ภาวะเหงื่อออกเป็นเลือด

จากกระแสข่าวพบเด็กหญิง 7 ขวบมีเลือดออกตา จมูก และผิวหนังโดยไม่ทราบสาเหตุนั้น เกิดจากโรคภาวะเหงื่อออกเป็นเลือด (Hematohidrosis)หรือที่เรียกว่าภาวะที่มีเลือดออกจากผิวหนังปกติที่ไม่มีร่องรอยบาดแผลใด ๆ ซึ่งสามารถพบเลือดออกได้ตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น หนังศีรษะ ฝ่ามือ หลังมือ หน้าผาก ใบหน้า ซอกพับ หรือดวงตา เป็นภาวะที่พบได้น้อยมาก แต่มักสร้างความตื่นตกใจและความเครียดต่อผู้ที่เป็นและผู้ที่พบเห็น  สาเหตุของการเกิดภาวะนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่อาจพบสัมพันธ์กับภาวะความเจ็บปวดทางร่างกาย เช่น โรคประจำตัวที่เป็นโรคเรื้อรังบางชนิด การออกกำลังกายอย่างหนัก การมีประจำเดือนผิดปกติ เป็นต้น นอกจากนี้ยังสัมพันธ์กับภาวะทางจิตใจ เช่น ความเครียด...

มะเร็งผิวหนังในเล็บ 

จากกระแสที่เป็นข่าวเกี่ยวกับโรคมะเร็งผิวหนังที่เกิดขึ้นในเล็บ (Subungual melanoma) ทำให้หลายคนเกิดความวิตกกังวลที่จริงแล้วมะเร็งที่อยู่ใต้เล็บสามารถพบได้ในชาวเอเชียหรือคนผิวดำ ซึ่งมะเร็งชนิดนี้พบได้แต่ไม่บ่อยนัก ส่วนใหญ่เล็บที่มีแถบสีดำขึ้น มักจะยังไม่ถึงขั้นที่เข้าข่ายเป็นเนื้อร้าย แต่การตรวจดูเล็บเป็นประจำจะสามารถช่วยให้เราไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้เร็วขึ้น และได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็วก่อนที่จะมีการลามไปที่อวัยวะอื่น       แถบสีน้ำตาลอ่อนเป็นเส้นตรงมีความคมชัดดีและมีความกว้างไม่เกิน 6 มม.ถือว่าโอกาสจะเป็นมะเร็งค่อนข้างต่ำมาก วิธีการตรวจเล็บด้วยตัวเองสามารถยึดหลักง่าย ๆ ดังนี้ 1. แถบหรือเส้นสีน้ำตาลวิ่งตามความยาวของเล็บ: ตรวจดูว่าแถบสีน้ำตาลนั้นคมชัดดีหรือไม่  ถ้าคมชัดดีและมีความกว้างไม่เกิน 6 มิลลิเมตร ถือว่าโอกาสที่จะเป็นมะเร็งค่อนข้างต่ำมาก หากแถบสีมีความกว้าง สีไม่สม่ำเสมอ ขอบไม่คมชัด หรือ มีการเปลี่ยนสีและขนาด แนะนำว่าควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเร็วที่สุด 2. เม็ดสีบนจมูกเล็บ: หากสีน้ำตาลหรือดำเลอะขึ้นมาถึงจมูกเล็บ (Hutchinson’s sign) มักเป็นสัญญาณที่ไม่ดีและควรไปพบแพทย์ 3. ก้อนเนื้อใต้เล็บ: อาจทำให้เล็บแยกออกจากฐานด้านล่าง ถ้าสังเกตเห็นว่าเล็บมีลักษณะนี้แนะนำว่าควรพบแพทย์เช่นกัน  แถบสีน้ำตาลเข้มเป็นเส้นตรง มีความคมชัด แต่สีไม่สม่ำเสมอและอาจมีความกว้างเกิน 6 มม.แนะนำว่าควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังโดยเฉพาะ อ.พญ.ชนิตว์วัณณ์ วิชญชาคร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การที่เล็บมีสีผิดปกติสามารถเกิดจากอะไรได้บ้างนอกจากมะเร็งผิวหนัง ซึ่งความจริงแล้วการที่เล็บมีสีผิดปกติไม่จำเป็นต้องเกิดจากมะเร็งผิวหนังเสมอไป สาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เล็บเปลี่ยนสีได้ มีดังนี้ 1. แถบเล็บดำที่เป็นหลาย ๆ นิ้ว อาจเกิดจาก • เม็ดสีปกติในผู้ที่มีสีผิวเข้ม • ผิวหนังอักเสบรอบ...

