เดลล์ เทคโนโลยีส์ เปิดตัวนวัตกรรมพีซีใหม่ พร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วง รองรับกระแส work from anywhere

เดลล์ เทคโนโลยีส์ ประกาศเปิดตัวสายผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มาพร้อมความเป็นอัจฉริยะ (intelligent) ความสามารถในการทำงานร่วม (collaborative) และชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์แบบยั่งยืน (sustainable) เพื่อให้ผู้ใช้และคนทำงานมีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น สามารถทำงาน (work) หรือใช้งานเพื่อการผ่อนคลาย (play) ได้จากในทุกที่ เดลล์ เทคโนโลยีส์ เชื่อว่าพีซีคือทางเชื่อม หรือประตูที่นำพาผู้คนไปสู่การทำงาน การใช้งานเพื่อพักผ่อน และเพื่อการเรียนรู้ และอย่างที่มีการคาดหวังต่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของผู้ใช้ที่มีต่อเทคโนโลยี ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเดลล์ได้ก้าวข้ามขอบเขตและอุปสรรคต่างๆ ในการสร้างสรรค์อุปกรณ์ที่สามารถให้ประสบการณ์การทำงานที่ดียิ่งขึ้นและบูรณาการเข้าสู่ชีวิตประจำวันของผู้คนได้มากขึ้น อุปกรณ์ใหม่เหล่านี้ได้รับการสร้างสรรค์และออกแบบด้วยนวัตกรรมด้วยการคำนึงถึงส่วนประกอบสำคัญหลักที่ครอบคลุมทั้ง ความเป็นอัจฉริยะ (Intelligence) การทำงานร่วมกัน (Collaboration) การเชื่อมต่อ (Connectivity) การรักษาความปลอดภัย (Security) และ ความยั่งยืน (Sustainability) “เป็นที่พิสูจน์แล้วว่าพีซีไม่ได้ตายไปจากตลาดอย่างที่มีการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ และด้วยรูปแบบของการทำงานได้จากทุกที่ (work from anywhere) และการเรียนรู้ทางไกล (remote learning) ที่กำลังกลายมาเป็นกระแสหลัก จึงเป็นที่ชัดเจนว่าพีซียิ่งทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในการช่วยให้เราสามารถเชื่อมต่อ ทำงานร่วมกัน อีกทั้งยังสามารถทำงานในแบบที่สมาร์ทยิ่งขึ้นได้ในเวลาเดียวกัน” นายนพดล ปัญญาธิปัตย์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย เดลล์ เทคโนโลยีส์ กล่าว “ที่เดลล์เราออกแบบพีซีที่เป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อให้สามารถช่วยให้คุณทำงานได้จากทุกที่และทำงานได้อย่างดีที่สุด” Latitude 9520 2-in-1: เมื่อความชาญฉลาดผสานเข้ากับนวัตกรรม ออกแบบมาเพื่อช่วยให้คุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถทำงานในแบบคอลลาบอเรตได้ง่ายขึ้น เครื่อง Latitude 9520 2-in-1 พีซีธุรกิจระดับพรีเมียมขนาด 15 นิ้ว...

เทรนด์ไมโครเผยความท้าทายบทใหม่ของ Cybersecurity ในงาน Perspectives 2021

เทรนด์ไมโครชี้การระบาดของไวรัส การเร่งเข้าสู่การปฏิรูปทางดิจิทัล (Digital Transformation) การพบกันของ OT หรือเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติงาน (Operation Technology) กับ IT พร้อมการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างพื้นฐานและพฤติกรรมคนทำงาน กำลังนำพาการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์เข้าสู่ความท้าทายบทใหม่ที่ต้องรับมือกับอาชญากรและอาชญากรรมบนไซเบอร์ที่เปลี่ยนรูปแบบไปเช่นเดียวกัน เอวา เฉิน ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เทรนด์ไมโครกล่าวในงาน Trend MicroPerspectives 2021 แสดงวิสัยทัศน์และมุมมองในเชิงลึกของเทรนด์ไมโครที่มีต่อโลกของไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ชี้ให้เห็นปัจจัยการเปลี่ยนแปลงในโลกการทำงานและการดำเนินธุรกิจที่มาจากการมาถึงของการระบาดของไวรัส การเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตและการทำงานที่ส่งผลให้เกิดช่องว่างการโจมตีบนไซเบอร์รูปแบบใหม่ พร้อมแนะนำรูปแบบการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือ “ขณะที่การระบาดของไวรัสบังคับให้เราต้องแยกตัวออกจากกัน อันนำไปสู่การเร่งกระบวนการปฏิรูปทางดิจิทัลเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจ และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นหมายถึงการที่เราแยกตัวออกจากกันในการทำงาน ในการเรียน แต่ในขณะเดียวกัน เรากลับยิ่งเชื่อมต่อและเชื่อมโยง (connected) เข้าด้วยกันมากยิ่งขึ้นบนโลกของไซเบอร์ และนี่คือสิ่งที่อาชญากรไซเบอร์มองเห็น คือสิ่งที่ทำให้โซลูชั่นความปลอดภัยทางไซเบอร์ของเราต้องก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เพื่อรับมือ” จากข้อมูลของภูมิทัศน์ภัยคุกคาม (threats landscape)ในปี 2020 พบว่า สำนักงานสืบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (FBI) ได้รับการร้องเรียนเป็นจำนวนมากกว่า 2,000 ครั้งต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นถึง 69 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (YoY) หรือคิดเป็นมูลค่าความเสียหายที่สสูงถึง 4.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะเดียวกันยังตรวจพบว่ารูปแบบของการโจมตีและเรียกค่าไถ่บนไซเบอร์ที่เรียกว่าแรนซัมแวร์มีการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มรูปแบบของตระกูลการโจมตี(Ransomware Family) ขึ้นถึง 34 เปอร์เซ็นต์ โดย Top 10ของอุตสาหกรรมที่เป็นเป้าหมายการโจมตีในปี 2020ได้แก่ ภาครัฐบาล ธนาคาร อุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing) เฮลธ์แคร์ การเงิน การศึกษา เทคโนโลยี อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ (Oil & Gas) และประกันภัย ตามลำดับ)...

