“รู้เท่าทันไทรอยด์ด้วยวิธีการรักษาสมัยใหม่”การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ผ่านทางช่องปาก  

ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อมีลักษณะคล้ายผีเสื้ออยู่ส่วนล่างของกลางลำคอ มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนไทรอยด์ ทำหน้าที่ในการเผาผลาญให้เกิดพลังงาน โดยทั่วไปจะแบ่งเป็นต่อมที่อยู่ข้างขวาและข้างซ้ายและจะมีแนวเชื่อมกันตรงกลางบริเวณหน้าหลอดลม ต่อมไทรอยด์ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญที่ช่วยในการควบคุมระบบการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย โดยร่างกายจะสามารถผลิตฮอร์โมนได้จากการสั่งงานจากสมอง ซึ่งสมองจะหลั่งฮอร์โมนมาควบคุมต่อมไทรอยด์ให้หลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ได้อย่างถูกต้อง รวมถึงร่างกายต้องมีสารตั้งต้นในการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ คือ สารไอโอดีน ในปริมาณที่เพียงพอจึงจะทำงานได้ปกติ การผ่าตัดต่อมไทรอยด์เป็นหัตถการที่มักทำกับผู้ป่วยที่มีเนื้องอกที่ต่อมไทรอยด์ขนาดใหญ่มีการกดเบียดหลอดลมหรือหลอดอาหารทำให้หายใจหรือกลืนลำบาก หรือในก้อนเนื้องอกที่มีลักษณะต้องสงสัยว่าอาจเป็นมะเร็ง การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ผ่านทางช่องปาก เป็นเทคนิคการผ่าตัดวิธีล่าสุดที่ได้รับการพัฒนาจนเป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก โดยในการผ่าตัดจะใช้เทคโนโลยีกล้องขนาดเล็กที่มีความละเอียดสูงช่วยในการผ่าตัด ทำให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก โดยแผลจะอยู่บริเวณด้านในของริมฝีปากล่าง ตรงกลางขนาด 1.5 เซนติเมตร และด้านข้างอีก 2 จุด จุดเด่นของการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ผ่านทางช่องปากจะไร้รอยแผลเป็น ซึ่งมีข้อดีคือ ไม่ก่อให้เกิดรอยแผลเป็นหลังการผ่าตัด ซึ่งแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดสามารถทำหัตถการได้สะดวกและง่ายขึ้นจากการส่องกล้อง อีกทั้งยังลดระยะเวลาการผ่าตัดและทำให้คนไข้เจ็บปวดน้อยและฟื้นตัวเร็ว ผู้ที่ป่วยด้วยโรคไทรอยด์ มักพบความผิดปกติที่สามารถเกิดได้ที่ต่อมไทรอยด์แบ่งเป็น 2 อย่างหลักๆ คือ · ความผิดปกติที่ฮอร์โมน โดยความผิดปกติที่ฮอร์โมนอาจจะเกิดจากต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนมากเกินไปหรือภาวะไทรอยด์เป็นพิษ และการผลิตฮอร์โมนที่น้อยเกินไป โดยอาจเกิดจากตัวต่อมไทรอยด์เองหรือส่วนของสมองที่ควบคุมการรักษาในกลุ่มนี้จะมีเป้าหมายเพื่อทำให้ฮอร์โมนไทรอยด์กลับมาปกติ...

ความรู้เกี่ยวกับโรคปอดอักเสบ และการรักษาโรคปอดอักเสบในผู้สูงอายุ 

โรคปอดอักเสบ เป็นโรคที่มีการอักเสบของเนื้อปอด ซึ่งประกอบไปด้วยถุงลมปอดและเนื้อเยื่อโดยรอบมีอาการบวมขึ้น ทำให้ปอดทำหน้าที่ได้น้อยลงส่งผลอาการหายใจเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก ในบางรายผู้ป่วยอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ ซึ่งถ้าตรวจพบในระยะแรกเริ่มจะสามารถรักษาให้หายได้ ซึ่งอาการแสดงและความรุนแรงของโรคจะแตกต่างกันไป และบางครั้งอาจพบปอดอักเสบเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่น ๆ ด้วย สำหรับปอด เป็นอวัยวะในระบบทางเดินหายใจที่อยู่ภายในทรวงอกทั้ง 2 ข้าง ซึ่งมีลักษณะเป็นเนื้อหยุ่นๆ สีออกชมพู มีหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซจากอากาศที่เราหายใจเข้าไป คือ ในช่วงหายใจเข้าปอดจะทาหน้าที่นาก๊าซออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงร่างกาย และในขณะเดียวกันปอดจะขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการออกมากับลมหายใจ ปกติเนื้อปอดจะเป็นอวัยวะที่ปราศจากเชื้อโรค เมื่อมีเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ เข้าไปถึงเนื้อปอดจะส่งผลให้เนื้อปอดมีการอักเสบและมีการบวมเกิดขึ้น ในคนที่มีสุขภาพดีร่างกายจะมีระบบภูมิต้านทานโรคที่ดีที่จะช่วยขจัดเชื้อโรค และของเสียในทางเดินหายใจได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือที่เรียกว่าการไอนั้นเอง แต่ในคนที่มีระบบภูมิคุ้มกันลดลง หากปอดติดเชื้อก็จะเกิดปอดอักเสบได้ง่ายขึ้นและมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคปอดอักเสบ...

