา อีกทั้งมีฐานกิจกรรม 5 ฐาน ได้แก่ ฐานปศุสัตว์ ประมง, ฐานดิน น้ำ ปุ๋ย, ฐานนาข้าว, ฐานผักผลไม้, และฐานบัญชีฟาร์ม พื้นที่ทำกิน แบ่งตามทฤษฎีใหม่ คือ สระน้ำ 30 เปอร์เซ็นต์, นาข้าว 30 เปอร์เซ็นต์ พืชไร่พืชสวน 30 เปอร์เซ็นต์ และที่อยู่อาศัย ประกอบด้วยบ้านพักเกษตรกร, แปลงพืชผักสวนครัว และเลี้ยงสัตว์ 10 เปอร์เซ็นต์

2.ส่วนศิลปาชีพ ประกอบด้วย อาคารนิทรรศการ 1 อาคาร ใช้จัดแสดงงานศิลปาชีพของจังหวัดภาคกลาง 25 จังหวัด ได้แก่ ตุ๊กตาชาววัง, ผ้าจก, เครื่องจักสาน, ดอกไม้ประดิษฐ์, หัวโขน และอื่นๆ อาคารสาธิตและฝึกงานศิลปาชีพ 3 อาคาร ได้แก่ สาธิตเครื่องจักรสาน, สาธิตดอกไม้ประดิษฐ์ และสาธิตตุ๊กตาชาววัง

3.ส่วนอื่น ๆ ระกอบด้วย อาคารจำหน่ายผลิตภัณฑ์โอท็อป, อาคารประชาสัมพันธ์, ร้านอาหาร, และพื้นที่จัดค่ายพักแรม และพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในรูปแบบโฮมสเตย์ เปิดเป็นค่ายพักแรมสำหรับนักท่องเที่ยวในรูปแบบ 3 วัน 2 คืน หรือ 2 วัน 1 คืน โดยจะนำเที่ยวสถานที่สำคัญต่างๆ ในจ.ฉะเชิงเทราโดยเฉพาะการจัดอบรมให้ความรู้ด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และสาธิตการดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎีใหม่ อาทิ การทำนาข้าว,การทำสวน,การประมง,การทำปุ๋ย, การปลูกหญ้าแฝก,การทำอิฐบล็อก,การเผาถ่านและทำถ่านอัดแท่ง และการจักสานเป็นต้น เพื่อนักท่องเที่ยวสามารถทดลองปฏิบัติได้ด้วยตัวเอง

ผู้สนใจสามารถเข้าชมศูนย์การเรียนรู้ฯ ได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. วันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น. เข้าชมได้ทั้งเป็นคณะและบุคคล ถ้าเข้าชมเป็นคณะควรแจ้งให้ทราบล่วงหน้า โดยติดต่อล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์ โดยสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ 3 ระบบ ดังนี้ เยี่ยมชมเพื่อดูงานทั่วไป 2 ชั่วโมง เยี่ยมชมเพื่อศึกษาสาระการเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ 5 ชั่วโมง และหลักสูตรอบรมพิเศษสำหรับนักเรียน-นักศึกษาและคณะบุคลทั่วไปพักแรม 3 วัน 2 คืน หรือ 2 วัน 1 คืน สามารถติดต่อขอรายละเอียดได้ที่ ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และศิลปาชีพภาคกลาง ที่อยู่: ตำบลคลองนา อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000 โทรศัพท์ 038-824427

ขอขอบคุณผู้ที่ให้การสนับสนุนการเดินทางในครั้งนี้

♦  พล.ท.ชาติชาย ขันสุวรรณ ผอ.สง.ทท.ทบ. สำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวกองทัพบก

♦  สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.)

♦  สุเทพ พวงมะโหด บันทึกเรื่องและภาพ

 

Previous post วิธีดูแลรักษาหูฟังคู่โปรดอย่างถูกวิธี เพิ่มประสิทธิภาพการออกกำลังกายของคุณได้เต็มขีดความสุข
Next post ปั่นจักรยานท่องเที่ยว CSR ตามหา…พลับพลึงธาร เมืองระนอง
Social profiles