ต้นกล้า ตากล้อง ท่องเมืองยะลา

Read Time:5 Minute, 55 Second

การจัดโครงการ ต้นกล้า ตากล้อง ท่องเที่ยวไทย ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมปีท่องเที่ยววิถี ไทย 2559 ให้กับเยาวชนนักเรียนในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยผ่านทาง ภาพถ่ายอาทิเช่น ภาพวิถีชีวิต, วัฒนธรรม, ประเพณีไทย และแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนและเยาวชนเกิดจิตสำนึกในการรัก และหวงแหนวัฒนธรรมประเพณีวิถีชีวิตแบบไทย ๆ ในท้องถิ่นของตนเอง อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมความรู้ในเรื่องการถ่ายภาพให้แก่นักเรียน และเยาวชนในการถ่ายภาพวัฒนธรรมประเพณีไทยและวิถีชีวิตโดยผ่านทาง Social Network ซึ่งโครงการต้นหญ้าตากล้อง….ท่องเที่ยวไทยได้จัดมาเป็นครั้งที่ 27 แล้วครับ

DSC_0333สำหรับโครงการต้นหญ้าตากล้อง….ท่องเที่ยวไทยในครั้งนี้ได้ถูกจัดขึ้นที่ วิทยาลัยชุมชนยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยมีนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมใน ครั้งนี้จำนวน 50 คนด้วยกันในส่วนของกิจกรรมในตอนเช้า เริ่มต้นขึ้นด้วยการเชิญวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิในการถ่ายภาพ มาให้ความรู้และเทคนิคในการถ่ายภาพอย่างไรให้สวยแก่ นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ หลังจากนั้นในช่วงบ่ายก็นำนักศึกษาออก ถ่ายรูปภาคสนามตามแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ในจังหวัดยะลาโดยเริ่มต้นกันที่มัสยิด กลาง จังหวัดยะลา เป็นมัสยิดใหญ่ประจำจังหวัด  มัสยิดแห่งนี้สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2527 เป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ที่สอดแทรกเส้นกรอบทรงสุเหร่าไว้ได้อย่างกลมกลืน ด้านหน้าเป็นบันไดกว้าง สูงประมาณ 30 ขั้น ทอดสู่ลานชั้นบน หลังคาทรงสี่เหลี่ยม มีโดมใหญ่อยู่ตรงกลาง

DSC_0273จากนั้นจึงเดินทางต่อมายัง  วัดคูหาภิมุข หรือเรียกอีกอย่างว่า“วัดหน้าถ้ำ” เป็นหนึ่งในสามปูชนียสถานที่สำคัญของภาคใต้ เช่นเดียวกับ พระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช และพระบรมธาตุไชยาที่สุราษฎร์ธานี แสดงถึงความรุ่งเรืองของศาสนาพุทธในบริเวณนี้มาตั้งแต่สมัยอาณาจักรศรีวิชัย ตั้งอยู่ที่ตำบลหน้าถ้ำ ห่างจากตัวเมือง 8 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางไปอำเภอยะหา บริเวณวัดร่มรื่นมีธารน้ำไหลผ่าน บันไดขึ้นไปยังปากถ้ำมีรูปปั้นยักษ์ ชาวบ้านเรียกว่า “เจ้าเขา” สร้างโดยช่างพื้นบ้านเมื่อปี พ.ศ. 2484 ภายในถ้ำมีลักษณะคล้ายห้องโถงใหญ่ ดัดแปลงปรับปรุงเป็นศาสนสถาน มีปล่องที่เพดานถ้ำ ยามแสงแดดส่องลงมาดูสวยงามมาก เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างมาแต่ปี พ.ศ. 1300 เป็นพระพุทธไสยาสน์สมัยศรีวิชัย ที่มีขนาดความยาว 81 ฟุต 1 นิ้ว เชื่อกันว่าเดิมDSC_0260เป็นปางนารายณ์บรรทมสินธุ์ เพราะมีภาพนาคแผ่พังพานปกพระเศียร ต่อมาจึงได้ดัดแปลงเป็นพระพุทธไสยาสน์แบบหินยาน และเดินทางต่อไปยัง

