ไตรมาส 1/2566 CENTEL กำไร 629 ล้านบาท สูงสุดตั้งแต่เริ่มโควิด

Read Time:7 Minute, 49 Second

พลิกฟื้นชัดเจน YOY และเติบโตต่อเนื่อง QOQ ได้รับปัจจัยบวกจากนักท่องเที่ยวที่เติบโตอย่างมีนัยสำคัญ 

คุณกันย์ ศรีสมพงษ์, ประธานเจ้าหน้าที่การเงิน และ รองประธานฝ่ายการเงินและบริหาร บริษัท โรงแรมเซ็นทรัล พลาซา จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ หรือ CENTEL)  กล่าวว่า ผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ในไตรมาส 1/2566 มีรายได้รวม 5,863 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 51% และมีกำไรก่อนค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่าย ดอกเบี้ยจ่าย และภาษีเงินได้ (EBITDA) รวม 1,672 ล้านบาท  เพิ่มขึ้น 76% จากไตรมาส 1/2565 โดย % EBITDA Margin อยู่ที่ 29% เพิ่มขึ้นเทียบกับปีก่อน เนื่องจากการดำเนินงานธุรกิจโรงแรมที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเทียบปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะโรงแรมในประเทศไทยตามแหล่งท่องเที่ยวหลักซึ่งมีผลการดำเนินงานที่โดดเด่น บริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 629 ล้านบาท ในไตรมาส 1/2566 จากขาดทุนสุทธิ 44 ล้านบาทในไตรมาส 1/2565 

แม้ว่าการฟื้นตัวของธุรกิจโรงแรมมีแนวโน้มที่ชัดเจนมากขึ้นในปี 2566 จากปัจจัยบวกหลายด้านรวมถึงการเข้ามาของนักท่องเที่ยวประเทศจีนที่เร็วกว่าคาด อย่างไรก็ดี เนื่องด้วยยังคงมีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนเที่ยวบินที่ยังต่ำกว่าปี 2562 อย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวจีนไม่สามารถฟื้นตัวแบบก้าวกระโดดได้ในไตรมาส 1/2566 คาดว่าจำนวนเที่ยวบินจะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจนถึงช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้

อย่างไรก็ดีการฟื้นตัวของธุรกิจโรงแรมยังคงมีความท้าทาย ทั้งในเรื่องจำนวนเที่ยวบิน ต้นทุนค่าเดินทางที่สูงขึ้น สถานการณ์ต้นทุนวัตถุดิบและค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการที่เพิ่มสูงขึ้น ต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น และความเสี่ยงของเศรษฐกิจถดถอย บริษัทจึงยังคงดำเนินแผนธุรกิจและควบคุมต้นทุนทั้งธุรกิจโรงแรมและธุรกิจอาหารด้วยความระมัดระวังอย่างต่อเนื่อง รวมถึงแผนการจ่ายคืนเงินต้นก่อนกำหนดสำหรับเงินกู้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่มีดอกเบี้ยสูงกว่าสกุลบาทเพื่อลดผลกระทบของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยรวม รวมถึงมีแผนการออกหุ้นกู้เพื่อเพิ่มสัดส่วนอัตราดอกเบี้ยคงที่แทนอัตราดอกเบี้ยลอยตัว

สำหรับผลการดำเนินงานในปี 2566 คาดว่าจะมาจากการฟื้นตัวของธุรกิจโรงแรมเป็นสำคัญ สืบเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ขณะที่ธุรกิจอาหารได้เห็นการฟื้นตัวอย่างชัดเจนตั้งแต่ปีที่ผ่าน ทั้งนี้คาดการณ์อัตราการเข้าพักเฉลี่ย (รวมโรงแรมร่วมทุน) 68% – 72% และรายได้ต่อห้องพักเฉลี่ย (RevPar) อยู่ที่ 3,350 – 3,650 โดยการเติบโตของ RevPar มาจากอัตราการเข้าพักที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะโรงแรมในประเทศไทยเป็นสำคัญ ในขณะที่ธุรกิจอาหาร ประมาณการอัตราการเติบโตจากสาขาเดิม (Same-Store-Sales: SSS) ไม่รวมกิจการร่วมค้าเติบโต 7% – 9% เทียบปีก่อน และอัตราการเติบโตของยอดขายรวมทุกสาขา (Total-System-Sales: TSS) จะอยู่ในช่วง 13% – 15% เทียบปีที่ผ่านมา   สำหรับการเติบโตของจำนวนสาขา  บริษัทฯ คาดว่าจะมีจำนวนสาขาเพิ่มขึ้นสุทธิรวมแบรนด์ร่วมทุน ประมาณ 120-150 สาขา (รวมสาขา shop-in-shop อาริกาโตะในมิสเตอร์โดนัท) เทียบกับปี 2565 โดยแบรนด์ที่เน้นการขยายสาขาเพิ่มได้แก่ เค เอฟ ซี,  อานตี้ แอนส์, สลัดแฟคทอรี, ส้มตำนัว และ ชินคันเซ็น ซูชิ  

