สมาคมการค้าปุ๋ยฯ (TFAS) แจง “โครงการลดต้นทุนช่วยเหลือเกษตร ของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์และสถานการณ์ราคา และตลาดปุ๋ยเคมี 2564“

Read Time:1 Minute, 49 Second

นายกองเอก เปล่งศักดิ์ ประกาศเภสัช นายกสมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย และคณะกรรมการ ได้แถลงข่าว “โครงการลดต้นทุนช่วยเหลือเกษตร ของกรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์และสถานการณ์ราคาและตลาดปุ๋ยเคมี 2564“

สถานการณ์ราคาปัจจัยการผลิตปุ๋ยเคมี จากต้นปี พ.ศ. 2563 จนถึงปัจจุบัน ปุ๋ยเคมีมีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและคาดการณ์ว่าจะสูงขึ้นไปจนถึงไตรมาสแรกของปี พ.ศ. 2565 ทั้งนี้เพราะ สภาพอากาศทั่วโลกส่วนใหญ่ที่เอื้ออำนวยต่อการทำการเกษตร ราคาผลผลิตทางการเกษตรในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงขึ้น หลายๆ ประเทศตระหนักถึงความมั่นคงทางด้านอาหารนโยบายการชะลอการส่งออกวัตถุดิบปุ๋ยเคมีของประเทศจีน วิกฤตราคาพลังงานน้ำมัน ค่าขนส่งทางเรือระหว่างประเทศมีราคาสูงและความผันผวนของค่าเงินในตลาดโลก ซึ่งปัจจัยดังกล่าวล้วนเกิดจากวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ Covid-19

ปัจจุบันราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตปุ๋ยเคมีปรับตัวสูงขึ้นมาก ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยยูเรีย (UREA) แอมโมเนียมซัลเฟต (AS) ไดแอมโมเนียมซัลเฟต (DAP) และ โพแทสเซียมคอไรด์ (MOP)
ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อเกษตรกร ทั้งนี้เพราะประเทศไทยต้องนำเข้าวัตถุดิบปุ๋ยเคมีมาจากต่างประเทศเกือบ 100 เปอร์เซนต์

ในส่วนของแนวทางสนับสนุนโครงการลดต้นทุนช่วยเหลือเกษตรกรของกระทรวงพาณิชย์ ผ่านกรมการค้าภายในร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผ่านกรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมส่งเสริมการเกษตร โดยสมาชิกของสมาคมฯ ได้ให้การช่วยเหลือลดราคาจำหน่ายแม่ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยเคมีสำเร็จรูปรวมทั้งสิ้น 201,106 ตัน หรือ 4,022,120 กระสอบ โครงการเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-ตุลาคม และจะขยายเวลาต่อจนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2564

การช่วยเหลือเกษตรกรในการลดราคาปุ๋ยเคมีในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย ซึ่งเป็นมาตรการหนึ่ง ที่ทางสมาคมฯ ร่วมกับภาครัฐบาลในการช่วยเหลือเกษตรกร อย่างไรก็ตาม สมาคมฯ เห็นว่า ภาครัฐควรมีแผนระยะยาวในการช่วยเหลือเกษตรกร คือ การให้ความรู้ที่ถูกต้องกับเกษตรกร เกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างถูกวิธี การใช้ปุ๋ยเคมีให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร โดยการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร (Crop Productivity) จึงจะสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมการทำการเกษตรแบบ “การเกษตรปลอดภัย” GAP (Good Agricultural Practice) คือ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี และเหมาะสมสำหรับพืช เพราะเป็นมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และจะทำให้ประเทศ ไทยมีความมั่นคงในการเพาะปลูกพืชอาหารและพืชเศรษฐกิจ

Previous post OPPO Reno6 Pro 5G สีใหม่! Arctic Blue สมาร์ทโฟนพอร์ตเทรตรุ่นท็อป พร้อมจับจองเป็นเจ้าของได้แล้วในราคา 22,990 บาท
Next post ช้อปปี้ชวนส่อง 5 สุดยอดสมาร์ทโฟน พร้อมดีลที่ดีที่สุดในแคมเปญ ‘Shopee 11.11 Big Sale ลดใหญ่ ใส่ไม่ยั้ง’
Social profiles