DSC_0065ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองยะลา ตั้งอยู่ถนนพิพิธภักดี หน้าศาลากลาง จังหวัดยะลา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานยอดเสาหลักเมืองให้เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 ภายในศาลประดิษฐานยอดเสาหลักเมือง ซึ่งสร้างด้วยแก่นไม้ชัยพฤกษ์สูง 50 เซนติเมตร วัดโดยรอบที่ฐาน 43 นิ้ว ที่DSC_0042ปลาย 36 นิ้ว พระเศียรยอดเสาเป็นรูปพรหมจตุรพักตร์และเปลวไฟ บริเวณโดยรอบเป็นสวนสาธารณะ ร่มรื่น สวยงาม และจะมีการจัดงานสมโภชเจ้าพ่อหลักเมือง ระหว่างวันที่ 25–31 พฤษภาคมของทุกปี จากนั้นจึงพานักศึกษามาลองฝึกหัดถ่ายภาพวิวทิวทัศน์และธรรมชาติกันที่สวนขวัญเมือง หรือ พรุบาโกย ตั้งอยู่ในเขตเทศบาล 1 ในเขตเทศบาลเมืองยะลา ห่างจากศาลเจ้าพ่อหลักเมืองยะลาเพียงประมาณ 300 เมตร เป็นสวนสาธารณะของเทศบาลเมืองยะลา พื้นที่รวมทั้งสิ้นประมาณ 207 ไร่เลยทีเดียว สวนขวัญเมืองแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งท่านได้เดินทางมาทำพิธีเปิดป้ายชื่อ “สวนขวัญเมือง” เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 พื้นที่แห่งนี้ปรับปรุงขึ้นจากพรุบาโกย ที่เป็นพื้นที่ที่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์อะไร เมื่อปรับปรุงก็จัดให้มีสวนกีฬา และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจแก่ชาวยะลา มีจุดเด่นอยู่ที่สระน้ำใหญ่กินเนื้อที่ กว่า69 ไร่ ซึ่งเทศบาลเมืองยะลาได้มีความคิดสร้างสรรค์พยายามตกแต่งพื้นที่โดยรอบให้ดู เหมือนเป็นหาดทรายและทิวสนจำลองDSC_0020เสมือนนำเอาทัศนียภาพของหาดทรายชายทะเลมาไว้ ให้ชาวเมืองได้พักผ่อนหย่อนใจกันถึงที่ เนื่องจากจังหวัดยะลาไม่มีพื้นที่ติดต่อกับชายทะเล หากจะไปทะเลชาวเมืองก็สามารถมาที่สวนแห่งนี้แทนได้นั่นเอง นอกจากนี้สวนขวัญเมืองยังเป็นสถานที่สำหรับที่จัดกิจกรรมแข่งขันนกเขาชวาเสียง มีตลาดนกเขาชวา มีสนามแข่งขันนกเขาชวาเสียงที่ใหญ่ที่สุดและมีมาตรฐานที่สุดในภาคใต้ไม่ไกล กันก็มีสถานที่อื่นอีกเช่น ศาลหลักเมืองยะลา อุทยานการเรียนรู้ เป็นต้น ด้วยบริเวณที่กว้างขวางของสวนขวัญเมืองนอกจากจะมาพักผ่อนหย่อนใจริม หาดจำลองแล้ว ก็สามารถมาปั่นจักรยานเล่นได้ โดยเฉพาะช่วงเย็นบรรยากาศเหมาะยิ่งนักหากใครมาเยี่ยมเมืองยะลา ก็อย่าลืมแวะมาเที่ยวที่สวนขวัญเมืองแห่งนี้ จะได้พักผ่อนหย่อนใจไปกับธรรมชาติ ร่มรื่นด้วยแมกไม้รายล้อม และสดชื่นด้วยสระน้ำกว้างใหญ่

