เที่ยวมาเลย์ เฮได้ทั้งปี

“…กลับมาอีกครั้งกับแคมเปญ Malaysia Truly Asia – มาเลเซียที่สุดแห่งเอเชีย  ประเดิมปีลิงด้วยเทศกาลแห่งสีสันทางวัฒนธรรมที่หลากหลายเน้นความเป็น “ที่สุด” พร้อมเปิดปฎิทินเที่ยวมาเลย์ เฮได้ทั้งปี เทียบตารางวันหยุดยาวของไทยตลอดปี 2559 ให้เห็นว่ามาเลเซียมีไฮไลท์เด็ดอะไรพร้อมนำเสนอ การันตีประสบการณ์สุดคุ้มตอบโจทย์ทุกเพศทุกวัยในครอบครัว ในฐานะ “ประเทศน่าเที่ยวที่สุดของเอเชีย” จัดโดย World Travel Awards Asia & Australasia Gala Ceremony 2015 และ “แหล่งท่องเที่ยวสำหรับครอบครัวที่ดีที่สุด” ของ Lonely...

สานฝัน ต้นกล้าตากล้อง ยุวทูตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

ด้วยโครงการ “สานฝัน ต้นกล้าตากล้อง ยุวทูตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) ท่องเที่ยวไทย เป็นโครงการที่ต่อยอดมาจากโครงการต้นกล้า ตากล้อง ท่องเที่ยวไทย เกิดขึ้นเพื่อสร้างเครือข่ายให้เยาวชนได้เรียนรู้ในเรื่องของการถ่ายภาพท่องเที่ยวอย่างไรให้สวยจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศไทย ดำเนินการโดยกองเผยแพร่โฆษณาในประเทศ ฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ริเริ่มจัดอบรมการถ่ายภาพท่องเที่ยวให้กับเยาวชนและนักเรียนของโรงเรียนในจังหวัดต่าง ๆ หมุนเวียนกันไปทั่วทุกภูมิภาคของประทศไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ 2555 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เยาวชนคนรุ่นใหม่เกิดจิตสำนึกให้รักวิถีชีวิตขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมไทยและเพื่อเป็นการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ทำให้เยาวชนเกิดความรักหวงแหน และช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในท้องถิ่นของตนเองให้ยั่งยืนตลอดไปพร้อมช่วยเผยแพร่ภาพแหล่งท่องเที่ยวต่างๆออกสู่สายตาสาธารณชนผ่านทางโซเซียลมีเดียอีกด้วย [gallery columns="2" size="full" ids="7008,7007"] สำหรับโครงการ “สานฝัน ต้นกล้าตากล้อง ยุวทูตสามจังหวัด...

ฉลองครบรอบ 120 ปี “เทศกาลชมดอกบ๊วย มิโตะ”

จังหวัดอิบารากิ เชิญชวนนักท่องเที่ยวชาวไทยร่วมสัมผัสกลิ่นอายการเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ ด้วยงาน “เทศกาลชมดอกบ๊วย มิโตะ” (Mito Plum Festival) ณ สวนไคราคุเอ็น (Kairakuen) และโคโดกัน (Kodokan) เมืองมิโตะ จังหวัดอิบารากิ ที่สร้างประวัติศาสตร์จัดต่อเนื่องยาวนานครบรอบ 120 ปี ในปีนี้ นับเป็นเทศกาลดอกบ๊วยที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ – วันพุธที่ 31 มีนาคม 2559 • จัดขึ้น...

เยือนเมืองคู่แฝดจากปราจีนบุรี สู่ พระตะบอง

เมื่อเดือนธันวาคมปลายปีที่ผ่านมา ผมได้รับการเชิญชวนจาก กองการตลาดของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยภูมิภาคภาคตะวันออกเดินทางไปเยือนเมืองคู่แฝดตามรอย เจ้าพระยาอภัยภูเบศร(ชุ่ม อภัยวงศ์)จากจังหวัดปราจีนบุรีสู่เมืองพระตะบองในประเทศกัมพูชาเพราะทั้งสองจังหวัดนี้มีลักษณะทางภูมิประเทศและประวัติศาตร์ที่ผ่านมาคล้ายคลึงกันจนเปรียบเสมือนกับสองเมืองคู่แฝด สำหรับประวัติศาสตร์ไทยในเรื่องของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) (คำว่าอภัยภูเบศร เป็นตำแหน่งไม่ใช่ชื่อคน) เมื่อประมาณ100 ปีที่ผ่านมา ท่านเคยเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบองในช่วงเวลาที่เมืองพระตะบองยังเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยาม ต่อมาภายหลังสยามได้เสียดินแดนส่วนนี้ไปให้กับฝรั่งเศสและจากบันทึกของท่านเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) ท่านได้กล่าวไว้ว่า การที่ท่านไม่ย้ายไปอยู่ในกรุงเทพฯ เนื่องจากเป็นห่วงชาวบ้านที่อพยพตามมาตั้งแต่ครั้งยังอยู่เมืองพระตะบองด้วยกัน โดยตอนที่ท่านอพยพมามีชาวบ้านตามมาด้วยเกือบทั้งเมือง บางกลุ่มเดินทางแยกย้ายไปตั้งรกรากกันที่บุรีรัมย์ เนื่องจากปราจีนบุรีตอนนั้นมีแต่ป่า ซึ่งเทียบกับเมืองพระตะบองแทบไม่ได้ เพราะพระตะบองสมัยนั้นรุ่งเรืองและเป็นเมืองใหญ่ที่รองมาจากกรุงเทพฯ จากนั้นเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) จึงได้ทำการอพยพครอบครัวพร้อมชาวบ้านจำนวนไม่ต่ำกว่า 1,000 คน...
Social profiles