หมดกังวลกับโรคอกบุ๋ม

Read Time:2 Minute, 54 Second

โรคอกบุ๋ม หรือเรียกว่า Pectus Excavatum (Funnel chest) เป็นความผิดรูปของผนังทรวงอกที่พบบ่อย ในคนทั่วไป ส่งผลทำให้บุคลิกภาพหรือความมั่นใจเสียไป โดยความผิดปกตินี้อาจพบได้ตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งเข้าสู่วัยรุ่น โดยโรคนี้เกิดจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของกระดูกอ่อนที่เชื่อมกับกระดูกหน้าอกและกระดูกซี่โครง ส่งผลทำให้หน้าอกเกิดการยุบตัว โดยผู้ป่วยมักไม่มีอาการ แต่ในกรณีที่ภาวะนี้มีความผิดปกติอย่างรุนแรง อาจส่งผลทำให้มีอาการกดเบียดหัวใจและปอดได้ ในบางรายอาจมีการกดเบียดลิ้นหัวใจทำให้ลิ้นหัวใจรั่วและมีอาการเหนื่อยง่าย บางรายอาจมีภาวะร่วมอย่างอื่นได้เช่นกระดูกสันหลังคด หรือภาวะจากยีนผิดปกติ เช่น Marfan syndrome ได้

ศ.นพ.ศิระ เลาหทัย จากคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล กล่าวว่าโรคนี้ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด พบอัตราส่วนการเจ็บป่วย 1 ต่อ 1,000 คนและมักเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง 3-4 เท่าและอาจเจอกระดูกสันหลังคดร่วมด้วยวิธีการวินิจฉัยมักทำได้โดยการเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT chest) เพื่อดูสัดส่วนความกว้างยางของบริเวณทรวงอก หรือ ที่เรียกว่า Haller index  ถ้ามีอัตราส่วนมากกว่า 2.5 ถือว่ามีความผิดปกติ

ปัจจุบันวิธีการรักษาโรคนี้ รักษาได้ทั้งผ่าตัด และ ไม่ผ่าตัดการรักษาโดยไม่ผ่าตัดนั้น สามารถใช้อุปกรณ์ดูดผนังทรวงอก หรือ เรียกว่า Vacuum bell  ซึ่งมักนิยมใช้ในผู้ป่วยที่ภาวะอกบุ๋ม แบบไม่รุนแรง กลไกการรักษาโดยวิธีจะใช้ เครื่องมือตัวนี้ทำหน้าที่ดูดบริเวณที่หน้าออกยุบขึ้นมา โดยจะค่อยช่วยอย่างช้า ๆ ซึ่งจะใช้เวลาอย่างต่ำ 1 ถึง 2 ปี ในการที่จะเห็นผล มักทำในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 10 ขวบและภาวะอกบุ๋มไม่รุนแรง (โดยความลึกไม่มากกว่า 1.5 เซนติเมตร)

โดยวิธีการคือการผ่าตัดนั้น มักจะใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะอกบุ๋มแบบรุนแรง โดยจะมีวิธีการผ่าตัดหลัก 2 วิธี คือ วิธีการผ่าตัดแบบเปิด หรือ เรียกว่า Ravitch procedure หรือ อีกวิธีที่เรียกว่า Sternal turnover  โดยทั้งนี้ เปิดการผ่าตัดแบบดั้งเดิม โดยการตัดกระดูกบริเวณหน้าอกแล้วพลิกกลับหรือตัดบริเวณกระดูกอ่อนแล้วดันขึ้นมา 

ส่วนอีกวิธีคือ การผ่าตัดส่องกล้อง หรือที่เรียกว่า Nuss procedure เป็นการผ่าตัดส่องกล้องโดยใช้แท่งโลหะผ่านบริเวณใต้กระดูกหน้าอกแล้วดัดกระดูก โดยไม่ได้มีการตัดกระดูก โดยจะใช้เวลาดัดประมาณ 3-4 ปี หลังจากนั้นจะเอาเหล็กออก ซึ่งจะสามารถลดภาวะแทรกซ้อน และ ฟื้นตัวได้ไหวกว่าการผ่าตัดแบบเปิดอย่างเห็นได้ชัด 

ภายหลังการดูแลหลังจากการผ่าตัด จะต้องสังเกตอาการ ควบคุมอาการปวดโดยยาหลายแขนง สามารถกินข้าวได้ตามปกติหลังผ่าตัด โดยแพทย์จะเฝ้าติดตามโดยการทำเอ็กซเรย์ และผู้ป่วยกลับบ้านได้ภายใน 5-7 วันและเมื่อกลับบ้านแล้ว ผู้ป่วยจะต้องลดการยกของหนัก หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาที่ใช้การปะทะ เช่น ฟุตบอล  บาสเก็ตบอล สามารถเริ่มเล่นกีฬาฯ เบา ๆ เช่น วิ่งหรือว่ายน้ำ หลังผ่าตัด 6 เดือน ส่วนขั้นตอนการนำเหล็กออกจะใช้เวลาประมาณ 3-4 ปี เป็นอย่างน้อย ขึ้นอยู่กับอายุของผู้ป่วยด้วย   ผู้ป่วยท่านใดที่สนใจสามารถเข้าไปสอบถามเพิ่มเติมผ่านเพจเฟซบุ๊กผ่าตัดปอดหรือ Lineid:@lungsurgeryth 

Previous post NT แถลงผลการดำเนินงานครึ่งปีแรก 2566 มุ่งผลักดันเทคโนโลยีดิจิทัลสู่หน่วยงานภาครัฐ ชูสถานะผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานและดิจิทัลผ่านความเป็นกลาง
Next post BAM ผลงานดีครึ่งปี 2566 ผลเรียกเก็บ 7,357 ล้านบาท ขยายพอร์ตได้กว่า 22,000 ล้านบาท
Social profiles