การผ่าตัดส่องกล้องมะเร็งปอดสมัยใหม่

ในปี 2565 มีผู้ป่วยเป็นจำนวนมากที่ตรวจพบว่าเป็นโรคมะเร็งปอดในประเทศไทย ซึ่งยังคงเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับ 2 ของคนไทย (ในผู้ชายรองจากมะเร็งตับและเป็นอันดับ 1 ในผู้หญิง) ซึ่งการตรวจคัดกรองให้พบโรคมะเร็งปอดในระยะแรกนั้นทำได้ยาก จึงทำให้มีอัตราการตายสูง โดยผู้ป่วยเหล่านี้มากกว่าครึ่งที่ตรวจพบ มักจะเจอในระยะลุกลามเนื่องจากอาการของโรคนี้มักไม่มีอาการส่งผลทำให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยล่าช้า อย่างไรก็ตามก็ยังมีผู้ป่วยจำนวนมากที่สามารถรักษาแต่กลัวการผ่าตัด เนื่องจากในยุคเริ่มต้นของการผ่าตัดปอดนั้น ได้ริเริ่มทำโดยการเปิดช่องอก ซึ่งมีความจำเป็นในการที่ต้องตัดกล้ามเนื้อหลายมัดและถ่างขยายกระดูกซี่โครงในการเข้าไปทำการผ่าตัดจึงทำให้ผู้ป่วยค่อนข้างกังวลและเกิดอาการกลัวในการรักษาโรคมะเร็งปอด อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการผ่าตัดปอดได้มีการพัฒนาโดยเฉพาะการผ่าตัดส่องกล้อง ส่งผลทำให้การผ่าตัดปอดนั้นเป็นการผ่าตัดที่ปลอดภัย โดยในผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัวโอกาสที่จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงนั้นมีน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์  ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์ทรวงอกเฉพาะทางด้านผ่าตัดส่องกล้อง โรงพยาบาลวชิรพยาบาล กล่าวว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา...

ภาวะไม่มีผิวหนังตั้งแต่เกิด 

​ภาวะไม่มีผิวหนังตั้งแต่เกิด (Aplasia cutis congenita) เป็นภาวะที่มีความบกพร่องของผิวหนังแต่กำเนิดเฉพาะจุดใดจุดหนึ่งของร่างกาย โดยส่วนใหญ่ราว ๆ 85% เกิดบริเวณกลางกระหม่อมของหนังศีรษะ สามารถเป็นลักษณะเฉพาะของโรคทางพันธุกรรมต่าง ๆ ได้มากมาย อย่างไรก็ตามภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นกับผิวหนังส่วนอื่นของร่างกายได้ โดยผิวหนังที่หายไปอาจสัมพันธ์กับความผิดปกติของกล้ามเนื้อและ/หรือกระดูก  หรือแม้กระทั่งเยื่อหุ้มสมองบริเวณนั้น ๆ ​ดร.นพ.ชวลิตกล่าวว่า  สาเหตุโดยส่วนใหญ่เป็นอาการแสดงของโรคทางพันธุกรรมต่าง ๆ หรือ อาจเกิดจากปัจจัยอื่น เช่น สารที่ก่อให้เกิดความผิดปกติและเกิดพิษแก่ทารกในครรภ์ (Teratogen and fetotoxic agent) หรือถูกรัดจากแถบถุงน้ำคร่ำ หรือภาวะแฝดที่ติดกัน (fetus papyraceus) โดย เด็กแรกเกิดอาจมีอาการเป็นแผลและหายได้ด้วยรอยแผลเป็นที่มีลักษณะบางเหมือนกระดาษ บางรายมีลักษณะเป็นแผลเปิดเป็นรู หรือแผลเปื่อย  มักพบผมขึ้นโดยรอบจุดแผลที่มีลักษณะคล้ายปลอกคอ (hair collar sign) ซึ่งลักษณะแบบนี้มักบ่งชี้ถึงความผิดปกติใต้ผิวหนังด้วย ​การวินิจฉัย โรคภาวะไม่มีผิวหนังตั้งแต่เกิด ที่จำเป็นและแม่นยำคือการตรวจร่างกายโดยแพทย์จะสังเกตเห็นผิวหนังที่หายไปภายในไม่กี่นาทีหลังคลอด หากปรากฏว่าอาจมีความผิดปกติของกระดูก  อาจมีการตรวจเพิ่มเติมเช่นเอกซ์เรย์ หรือการทำ CT/ MRI เพื่อให้แพทย์สามารถประเมินความรุนแรงของอาการได้ นอกจากนี้ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจหาความผิดปกติอื่นๆ หรือกลุ่มอาการทางโรคพันธุกรรม ​ส่วนด้านการดูแลรักษา ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาเฉพาะเจาะจง แต่จะเป็นการรักษาตามอาการ เช่น การดูแลแผลครีมซิลเวอร์ซัลฟาไดอะซีนหรือครีมยาฆ่าเชื้อ นอกจากนี้การรักษาของแพทย์จะขึ้นอยู่กับลักษณะที่ตรวจพบเช่น หากมีรอยโรคขนาดใหญ่ที่ศีรษะ อาจจำเป็นต้องมีการการผ่าตัดหรือมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาความผิดปกติในสมอง และหากพบว่ามีอาการร่วมอื่น ๆที่บ่งชี้ถึงกลุ่มโรคพันธุกรรมบางโรคอาจมีการส่งตรวจเพิ่มเติม ​อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่มีความผิดปกติของโครงสร้างใต้ผิวหนังร่วมด้วย จะส่งผลต่ออัตราการป่วยหรืออัตราการเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพบมีความผิดปกติในระบบประสาทหรือสมอง สำหรับการพยากรณ์โรคกลุ่มอาการทางพันธุกรรมจะแตกต่างกันไปตามโรคพันธุกรรมที่เป็นสาเหตุ