มะเร็งปอดภัยอันตรายที่ไม่มีอาการ 

ปัจจุบันโรคมะเร็งปอดยังคงเป็นสาเหตุหลัก ของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของผู้ป่วยโรคมะเร็งในประเทศไทย โดยสาเหตุที่เกิดนั้นมักมาจากเราพบตัวมะเร็งชนิดนี้ค่อนข้างช้าเกินไป ส่วนหนึ่งเพราะมะเร็งปอดเป็นโรคมะเร็งที่ไม่แสดงอาการ ซึ่งเมื่อตรวจพบเจอก็มักจะเป็นในระยะท้าย ๆ ของโรค ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย ศัลยแพทย์ทรวงอกเฉพาะทางด้านผ่าตัดส่องกล้อง คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล กล่าวว่า อวัยวะปอดของคนเหล่านั้นประกอบด้วยถุงลมขนาดเล็ก (Alveoli) จำนวนมากมายที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนออกซิเจน เมื่อใดก็ตามที่มีตัวมะเร็งก่อกำเนิดขึ้นเป็นจุดเล็ก ๆ ปอดของเราก็ยังคงสามารถทำงานได้ตามปกติโดยที่ยังไม่มีการแสดงอาการ อีกทั้งในคนปกติถึงแม้เราจะสูญเสียพื้นที่ปอดไป 50 เปอร์เซ็นต์ ร่างกายของเราก็ยังสามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนและใช้ชีวิตได้ตามปกติ ดังนั้นกว่าผู้ป่วยมะเร็งปอดจะมีอาการหรือรู้สึกตัว มักจะมาด้วยอาการน้ำท่วมปอดหรือมีก้อนกระจายไปในหลายตำแหน่ง จนทำให้มีอาการเกิดขึ้น โดยอาการของมะเร็งปอด อาจเกิดมีได้ตั้งแต่ไอ เจ็บหรือแน่นหน้าอก เหนื่อยหรือไอเป็นเลือดได้ จากข้อมูลมะเร็งปอดในปัจจุบันนั้น มีหลากหลายปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งปอด...

เทคนิค 10 ขั้นตอนที่ควรรู้ ก่อนเข้ารับการผ่าตัดทุกชนิด 

การมีสุขภาพที่ดีนั้นเป็นสิ่งที่หลายคนต้องการ แต่อย่างไรก็ตามเมื่ออายุมากขึ้นโรคภัยไข้เจ็บเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ บางคนอาจป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ บางคนอาจป่วยหนักจนไปถึงขั้นต้องนอนโรงพยาบาล หรือในบางรายป่วยหนักจนต้องถึงขั้นเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดเลยก็มี ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย ศัลยแพทย์ทรวงอกเชี่ยวชาญด้านผ่าตัดส่องกล้องโรงพยาบาลวชิรพยาบาลได้กล่าวว่า ปัจจุบันในประเทศไทยมีผู้ได้รับการผ่าตัดเล็กจนไปถึงการผ่าตัดใหญ่เป็นจำนวนมากกว่า 100,000 รายต่อปี การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดนั้นมีความสำคัญค่อนข้างมาก นอกจากจะทำให้ผู้ป่วยเข้าใจในหลักการวิธีการรักษาแต่ละบุคคลนั้น ยังทำให้ผู้ป่วยสามารถลดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา แถมยังสามารถลดค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดได้อีกด้วย โดย 10 ขั้นตอนที่เราควรที่จะต้องเรียนรู้การเข้ารับการผ่าตัด มีดังนี้ 1.     ตรวจเช็คสิทธิการรักษาของตัวเอง ผู้ป่วยทุกคนในประเทศไทยจะมีสิทธิพื้นฐานของตัวเองไม่ว่าจะเป็นบัตรทอง ประกันสังคม ข้าราชการ หรือ รัฐวิสาหกิจ การที่เรารู้จักสิทธิเข้ารับการรักษาตามสิทธิจะทำให้ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นได้ 2.     สอบถามข้อมูลโรคที่จะผ่าตัดให้ชัดเจน รวมถึงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นและทางเลือกอื่น หากไม่ได้รับการผ่าตัด...