ภาวะผมร่วงเป็นหย่อม

จากที่มีข่าวเรื่องการพูดถึงภรรยานักแสดงผู้มีชื่อเสียงในฮอลลีวูดเป็นโรคผมร่วงเป็นหย่อม โดยพิธีกรในงานออสการ์ ก่อให้เกิดความไม่พอใจแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากโรคนี้อาจจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอับอายหรือเป็นปมด้อยแต่อันที่จริงแล้วโรคนี้เป็นโรคที่รักษาได้ ไม่ควรเป็นโรคที่น่ารังเกียจต่อสังคมเพราะไม่ได้เป็นโรคติดต่อหรือโรคอันตรายแต่อย่างใด พญ.ชินมนัส เลขวัต ประชาสัมพันธ์สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยกล่าวว่า ภาวะผมร่วงเป็นหย่อม (alopecia areata) เป็นโรคที่พบได้บ่อยในทุกช่วงอายุ ผู้ป่วยมีอาการผมร่วงเป็นหย่อมๆที่ศีรษะ โดยอาจจะมีขนร่วงที่บริเวณอื่นร่วมด้วย เช่น คิ้ว หนวด จอนหรือขนตามร่างกาย ในรายที่เป็นมาก อาจมีอาการผมร่วงทั่วศีรษะหรือขนตามร่างกายร่วงจนหมดตามมา  ผู้ป่วยมักมีอาการผมร่วงเป็นหย่อมๆ ในผู้ป่วยที่มีอาการมากอาจมีผมร่วงเป็นบริเวณกว้างทั้งศีรษะ ทำให้ผู้ป่วยเกิดความอับอาย ไม่กล้าเข้าสังคม ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โรคนี้พบได้ประมาณ 0.2% ของประชากรทั้งหมดและพบได้ทุกกลุ่มอายุและเกิดได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง โรคผมร่วงเป็นหย่อมนี้เกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากการที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต้านตนเอง...

“โรคอกบุ๋ม” ก็ผ่าตัดรักษาได้!! 

โรคอกบุ๋ม หรือเรียกว่า Pectus Excavatum เป็นความผิดรูปของผนังทรวงอกที่พบบ่อยมากที่สุด ภาวะนี้มักเกิดจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ ของกระดูกส่วนล่างมากไป ส่งผลให้กระดูกสันอกถูกกดยุบลงไป ส่งผลทำให้หน้าอกเกิดการยุบตัว ซึ่งมีผลทำให้บุคลิกภาพหรือความมั่นใจเสีย โดยความผิดปกตินี้อาจพบได้ตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งเข้าสู่วัยรุ่น ในคนส่วนมากผู้ป่วยมักไม่มีอาการ แต่ในกรณีที่ภาวะนี้มีความผิดปกติอย่างรุนแรงอาจส่งผลทำให้มีอาการกดเบียดหัวใจและปอดได้ ทำให้มีอาการเหนื่อยง่าย ในบางรายอาจมีการกดเบียดลิ้นหัวใจทำให้ลิ้นหัวใจรั่วได้ ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์ทรวงอกเฉพาะทางด้านผ่าตัดส่องกล้อง  โรงพยาบาลวชิรพยาบาล กล่าวว่า โรคนี้ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดที่ โดยมักเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง 3-4 เท่า คนที่ประวัติครอบครัวอาจมีความเสี่ยงที่จะสืบทอดผ่านทางพันธุกรรมได้ วิธีการวินิจฉัยมักทำได้โดยการเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ (CT Chest) เพื่อดูสัดส่วนความกว้างยาวของบริเวณทรวงอกหรือที่เรียกว่า Haller index ถ้ามีอัตราส่วนมากกว่า 2.5 ถือว่ามีความผิดปกติ  ปัจจุบันวิธีการรักษาโรคนี้ ทำได้โดยการผ่าตัดวิธีเดียวเท่านั้น โดยจะมี 2 วิธีหลัก ๆ คือ วิธีการผ่าตัดแบบเปิด หรือ เรียกว่า Ravitch procedure หรืออีกวิธีที่เรียกว่า Sternal turnover  โดยทั้งนี้การผ่าตัดแบบเปิดเป็นการผ่าตัดแบบดั้งเดิม โดยการตัดกระดูกบริเวณหน้าอกแล้วพลิกกลับหรือตัดบริเวณกระดูกอ่อนแล้วดันขึ้นมา ส่วนอีกวิธีคือการผ่าตัดส่องกล้องหรือที่เรียกว่า Nuss procedure เป็นการผ่าตัดส่องกล้องโดยใช้แท่งโลหะผ่านบริเวณใต้กระดูกหน้าอกแล้วดัดกระดูก...