5 ทริคการกู้ผิวอ่อนแอให้แข็งแรง 

แดดเมืองไทยร้อนแรงมาก ถึงแม้จะทากันแดดแล้ว ก็อาจทำให้หน้าหมองคล้ำไม่รู้ตัว ทั้งผิวยังแห้งกร้าน ไม่สดใส ส่งผลให้ด่านหน้าของผิวหรือตาข่ายผิวหายไป แต่วันนี้เรามีทริคการกู้ผิวหน้าจาก รมย์รวินท์ คอสเมติก (Romrawin Cosmetics) มาแนะนำกัน หมั่นทำความสะอาดผิวหน้า อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพราะในแต่ละวันเราต้องเจอฝุ่นมลภาวะมากมาย รวมถึงการแต่งหน้าเครื่องสำอางที่อยู่บนผิว ถ้าหากเราทำความสะอาดไม่หมดจด ก็อาจทำให้หน้าหมองคล้ำ โทรม และเกิดสิวได้การดื่มน้ำเปล่าสะอาด เป็นประจำทุกวันในปริมาณมากๆ จะยิ่งช่วยทำให้ผิวชุ่มชื้น มีน้ำมีนวลและปรับสภาพฟื้นฟูผิวอย่างรวดเร็วด้วยตัวช่วยอีกหนึ่งอย่างที่ขาดไม่ได้เลยคือ การทาครีมกันแดดก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง เพราะจะช่วยให้ผิวไม่คล้ำเสียจากแสงแดด และยับยั้งการเกิดเม็ดสีรอยด่างดำที่โดนแสงแดดด้วยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอในแต่ละวัน ให้ถึง 8...

โรคฝีดาษลิงกับสถานการณ์โดยรวม 

ความจริงตัวโรคฝีดาษและความรู้เกี่ยวกับต่อโรคฝีดาษ มักจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ เพราะมันเป็นโรคเก่าแต่มีการอุบัติใหม่ โรคฝีดาษลิงเป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มไวรัสพอกซ์ (Poxvirus) ซึ่งเป็นไวรัสในกลุ่มเดียวกับไวรัสที่ทำให้เกิดฝีดาษคน (smallpox หรือ ไข้ทรพิษ) โดยมีรายงานการติดเชื้อครั้งแรกในลิงที่ใช้เป็นสัตว์ทดลองในปี พ.ศ. 2501 จึงเรียกว่า ฝีดาษลิง แต่แท้จริงแล้วสัตว์ที่เป็นรังโรค คือสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนู จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2513 จึงพบรายงานการติดเชื้อครั้งแรกในคน ​จากปัจจุบันมีผู้ป่วยยืนยันประมาณ 2,103 คน กระจายทั่วโลก ใน 42 ประเทศ โดยเฉพาะประเทศกลุ่มเสี่ยงในแถบยุโรปและอเมริกา โดยเฉพาะในประเทศสเปน อังกฤษ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และโปรตุเกส ที่มีรายงานการระบาดพบจำนวนผู้ติดเชื้อเกิน 20 คน ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งการระบาดในขณะนี้โรคฝีดาษลิงเป็นโรคประจำถิ่นในแถบอาฟริกากลางและอาฟริกาตะวันตก โดยพบมีรายงานผู้ป่วยติดเชื้อประปราย รวมถึงนอกถิ่นการระบาดจากการเดินทางไปในถิ่นระบาด ซึ่งการระบาดระลอกนี้เริ่มในช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 โดยพบผู้ป่วยในหลายประเทศโดยเฉพาะในทวีปยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย โดยพบในกลุ่มชายรักชายซี่งสันนิษฐานว่าเกิดจากการรวมตัวและมีกิจกรรมใกล้ชิดในช่วงเทศกาลไพรด์ (Pride month) ของกลุ่มหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) รศ.นพ.สุมนัส บุณยะรัตเวช กรรมการกลาง และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย กล่าวถึง อาการของโรคฝีดาษลิง จัดแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้...