DSC_0111สวนสาธารณะสนามช้างเผือก (สนามโรงพิธีช้างเผือก) ตั้งอยู่ที่ถนนพิพิธภักดี มีพื้นที่กว่า 80 ไร่ สถานที่แห่งนี้มีความสำคัญต่อชาวยะลามาก เนื่องจากเคยใช้เป็นสถานที่ประกอบ พิธีน้อมเกล้าถวายช้างเผือก “พระเศวตสุรคชาธาร” ให้เป็นช้างเผือกคู่พระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2511 ภายในสวนสาธารณะสนามช้างเผือกแห่ง นี้ ประกอบด้วย สนามหญ้าเขียวขจี และแมกไม้นานาพันธุ์มีศาลากลางน้ำ ให้ชาวเมืองยะลาได้ไปนั่งพักผ่อนหย่อนใจ ปรากฏรูปปั้นจำลองของสัตว์ต่าง ๆ หลายชนิด โดยเฉพาะอนุสาวรีย์ช้าง และปัจจุบันเมืองยะลาได้ใช้สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่สำหรับ จัดกิจกรรมสำคัญ ของจังหวัด เช่น งานวันปิยะมหาราช งานออกร้านต่าง ๆ และที่สำคัญสถานที่แห่งนี้ยังเป็นสถานที่สำหรับจัดการแข่งขันนกเขาชวาเสียง ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในช่วงต้นเดือนธันวาคมของทุกปีอีกด้วย สำหรับสวนสาธารณะสนามช้างเผือก (สนามโรงพิธีช้างเผือก) นั้น ตั้งอยู่ที่ถนนสายเดียวกับศาลหลักเมืองเปิดให้ประชาชนได้เข้ามาพักผ่อนกายใจ ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 – 17.00 น. หากใครแวะมาสักการะศาลหลักเมืองยะลาแล้วละก็ อย่าลืมเดินทางต่ออีกหน่อยมาแวะเยี่ยมเยือนสวนสาธารณะสนามช้างเผือกหรือสนาม โรงพิธีช้างเผือกแห่งนี้ นอกจากจะได้พักผ่อนกับบรรยากาศร่มรื่นแล้ว ยังจะได้รับกลิ่นอายของประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับช้างเผือก”พระเศวตสุ รคชาธาร”อีกด้วยครับ

จากนั้นในเช้าของวันรุ่งขึ้นเดินทางกลับมายัง วิทยาลัยชุมชนยะลาเพื่อให้คณะ กรรมการทำการตัดสินภาพถ่ายที่เหล่านักศึกษาที่ส่งภาพเข้าประกวดในครั้งนี้ ได้รับทราบผลการตัดสิน หลังจากที่คณะกรรมการได้ทำการพิจารณาภาพถ่ายพร้อมตัดสินภาพที่ได้รับรางวัล จากนั้นได้ทำการมอบรางวัลชนะเลิศและรางวัลที่ 1, 2, 3 ให้กับนักศึกษาตามลำดับ สร้างความประทับใจให้กับเหล่านักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้เป็น อย่างมากพร้อมกับปลุกจิตสำนึกนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการต้นกล้าตากล้องในครั้งนี้ ให้รักและหวงแหนในถิ่นฐาน และวัฒนธรรมของตนเองอีกด้วย

ขอขอบคุณผู้ที่ให้การสนับสนุนการเดินทางในครั้งนี้

* การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานนราธิวาส

* สุเทพ พวงมะโหด บันทึกเรื่องและภาพ

Previous post Hotels.com พาทัวร์แหล่งชมซากุระที่คุณไม่ควรพลาด
Next post เคล็ดลับชะลอวัย สุขภาพดีอยู่ที่โหงวเฮ้งของลำไส้
Social profiles