มารู้จักกับโรคผิวหนังเกล็ดปลาหรือเด็กดักแด้กันเถอะ 

กลุ่มโรคผิวหนังเกล็ดปลา AUTOSOMAL RECESSIVE CONGENITAL ICHTHYOSIS (ARCI) เป็นกลุ่มของโรคผิวหนังทางพันธุกรรมอย่างหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีผิวหนังหนา แห้ง แตกเป็นเกล็ดคล้ายเกล็ดปลา โรคในกลุ่มนี้มีมากกว่า 20 โรค มีความหลากหลายทั้งระดับความรุนแรง ลักษณะภายนอก พันธุกรรมที่เป็นสาเหตุ และรูปแบบการถ่ายทอดลักษณะอาการจะมีลักษณะผิวแห้ง ลอกเป็นสะเก็ดดูคล้าย ๆ เกล็ดปลา โดยจะเป็นตลอดเวลาและมักจะเป็นทั้งตัว ส่วนใหญ่โรคนี้เป็นกรรมพันธุ์ แสดงอาการตั้งแต่แรกเกิดหรือเริ่มมีอายุมากขึ้น  ดร.นพ.ชวลิต ทรัพย์ศรีสัญจัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสถาบันโรคผิวหนังและสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โรคผิวหนังเกล็ดปลา จะมีอาการทางผิวหนังลอกเป็นเกล็ดทั่วตัวแต่กำเนิดจากสาเหตุทางพันธุกรรมเป็นภาวะที่พบได้น้อยโดยประมาณ 1 ใน 300,000 คน โดยที่ไม่มีความผิดปกติของอวัยวะอื่นร่วมด้วย และไม่มีแนวโน้มที่จะพองเป็นตุ่มน้ำ โรคเหล่านี้มีสาเหตุทางพันธุกรรมที่หลากหลาย ในปัจจุบันยังมีปัญหาในการวินิจฉัยเนื่องจากเป็นโรคที่พบไม่บ่อยและให้การวินิจฉัยได้ยาก  "ในปัจจุบันยีนที่เกี่ยวข้องกับโรคผิวหนังเกล็ดปลา มีมากมายหลายยีน การกลายพันธุ์ของยีนเหล่านี้ ส่งผลให้โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งไขมันเช่น ABCA12  การสังเคราะห์ไขมัน เช่น CERS3 และการเผาผลาญกรดไขมันหรือบทบาทในการประกอบโครงสร้าง cornified envelope เกิดความบกพร่อง โปรตีนเหล่านี้ทำงานร่วมกันจึงส่งผลให้เกิดความผิดปกติของการปกป้อง Barrier Function ของผิวหนัง อย่างไรก็ตามยังไม่ได้ทราบบทบาทที่แน่ชัดว่ามีโมเลกุลตัวใดบ้างที่เกี่ยวข้องโรคผิวหนังเกล็ดปลาแต่อย่างไรก็ดีมีการรายงานความสัมพันธ์ของยีนและฟีโนไทป์ในผู้ป่วยบางรายของความผิดปกติเหล่านี้...