เสริมสร้างภูมิความรู้ควบคู่การดูแลไต 

​โรคไตเรื้อรังนั้นเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั้งของประเทศไทยและทั่วโลก ประมาณการกันว่า 1 ใน 10 ของประชากรผู้ใหญ่ทั่วโลกนั้นมีภาวะไตเรื้อรัง แม้ปัจจุบันจะมีการรักษาไตเรื้อรังระยะสุดท้ายด้วยการบำบัดทดแทนไตวิธีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดเปลี่ยนไต การฟอกไตทางช่องท้องและการฟอกเลือดก็ตาม แต่ผู้ป่วยกลุ่มนี้ก็ยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้และยังไม่มียาตัวใด ๆ ที่สามารถฟื้นการทำงานของไตเรื้อรังให้กลับมาสู่ภาวะปกติ ดังนั้นการรักษาโรคไตเรื้อรังที่ดีที่สุดในปัจจุบันจึงเป็นการป้องกันและการชะลอไตเสื่อมไม่ให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะไตวายระยะสุดท้ายนั่นเอง ถึงแม้โรคไตเรื้อรังจะเป็นโรคที่พบได้บ่อยและมีความสำคัญ แต่ผู้ป่วยจำนวนมากนั้นไม่ทราบว่าตนเองมีภาวะไตเรื้อรังซ่อนอยู่ เนื่องจากอาการเริ่มต้นของโรคไตเรื้อรังมักจะไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น มีปัสสาวะตอนกลางคืนหรือมีปัสสาวะเป็นฟอง การคัดกรองโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงจึงมีความสำคัญเพื่อทำให้สามารถวินิจฉัยและรักษาโรคไตเรื้อรังได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงของโรคดังต่อไปนี้ เช่น โรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, เก๊าท์หรือโรคแพ้ภูมิตนเอง, ผู้ป่วยที่มีเรื่องนิ่วหรือติดเชื้อทางเดินปัสสาวะหลายครั้ง, มีประวัติครอบครัวเป็นโรคไตเรื้อรังและผู้ป่วยที่รับประทานยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs เป็นประจำ เป็นต้น ผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรได้รับการตรวจคัดกรองด้วยการตรวจเลือดดูการทำงานของไตและตรวจดูความผิดปกติของปัสสาวะอย่างน้อยปีละครั้ง เมื่อตรวจพบโรคไตเรื้อรังแล้ว การรักษาจะมุ่งเน้นเพื่อชะลอการเสื่อมของไตไม่ให้ผู้ป่วยเข้าสู่ไตวายระยะสุดท้ายและเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคไต การรักษาจะมีทั้งการรักษาสาเหตุและการควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้ไตเสื่อมได้ไวขึ้น ส่วนใหญ่แล้วยาของแพทย์เพียงอย่างเดียวนั้นอาจจะไม่สามารถทำให้ถึงเป้าหมายของการรักษาได้ ผู้ป่วยที่มีความรู้ในการดูแลตนเองและสามารถปฏิบัติตนให้ถูกต้องจะทำให้ผลของการรักษาดีขึ้น โดยสามารถทำได้ดังนี้ 1. รับประทานยาครบตามกำหนด...