5 ข้อน่าเฝ้าระวัง รู้ทันโรคไข้เลือดออก 

นอกจากโรคโควิด-19 ที่ยังสร้างความหวาดกลัวอย่างต่อเนื่อง แม้ว่ากำลังจะเข้าสู่โรคประจำถิ่นก็ตาม ตอนนี้ก็มีโรคฝีดาษวานรที่เราต้องเฝ้าระวังกันแล้ว หากจะกล่าวถึงหนึ่งในโรคระบาดที่อยู่กับประเทศไทยมาอย่างยาวนานคงไม่พ้นโรคไข้เลือดออก ภัยที่มากับยุงลายและภูมิอากาศแบบเขตร้อนชื้น บางรายมีอาการรุนแรงและอาจมีอาการแทรกซ้อนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ถึงแม้ว่าเราจะคุ้นเคยกับโรคไข้เลือดออก แต่ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจที่หลายคนอาจยังไม่รู้ เนื่องในโอกาสของ "วันไข้เลือดออกอาเซียน" หรือ ASEAN Dengue Day ซึ่งตรงกับวันที่ 15 มิถุนายน มาดูกันว่า 5 ข้อน่าเฝ้าระวัง เพื่อรู้ทันโรคไข้เลือดออกมีอะไรบ้าง อุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้น ส่งผลให้พื้นที่ระบาดของโรคไข้เลือดออกขยายวงกว้างขึ้น โรคไข้เลือดออกมีการระบาดตลอดปี แต่จะระบาดสูงสุดในช่วงฤดูฝน พื้นที่น้ำท่วมขังและพื้นที่ที่มีอุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียสขึ้นไป เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย...

เหงื่อออกมือไม่ใช่สัญญาณของโรคหัวใจ 

หลาย ๆ คนอาจจะเข้าใจผิดคิดว่าอาการ “เหงื่อออกมือ” อาจเป็นสัญญาณของโรคหัวใจ ซึ่งเป็นอาการเริ่มต้นที่เกิดขึ้น นอกเหนือจากอาการของโรคหัวใจที่พบกันอยู่เป็นประจำ คือ เหนื่อยง่าย หายใจเข้าได้ลำบาก มีอาการหอบหรือเป็นลมหมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุ ขาหรือเท้าบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือปลายมือปลายเท้าและริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ เหล่านี้เป็นอาการที่เกิดขึ้นและเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย ศัลยแพทย์ทรวงอกผู้เชี่ยวชาญด้านผ่าตัดส่องกล้องจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลวชิรพยาบาล ได้อธิบายถึงอาการของโรคหัวใจว่า ผู้ป่วยมักจะมีอาการเจ็บหรือแน่นหน้าอกและมีอาการปวดร้าวไปบริเวณคอหรือแขนซ้ายได้ ในบางรายอาจมีภาวะเหนื่อยง่าย ใจสั่น หรือ เหงื่อออกร่วมด้วยได้ โดยส่วนมากมักจะเกิดขึ้นขณะที่ผู้ป่วยกำลังทำงานหรือออกกำลังกาย ​แต่ในทางกลับกัน โรคเหงื่อออกที่มือนั้น ( hyperhidrosis ) ผู้ป่วยมักจะเป็นที่มือทั้ง 2 ข้าง และคนไทยจะป่วยเป็นโรคนี้โดยเฉลี่ย 3%ของประชากรของประเทศ คิดเป็นง่าย ๆ หากประเทศไทยมีประชากร 70 ล้านคน จะมีผู้ป่วยโรคนี้ ถึง 2.1 ล้านคน และสามารถพบได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิงเท่า ๆ กัน...

มารู้จักโรคฝีดาษลิง (monkeypox) 

