ในปี 2568 นี้ ประเทศไทย ถูกฝุ่นพิษกักไว้ในชั้นบรรยากาศ ไม่สามารถกระจายออกไปได้ ค่าฝุ่นจึงพุ่งสูงจนเกินมาตรฐาน จากการคำนวณเปรียบเทียบปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศหรือ PM2.5 กับปริมาณการสูบบุหรี่ พบว่า ค่าฝุ่น PM 2.5 ที่22 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เทียบได้กับการสูบบุหรี่ 1 มวน ซึ่งหากนำค่าฝุ่นแบบค่ามาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมงในแต่ละวันของปี 2024 มาคำนวณเปรียบเทียบตามเกณฑ์ของ Richard Muller จะพบว่าในปี 2024 ที่ผ่านมา คนกรุงเทพฯ สูดดมฝุ่นพิษ PM2.5 เทียบเท่าการสูบบุหรี่ ทั้งหมด 1,297.14 มวน ลดลงจากปี 2023 ที่มีจำนวน 1,370.09 มวน ถึง 81.95 มวน หรือคิดเป็น 4.09 ซอง แต่ก็ยังมากกว่าปี 2022 ที่มีจำนวน 1,224.77 มวน และปี 2021 ที่มีจำนวน 1,261.05 มวน รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์ทรวงอกเฉพาะทางด้านการผ่าตัดส่องกล้องในช่องทรวงอก โรงพยาบาลวชิรพยาบาล กล่าวว่า สำหรับโรคมะเร็งปอดยังคงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตในประเทศไทย จากวารสารทางการแพทย์ได้พบเจอว่า มีผู้ป่วยชาวเอเชียที่ไม่สูบบุหรี่เป็นมะเร็งปอด สัดส่วนถึง 30-60 เปอร์เซ็นต์ โดยแนวทางคัดกรองผู้ที่ไม่สูบบุหรี่เป็นประเด็นที่ซับซ้อน เพราะปัจจุบันมุ่งเน้นไปที่กลุ่มเสี่ยงสูง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ที่สูบบุหรี่หรือเคยสูบหนักมาก่อนยกตัวอย่าง จากคณะทำงานบริการป้องกันของสหรัฐอเมริกา (USPSTF) แนะนำให้ทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบความเข้มต่ำ (Low-Dose CT หรือ LDCT) ปีละครั้งสำหรับกลุ่มเสี่ยงสูง 3 ข้อ ประกอบด้วย 1.ผู้มีอายุระหว่าง 50 ถึง 80 ปี 2. มีประวัติการสูบบุหรี่กว่า 20 ปี (เช่น สูบวันละ 1 ซอง เป็นเวลา 20 ปี) และ 3.ยังสูบบุหรี่อยู่หรือเลิกสูบมาไม่เกิน 15 ปี ทั้งนี้ไม่รวมผู้ไม่เคยสูบบุหรี่ แม้ว่าจะมีปัจจัยเสี่ยงอื่นตามมะเร็งปอดไม่รวมผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่ แม้ว่าจะมีปัจจัยเสี่ยงอื่นก็ตาม ในส่วนของมะเร็งปอดในกลุ่มผู้ไม่สูบบุหรี่นั้น จากข้อมูลที่ควรรู้ประมาณ 40-60 % ของมะเร็งปอดเกิดในผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่ซึ่งมักเกิดจากการได้รับควันบุหรี่มือสอง, การสัมผัสก๊าซเรดอน, การสัมผัสสารพิษจากงานอาชีพ (เช่น แร่ใยหิน ควันดีเซล), มลพิษทางอากาศ หรือ ครัวเรือน, ประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งปอด, การกลายพันธุ์ทางพันธุกรรม…