ส่อง Top 5 มะเร็งยอดฮิตในผู้ชายและผู้หญิง แนะป้องกันก่อนคุกคามชีวิต 

ปัญหาด้านสุขภาพกลายเป็นสิ่งที่หลายคนเกิดความกังวลเป็นอันดับต้น ๆ ในปัจจุบัน ท่ามกลางภาวะที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ ทั้งโรคอุบัติเก่าโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้น และกลายพันธ์อย่างรวดเร็วไม่เว้นแต่ละวัน จนตามแนวทางการรักษาหรือป้องกันกันไม่ทัน  ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 แต่ขณะเดียวกันโรคที่ไม่ติดต่ออย่าง “โรคมะเร็ง” ยังคงครองแชมป์ โรคร้ายที่สร้างความกังวลกับผู้คนทั่วโลกมาอย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบัน ด้วยมีอัตราการเสียชีวิตสูง จากตัวเลขของ wordometers.info ประเมินว่า ในช่วงปีที่ผ่านมา พบว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งไปแล้ว 5.12 ล้านคน และซึ่งเมื่อย้อนกลับไปปี 2563 พบจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งมากถึง 10 ล้านคน จากการประเมินของ Globocan ในการเก็บข้อมูลจาก 185 ประเทศ ขณะที่ประเทศไทยหากไม่นับอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุแล้ว โรคมะเร็งก็ยังคงครองแชมป์สาเหตุคร่าชีวิตประชากรไทยเป็นลำดับต้น ๆ มานานกว่า 20 ปี นับตั้งแต่ปี...

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง โรคใกล้ตัวที่ถูกมองข้าม 

“โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กโดยมีผื่นเป็นๆ หายๆ เด็กบางคนอาจยังคงมีอาการเรื้อรังต่อไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ การร่วมมือกับสมาคมแพทย์ผิวหนังฯ ในการจัดงานเสวนาออนไลน์ในครั้งนี้ ทางชมรมแพทย์ผิวหนังเด็กฯ มุ่งหวังว่าจะเป็นเวทีให้ความรู้สำหรับพ่อ แม่ ผู้ปกครองได้เข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้มากขึ้น เพื่อลดความวิตกกังวลและมีแนวทางการปฏิบัติในการดูแลสุขภาพของลูกน้อยอย่างถูกต้องเหมาะสม ตลอดจนส่งต่อความรู้ที่ถูกต้องกับเด็กในการดูแลตัวเอง เพื่อให้บุตรหลานของท่านมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้”  โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง หรือ Atopic Dermatitis เป็นโรคที่มีอาการผิวหนังอักเสบเรื้อรัง มักเป็นๆ หาย ๆ จากปัจจัยหลาย ๆ อย่างร่วมกัน ได้แก่ พันธุกรรม กำหนดให้ผู้ป่วยมีผิวแห้งและมักมีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว เช่น จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือมีโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังร่วมด้วย ปัจจัยสำคัญอีกข้อคือมีสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยกระตุ้นให้อาการกำเริบ โดยแต่ละคนจะมีปัจจัยที่กระตุ้นที่แตกต่างกัน ปัจจัยกระตุ้นที่พบได้บ่อย เช่น อาหารในเด็กเล็ก การติดเชื้อที่ผิวหนัง สารก่อการระคาย หรือสารก่อภูมิแพ้ ผิวหนังของผู้ป่วยจะไว (sensitive) ต่อสภาพแวดล้อมรอบตัวทั้งสภาพทางกายภาพ เช่น ภาวะอากาศร้อนเกินไป เย็นเกินไป หรือสารเคมีที่ระคายผิวหนัง เป็นต้น...

ชีวิตใหม่ไร้พุง…มากกว่าความมั่นใจคือสุขภาพดี 

คุณรู้หรือไม่ว่า โรคอ้วนเป็นโรคอย่างหนึ่ง เป็นโรคเหมือนกับโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคเอดส์หรือ โรคอื่น ๆ แต่ที่น่าเห็นใจคือ คนส่วนใหญ่ในสังคมไทยยังไม่เห็นว่าผู้ป่วยโรคอ้วนเป็นโรค ดังนั้นเราจะมารู้จักกับโรคอ้วนกันค่ะ  โรคอ้วนหมายถึง สภาวะที่ร่างกายมีไขมันสะสมมากเกินไป จนส่งผลเสียต่อสุขภาพ สำหรับในคนเอเชียนั้น เราจะถือว่าอ้วน เมื่อมีค่าดัชนีมวลกาย ตั้งแต่ 25 ขึ้นไป และถ้าสูงกว่า 30 จะถือว่าเป็นโรคอ้วนอันตราย โดยค่าดัชนีมวลกายหรือบีเอ็มไอ สามารถคํานวณได้จากอินเทอร์เน็ตโรคที่สัมพันธ์กับความอ้วน ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ไขมันพอกตับโรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ ข้อเข่าเสื่อม โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง เสี่ยงต่อหัวใจขาดเลือด หัวใจวาย อัมพฤกษ์อัมพาต และอาจเสียชีวิตได้ โดยผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป ทุก ๆ ค่าดัชนีมวลกายที่เพิ่มขึ้นครั้งละหนึ่ง จะทําให้ผู้ป่วยมีอายุขัยเฉลี่ยลดลง 8-10 ปีเทียบกับคนน้ำหนักปกติ ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคอ้วนมากถึงประมาณ 9% ของประชากรทั้งหมด...