โรคฝีดาษลิง (monkeypox) กับโรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษ (small pox) เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม pox virus เหมือนกัน แต่เป็นไวรัสคนละสายพันธุ์ ทั้งสองโรคมีการแพร่เชื้อและความรุนแรงที่ต่างกัน โดยโรคฝีดาษลิงจะมีความรุนแรงและอัตราการเสียชีวิตที่น้อยกว่าโรคฝีดาษ  โดยโรคฝีดาษลิงมีการรายงานการระบาดที่แถบทวีปแอฟริกาและอาจพบกระจายไปที่ทวีปอเมริกาหรือยุโรปเป็นบางช่วงเวลาผ่านการเดินทางหรือผ่านทางสัตว์ แต่โรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษไม่มีรายงานผู้ป่วยติดเชื้อมาตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2522 สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศจึงมาให้ข้อกระจ่างความรู้กับโรคนี้ รศ.พญ.จรัสศรี ฬียาพรรณ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โรคฝีดาษลิงติดต่อผ่านผิวหนังทางการสัมผัสสารคัดหลั่งหรือการโดนกัดจากสัตว์ที่ติดเชื้อจำพวกลิงหรือสัตว์ฟันแทะ เช่น หนูหรือกระรอก เป็นต้น มีรายงานการติดต่อจากคนสู่คนได้ผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งหรือแผลของผู้ป่วย การแพร่กระจายผ่านละอองฝอยพบได้น้อย การแพร่กระจายของโรคฝีดาษลิงพบน้อยกว่าโรคฝีดาษมาก  ​ส่วนอาการและอาการแสดงของโรคฝีดาษลิง ผู้ป่วยจะมีอาการหลังได้รับเชื้อประมาณ 7-14 วัน โดยจะเริ่มมีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ และปวดหลัง บางรายอาจมีอาการเจ็บคอ ท้องเสีย ปวดท้อง หรืออาเจียน ผื่นจะเริ่มขึ้น 1-3 วันหลังมีไข้ โดยจะเป็นผื่นแดงและกลายเป็นตุ่ม มักเริ่มที่หน้า ตัวและกระจายที่มือเท้า โดยตุ่มจะมีลักษณะเหมือนกันทั้งตัว หลังจากนั้นประมาณ14 วัน...

รู้ให้รอบก่อนทำ ศัลยกรรมปาก 

ศัลยกรรมริมฝีปาก แบ่งได้ออกเป็นกี่แบบ การผ่าตัดศัลยกรรมริมฝีปากได้รับความนิยมมาก เพราะสามารถทำให้ใบหน้าได้รูปทรงที่สมส่วนและสวยงามมากขึ้น และเรียวฝีปากที่อวบอิ่ม ยังบ่งบอกถึงความสดใสของใบหน้า ที่สร้างเสน่ห์ ดูอ่อนโยน เสริมโหงวเฮ้ง สร้างความมั่นใจในการเข้าสังคมและพบปะผู้อื่น โดยการทำศัลยกรรมริมปากแบ่งออกเป็น การทำศัลยกรรมปากกระจับ, ศัลยกรรมยกมุมปาก และเสริมเนื้อริมฝีปากให้หนาขึ้น   ศัลยกรรมปากกระจับ ทำให้รูปทรงของริมฝีปากที่ดูสุขภาพดี และมีส่วนนูนตรงกลาง ของริมฝีปากออกมาเล็กน้อย ดูมีมิติ เพิ่มเสน่ห์ให้กับริมฝีปาก  คล้ายทรงปีกนก หรือทรงคันธนู ซึ่งภาษาทางแพทย์เรียกว่า Cupid’s Bow และเป็นที่นิยมมากสำหรับชาวเอเชีย  โดยเทคนิคบางมด ทำให้แผลหายเร็ว เเละดูสวยงามสะกดตา ซึ่งศัลยแพทย์จะเย็บด้วยไหมละลาย ด้านในให้นูนขึ้น โดยไม่ตัดริมฝีปากด้านข้าง ซ่อนแผลไว้ที่ด้านในปาก โดยที่ไม่ต้องตัดเนื้อบริเวณริมฝีปากออกมา (Augmentation Cupid's Bow) เพื่อป้องกันการเกิดริมฝีปากบางเกินไป ทำให้ปิดปากได้ไม่สนิท...

ภาวะเหงื่อออกเป็นเลือด

จากกระแสข่าวพบเด็กหญิง 7 ขวบมีเลือดออกตา จมูก และผิวหนังโดยไม่ทราบสาเหตุนั้น เกิดจากโรคภาวะเหงื่อออกเป็นเลือด (Hematohidrosis)หรือที่เรียกว่าภาวะที่มีเลือดออกจากผิวหนังปกติที่ไม่มีร่องรอยบาดแผลใด ๆ ซึ่งสามารถพบเลือดออกได้ตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น หนังศีรษะ ฝ่ามือ หลังมือ หน้าผาก ใบหน้า ซอกพับ หรือดวงตา เป็นภาวะที่พบได้น้อยมาก แต่มักสร้างความตื่นตกใจและความเครียดต่อผู้ที่เป็นและผู้ที่พบเห็น  สาเหตุของการเกิดภาวะนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่อาจพบสัมพันธ์กับภาวะความเจ็บปวดทางร่างกาย เช่น โรคประจำตัวที่เป็นโรคเรื้อรังบางชนิด การออกกำลังกายอย่างหนัก การมีประจำเดือนผิดปกติ เป็นต้น นอกจากนี้ยังสัมพันธ์กับภาวะทางจิตใจ เช่น ความเครียด...
Social profiles