ทั้งนี้บริษัท ได้ให้ความสำคัญต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนภายใต้เป้าหมายระยะยาว 2563-2572 ลดการใช้พลังงาน การใช้น้ำ ของเสีย และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง ร้อยละ 20 จากปีฐาน 2562 โดย ณ สิ้นปี 2565 บริษัทได้ดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อรองรับการเป็นสมาร์ทโฮเทล (Smart Hotel) มุ่งเน้นการลดการใช้พลังงานและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ โครงการติดตั้งระบบทำน้ำร้อนแบบประหยัดพลังงานสำหรับสระจากุสซี่ ซึ่งสามารถลดการใช้พลังงานจากเดิม 2-3 เท่า, โครงการติดตั้ง Chiller optimizer ช่วยลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าได้ 10%-15 % เป็นต้น และในปี 2565 โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา 12 แห่งพร้อมสำนักงานใหญ่ผ่านการประเมินและตรวจสอบมาตรฐานการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลกประเภทโรงแรมจาก Vireo SLR หน่วยงานผู้เชี่ยวชาญการตรวจสอบที่ผ่านการรับรองจากสภาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (GSTC) ทั้งนี้ได้ตั้งเป้าหมายภายในปี 2568 โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทาราทุกแห่งจะต้องผ่านการรับรองจาก GSTC 

ผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2566:

ธุรกิจโรงแรม: ภาพรวมรายได้ต่อห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมทั้งหมด (RevPar) เพิ่มขึ้น 114% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน อยู่ที่ 4,187 บาท จากการเพิ่มของอัตราการเข้าพักเฉลี่ย (OCC) จาก 35% ในไตรมาส 1/2565 เป็น 78% ในไตรมาส 1/2566 ขณะที่ราคาห้องพักเฉลี่ย (ARR) ลดลง 5% เทียบปีก่อน อยู่ที่ 5,380  บาท เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนรายได้โรงแรมในประเทศไทยซึ่งมีราคาห้องพักเฉลี่ยต่ำกว่าโรงแรมต่างประเทศ จึงทำให้ราคาห้องพักเฉลี่ยรวมลดลงเพราะคำนวณด้วยวิธีค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted Average)

ไตรมาส 1/2566 ธุรกิจโรงแรมมีรายได้รวมอยู่ที่ 2,832 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 127% จากปีก่อน โดยมีกำไรขั้นต้นจำนวน 1,648  ล้านบาท เติบโตจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 162% และมี EBITDA จำนวน 1,122 ล้านบาท โดย % EBITDA Margin ที่ 40% เพิ่มขึ้นเทียบปีก่อน (ไตรมาส 1/2565: 26%) ธุรกิจโรงแรม มีกำไรสุทธิ 538 ล้านบาท เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนขาดทุนสุทธิ 149 ล้านบาท 

ธุรกิจอาหาร: มีการเติบโตของยอดขายของสาขาเดิม (%SSS) 8% และภาพรวมอัตราการเติบโตจากยอดขายรวม (%TSS) อยู่ที่ 15% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ณ สิ้นไตรมาสที่ 1/2566 มีจำนวนสาขาทั้งสิ้น 1,599 สาขา เพิ่มขึ้น 201 สาขา (กรณีรวมบริษัทร่วมทุน)  เมื่อเทียบกับสิ้นไตรมาส 1/2565 รายได้จากธุรกิจอาหารรวม 3,031 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15% เทียบปีก่อน มีกำไรก่อนค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่าย  ดอกเบี้ยจ่าย  และภาษีเงินได้ (EBITDA) อยู่ที่ 550 ล้านบาท ลดลง 12% เทียบกับปีก่อน โดยอัตราส่วน EBITDA ต่อรายได้รวม (% EBITDA) อยู่ที่ 18% ลดลงเทียบปีก่อน (ไตรมาส 1/2565: 24%)  และมีกำไรสุทธิ 91 ล้านบาท ลดลง 14 ล้านบาท หรือลดลง 13% จากอัตราการทำกำไรที่ปรับตัวลงเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน 

ผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 1 ปี 2566 และปี 2565\ 

(หน่วย: ล้านบาท)ไตรมาส 1/2566ไตรมาส 1/2565เปลี่ยนแปลง     
(เพิ่มขึ้น + / ลดลง -)
 จำนวนเงิน%จำนวนเงิน%จำนวนเงิน%
รายได้จากธุรกิจโรงแรม2,83248%1,24932%1,583127%
รายได้จากธุรกิจอาหาร3,03152%2,63368%39815%
             รวมรายได้5,863100%3,882100%1,98151%
ต้นทุนขาย – ธุรกิจโรงแรม(868)-15%(434)-11%434100%
ต้นทุนขาย – ธุรกิจอาหาร(1,371)-23%(1,114)-29%25723%
             รวมต้นทุนขาย(1)(2,239)-38%(1,548)-40%69145%
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร(1,926)-33%(1,383)-36%54339%
ส่วนแบ่ง ขาดทุนจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย(26)0%             –           –   (26)    NA
กำไรก่อนค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่าย ดอกเบี้ยจ่าย และภาษีเงินได้ (EBITDA)1,67229%95124%72176%
ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย(721)-12%(767)-20%(46)-6%
กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย และภาษีเงินได้ (EBIT)95116%1845%767417%
ต้นทุนทางการเงิน(2)(186)-3%(172)-4%148%
ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้(84)-1%(35)-1%49140%
กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม(52)-1%(21)-1%31148%
กำไรสุทธิ62911%(44)-1%6731,530%

(1) ต้นทุนขายไม่รวมค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายส่วนที่ปันส่วนเป็นต้นทุนขาย

(2) ต้นทุนทางการเงินที่ไม่รวมดอกเบี้ยจ่ายตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า มีจำนวนทั้งสิ้น 121  ล้านบาท (ไตรมาส1/2565: 86 ล้านบาท)

ข้อมูลบริษัท ณ ปัจจุบัน

ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566 บริษัทฯมีโรงแรมภายใต้การบริหารงานทั้งสิ้น จำนวน 92 โรงแรม (19,775 ห้อง) แบ่งเป็นโรงแรมที่เปิดดำเนินการแล้ว 50โรงแรม (10,512 ห้อง) และเป็นโรงแรมที่กำลังพัฒนา 42โรงแรม (9,263 ห้อง) ในส่วน 50 โรงแรมที่เปิดดำเนินการแล้วนั้น 19 โรงแรม (5,051 ห้อง) เป็นโรงแรมที่บริษัทฯ เป็นเจ้าของ และ 31 โรงแรม (5,461 ห้อง) เป็นโรงแรมที่อยู่ภายใต้สัญญาบริหาร

สำหรับธุรกิจอาหาร บริษัทฯ มีจำนวนร้านอาหารที่เปิดดำเนินการรวม 1,599 สาขา ดังนี้ 1.เคเอฟซี (322) 2.มิสเตอร์โดนัท (471) 3.โอโตยะ  (47) 4.อานตี้แอนส์ (213) 5.เปปเปอร์ลันช์ (51) 6.ชาบูตง ราเมน/คาเก็ตสึ อาราชิ ราเมน (17) 7.โคลด์สโตน ครีมเมอรี่ (16) 8.โยชิโนยะ (29)   9.เดอะ เทอเรส (6)  10.เทนยะ (12)  11.คัตสึยะ (61)  12.อร่อยดี (29) 13.อาริกาโตะ (195) 14.เกาลูน (1) 15.แกร๊บคิทเช่น บาย เอเวอรีฟู้ด (18) 16.สลัดแฟคทอรี (31) 17.บราวน์ คาเฟ่ (10) 18.คาเฟ่ อเมซอน – เวียดนาม (20) 19.ส้มตำนัว (5) 20.ชินคันเซ็น ซูชิ/นักล่าหมูกระทะ (45)

Previous post ตำรวจบ้านนาเจ๋งปิดคดีฉ้อโกงเรียบร้อย พร้อมฝากเตือนผู้รับเหมาให้ซื่อสัตย์ต่ออาชีพเฉพาะทาง
Next post กรุงเทพประกันชีวิต จัดพิธีเปิดบูทงาน Money Expo 2023 ส่งต่อแนวคิด “Happy Health, Happy Wealth ความสุขกับสุขภาพที่ดีและการเงินที่มั่งคั่ง”
Social profiles