Elekta ผู้นำตลาดด้านการปฏิวัติการรักษาโรคมะเร็ง ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยแล้ว เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับสถานะของบริษัททั่วเอเชีย

Read Time:2 Minute, 5 Second

Elekta ผู้นำตลาดในการปฏิวัติการรักษาโรคมะเร็ง ได้เปิดดำเนินธุรกิจในประเทศไทยแล้ว เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจในภูมิภาคเอเชีย
Elekta มีการจัดประชุมผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2566 ณ โรงแรมมณเฑียร สุรวงศ์ กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้งานได้มีส่วนร่วม ตลอดจนให้ความรู้ ความเข้าใจและนำเสนอวิทยาการล่าสุดให้แก่ผู้ใช้งาน

Elekta (EKTA-B.ST) ประกาศจัดตั้งสำนักงานแห่งใหม่ในกรุงเทพฯ โดยมุ่งนำวิทยาการการรักษาโรคมะเร็งให้แก่ประเทศไทยและประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเชีย โดยทางบริษัทฯ ได้จัดประชุมผู้ใช้งานขึ้นครั้งแรก ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2566 เพื่อแบ่งปันทักษะความรู้และความชำนาญในทางรังสีรักษาให้กับผู้ใช้งาน

มาร์โค ลี รองประธานอาวุโสบริษัท Elekta ประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น กล่าวว่า “เนื่องด้วยประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นในทุกๆปี การจัดตั้งบริษัท Elekta ในประเทศไทยจึงมีส่วนช่วยในการสนับสนุนวิทยาการ และ ให้การรักษาที่มีคุณภาพสูงให้แก่ผู้ป่วย นอกจากนี้ยังช่วยให้เราใกล้ชิดกับลูกค้ามากขึ้น อีกทั้งการจัดตั้งบริษัท Elekta ยังสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลไทยที่ต้องการเพิ่มจำนวนเครื่องฉายรังสี เพื่อย่นระยะเวลาการเข้าถึงการรักษา”

โดย Elekta จะดำเนินการตามกลยุทธ์ – ACCESS 2025 – ซึ่งมีเป้าหมายในการเสริมสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งในประเทศที่มีการเติบโตสูง อาทิเช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และเวียดนาม อีกทั้งยังคาดหวังให้ Elekta ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางแห่งใหม่ที่ช่วยสนับสนุนเป้าหมายนี้ ในขณะเดียวกันยังช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านให้เข้าถึงและได้รับการบริการอย่างทั่วถึงอีกด้วย

สำหรับการประชุมผู้ใช้งานครั้งแรกของ Elekta แห่งประเทศไทย ได้มีโรงพยาบาลและกลุ่มลูกค้าทางการแพทย์ต่างๆเข้าร่วมกว่า 40 องค์กร โดยในงานประชุมมีการนำเสนอวิทยาการเทคโนโลยีทางการแพทย์ล่าสุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนทางรังสีรักษาให้แก่ผู้ป่วย ผ่านแอปพลิเคชั่น ที่ชื่อว่า ProKnow บนคราวด์ โดย ProKnow จะเป็นตัวช่วยในการเรียนรู้ เพื่อสร้างแผนการรักษาที่ถูกต้องและแม่นยำ โดยพิจารณาจากลักษณะเฉพาะของผู้ป่วยและลักษณะของเนื้องอก โดยแผนการรักษาที่ดีจะช่วยให้สามารถกำหนดขอบเขต และ ปริมาณรังสีที่เหมาะสมแก่เนื้องอกและลดความเสียหายต่อเนื้อเยื่ออื่นรอบข้างได้ นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะระหว่างผู้เข้าร่วมใช้งานบนแอปพลิเคชั่น เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดี และ ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานทางการแพทย์ของผู้เข้าร่วมต่อไป

Previous post คนอายุน้อย…ทำไมเป็นมะเร็งปอดมากขึ้น
Next post “รมว.พิมพ์ภัทรา” เปิดงานประจำปี สศอ. OIE Forum 2566พลิกโฉมอุตสาหกรรมไทย
Social profiles