เทคโนโลยีการผ่าตัดส่องกล้องปอดขั้นสูง

เทคโนโลยีการผ่าตัดส่องกล้องมีความจำเป็นต่อการรักษาทุก ๆ โรคที่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด เนื่องจากการผ่าตัดเทคนิคนี้ จะส่งผลทำให้เกิดอาการบาดเจ็บต่อร่างกายน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิด ซึ่งการผ่าตัดส่องกล้องจะทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวไว เจ็บแผลน้อยหลังได้รับการผ่าตัด ปัจจุบันการผ่าตัดแบบส่องกล้องแทบจะเป็นการผ่าตัดมาตรฐานในทุก ๆ อวัยวะภายในร่างกายไม่ว่าจะเป็นถุงน้ำดี ลำไส้ ไส้เลื่อน มดลูก จนไปถึงการผ่าตัดปอด ดังนั้นศัลยแพทย์ด้านนั้น ๆ จึงจำเป็นต้องมั่นฝึกฝนและศึกษาเพิ่มเติมในเทคโนโลยีนี้ เพื่อให้มีความเชี่ยวชาญและก่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด  อ.นพ.ศิระ เลาหทัย คณะแพทย์ศาสตร์วชิรพยาบาล แพทย์เฉพาะทางด้านการผ่าตัดส่องกล้องในช่องทรวงอก กล่าวว่า การผ่าตัดนั้นมีหลากหลายแบบ ถึงแม้หลักการจะคล้าย ๆ กัน แต่อุปกรณ์ที่ใช้หรือเทคนิคในการผ่าตัดมีความแตกต่างกัน การผ่าตัดแบบเปิดมักจะใช้เครื่องขนาดที่มือจับได้ แต่การผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง ศัลยแพทย์จะมีแต่เครื่องมือที่ใส่เข้าไปในรูนั้น ๆ ส่วนสายตาจะมองจอมอนิเตอร์หรือแอลอีดี ในลักษณะคล้ายกับการเล่นวีดีโอเกม ดังนั้นศัลยแพทย์ต้องฝึกฝนทักษะให้เกิดความชำนาญและเชี่ยวชาญ  ขอบเขตการให้บริการการผ่าตัดผ่านกล้องหรือที่เรียกว่า (VATS) Video assisted thoracoscopic surgery...

‘โรคหัวใจและหลอดเลือด’ ภัยเงียบที่คร่าชีวิตคนไทยราว 6 หมื่นรายต่อปี

รู้หรือไม่ว่าคนไทยเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ด้วยอัตราการเสียชีวิตกว่า 58,000 ราย ในปี 2563 ที่ผ่านมา และมีแนวโน้มที่ตัวเลขนี้จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ หลายคนอาจมองว่าโรคหัวใจนั้นเป็นเรื่องไกลตัว และไม่ได้คาดคิดว่าพฤติกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันอาจส่งผลให้โรคร้ายนี้ก่อตัวเป็นภัยร้ายแฝงอยู่ในร่างกายอย่างเงียบๆ แล้วเราจะเริ่มประเมินความเสี่ยงและรับมือกับภัยเงียบนี้ได้อย่างไร มาร่วมเจาะลึกทุกเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคหัวใจ และหลอดเลือด กับ อาจารย์นายแพทย์ ปริญญ์ วาทีสาธกกิจ อายุรแพทย์สาขาโรคหัวใจโรงพยาบาลรามาธิบดีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่จะมาถ่ายทอดความรู้และแนวทางการป้องกันโรคที่แม่นยำและทันสมัย พร้อมชวนคนไทยใส่ใจดูแลสุขภาพไปพร้อมๆ กัน รู้ทัน ‘โรคหัวใจ’ ภัยอันตรายสำหรับคนไทยที่ไม่ควรละเลย นอกเหนือจากอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดแล้ว ยังมีผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลอีกกว่า 6 แสนรายในปี...
Social profiles