ESRI ชู ArcGIS ตัวช่วยบริหารจัดการ “สมาร์ทซิตี้” ยุคใหม่ หนุนใช้ Location Intelligence วิเคราะห์เชิงลึกงานก่อสร้าง – อสังหาฯ สู่เมืองอัจฉริยะ

บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้าน Location Intelligence การวิเคราะห์ภูมิสารสนเทศในมุมมองใหม่ จากความเชี่ยวชาญในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ArcGIS ในประเทศไทยมากว่า 30 ปี รุกกลุ่มธุรกิจงานจัดการ “สมาร์ทซิตี้” หนึ่งในเรือธงธุรกิจ ชู ArcGIS เป็นตัวช่วยสำคัญในการบริหารจัดการสมาร์ทซิตี้ ด้วยการนําเทคโนโลยี GIS เข้ามาประยุกต์บูรณาการฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพิ่มศักยภาพวิเคราะห์จัดการ วางแผนงานเชิงลึกโครง การก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ รับการเติบโตขยายตัวของเมือง สู่การพัฒนาโซลูชันให้ตรงจุดสอดคล้องกับความเป็นเมืองอัจฉริยะ พร้อมสร้างศูนย์กลางข้อมูล เปิดพื้นที่เชื่อมประสานแต่ละโครงการกับทุกภาคส่วน เผยหัวใจสำคัญสู่ความสำเร็จของ “สมาร์ทซิตี้” คือ การร่วมมือของภาครัฐระดับท้องถิ่น องค์กรเอกชน และประชาชนอย่างเป็นระบบ  นางสาวธนพร ฐิติสวัสดิ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ในปัจจุบันประเทศไทย เป็นประเทศหนึ่งที่มีอัตราการขยายตัวของเมืองสูง (Urbanization) สังเกตได้จากการกระจายตัวของการสร้างที่อยู่อาศัยที่ขยายออกสู่ชานเมืองอย่างรวดเร็ว รวมทั้งโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคและโครงการคมนาคมขนาดใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้น เพื่อรับรองการดำเนินชีวิตของทุกคน จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องนำนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีเข้ามาบริหารจัดการเมืองสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) เอื้อต่อการเติบโต ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมในอนาคตซึ่งที่มาของแผนทิศทางบริษัทฯ ในปี 2564 นี้ คือการเดินหน้านำ Location Intelligence เข้ามามีบทบาทในการวิเคราะห์จัดการโครงการต่าง ๆเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเมือง ปรับปรุงและลดความซ้ำซ้อนของกระบวนการทำงานทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่การเป็นดิจิทัล เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สอดรับนโยบายภาครัฐในการขับเคลื่อนประเทศตามนโยบาย Thailand 4.0  การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเมืองสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) อย่างสมบูรณ์ จําเป็นต้องมีข้อมูลเชิงตําแหน่ง (Location-based) เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางผังเมือง ออกแบบและวางแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้วยการนําเทคโนโลยี GIS เข้ามาประยุกต์บูรณาการฐานข้อมูล นําไปสู่หลักการพัฒนาโซลูชันให้สอดคล้องกับโครงการต่าง ๆ ของ สมาร์ทซิตี้ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 1. สนับสนุนการวางแผนและงานด้านวิศวกรรม (Planning and...
Social profiles