10 อาการที่เจอได้บ่อยหลังผ่าตัดปอด 

​“มะเร็งปอด” ยังคงเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับ 2 ของคนไทย (ในผู้ชายรองจากมะเร็งตับและเป็นอันดับ 1 ในผู้หญิง) โดยในในปี 2565 มีผู้ป่วยจำนวนมากที่ตรวจพบว่าเป็นโรคมะเร็งปอดในประเทศไทย มากไปกว่านั้น การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปอดในระยะแรกยังทำได้ยาก จึงทำให้มีอัตราการเสียชีวิตสูง ซึ่งผู้ป่วยมากกว่าครึ่งที่ตรวจพบมักจะเจอในระยะลุกลาม เนื่องจากอาการของโรคมักไม่มีอาการส่งผลทำให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยล่าช้า ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์ทรวงอกเฉพาะทางด้านผ่าตัดส่องกล้อง โรงพยาบาลวชิรพยาบาลกล่าวว่าในปัจจุบันการผ่าตัดปอดได้มีการพัฒนาโดยเฉพาะการผ่าตัดส่องกล้อง ส่งผลทำให้การผ่าตัดปอดนั้นเป็นการผ่าตัดที่ปลอดภัย โดยในผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัวโอกาสที่จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงนั้นมีน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ แต่ทั้งนี้การผ่าตัดปอด จะต้องพบกับความเสี่ยงกับ 10 อาการที่เจอได้บ่อยหลังผ่าตัดปอด ซึ่งผู้ป่วยควรทราบก่อนเข้ารับการผ่าตัด ​1. เจ็บบริเวณลำคอ โดยระหว่างผ่าตัดจะใส่ท่อช่วยหายใจขนาดใหญ่ อาจมีการระคายเคืองและท่อโดนหลอดลมได้2. ไอหลังผ่าตัด เมื่อมีการใส่ท่อช่วยหายใจขนาดใหญ่ เพื่อทำการยุบปอด 1 ข้างระหว่างการผ่าตัด อาจเกิดการระคายเคืองที่ลำคอ หรืออาจเกิดจากการเลาะต่อมน้ำเหลืองซึ่งเกิดอาการบาดเจ็บต่อหลอดลมได้3. ปวดบริเวณหลัง หลังการผ่าตัดจะมีการฉีดยาชาบริเวณหลัง เพื่อลดอาการเจ็บจากการผ่าตัด ทำให้มีอาการปวดได้หรืออาจเกิดจากสายระบายที่อยู่ในทรวงอกทำให้มีอาการปวดได้4. เหนื่อยง่าย หายใจไม่สุด การผ่าตัดปอดส่งผลทำให้ปอดบางส่วนหายไป ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเหมือนเดิม แต่อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับ5. รู้สึกเหมือนถุงทรายบริเวณผิวหนังหรือผิวโป่งออกมา(subcutaneous emphysema) หลังจากการผ่าตัดใหม่ อาจจะมีลมที่เล็ดลอดไปทางผิวหนังได้ ซึ่งส่งผลให้เกิดความรู้สึกถุงทราย แต่ถ้ามีบริเวณผิวหนังโป่งมากขึ้นเรื่อย ๆ ควรรีบแจ้งแพทย์ทันที6. ปวดตึงบริเวณแผลผ่าตัด เกิดจากแผลผ่าตัดมีการเย็บของไหม ทำให้รู้สึกตึงได้7. เจ็บแปลบ ๆ คล้ายไฟช็อตบริเวณลิ้นปี่หรือราวนม เกิดจากอาจมีอาการบาดเจ็บทางเส้นประสาทบริเวณซี่โครงบริเวณผ่าตัด (neurophatic pain) ซึ่งมีระบบประสาทส่งต่อไป (Refer pain) ยังบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือราวนม...

ติดตามสถานการณ์โรคมือเท้าปากในช่วงฤดูฝน 

โรคมือเท้าปาก เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่สามารถติดต่อได้ง่าย พบบ่อยในเด็กเล็ก โดยเฉพาะในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี โรคมือเท้าปากมักระบาดในโรงเรียน ชั้นอนุบาลเด็กเล็กหรือสถานรับเลี้ยงเด็กและเกิดการระบาดได้หลายช่วงเวลาของปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน โดยสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเอ็นเทอโรไวรัส มีหลายสายพันธุ์ ได้แก่ ไวรัสชนิดค็อกซากี จึงมีอาการแสดงที่หลากหลาย แต่ส่วนใหญ่มักจะมีอาการไม่รุนแรง ในกรณีที่มีการอักเสบของสมองร่วมด้วย มักเกิดจากเชื้อเอ็นเทอโรไวรัส 71 หรือ อีวี 71 ทำให้มีอาการรุนแรงและเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตได้ รศ.นพ.เทอดพงศ์ เต็มภาคย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนังเด็กภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ผู้ป่วยโรคมือเท้าปาก มักจะมีอาการไข้ เจ็บปาก น้ำลายไหล ทานอาหารได้ลดลง เนื่องจากมีแผลที่บริเวณริมฝีปาก กระพุ้งแก้มและเพดานปาก พบผื่นผิวหนังที่ร่างกายเป็นจุดแดงหรือตุ่มน้ำใสรูปร่างกลมรี บนพื้นผิวสีแดง มักพบที่บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า รอบก้นและอวัยวะเพศ อาจพบผื่นบริเวณลำตัว แขนและขาได้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการแสดงทางผิวหนังหลากหลายรูปแบบ และความรุนแรงของอาการแสดงขึ้นกับหลายปัจจัย โดยเฉพาะสายพันธุ์ของเชื้อไวรัส โรคประจำตัวและยาที่รับประทานเป็นประจำของผู้ป่วย  ผู้ป่วยมักมีอาการของโรคประมาณ 3-5 วัน และมักจะดีขึ้นใน 1 สัปดาห์ ส่วนใหญ่ มักมีอาการไม่รุนแรง แต่ในผู้ป่วยบางราย อาจพบภาวะการขาดน้ำจากการรับประทานอาหารและน้ำลดลง  ​รศ.นพ.เทอดพงศ์กล่าวว่า โรคมือเท้าปากจะมีการติดต่อและการแพร่กระจายโรค โดยเชื้อไวรัสจะแพร่ผ่านทางระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหาร สามารถติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย อุจจาระ และน้ำจากแผลตุ่มพองของผู้ป่วย และสามารถติดต่อจากการสัมผัสผ่านของเล่น มือผู้เลี้ยงดู น้ำและอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ เชื้อไวรัสนี้จะมีระยะฟักตัวประมาณ...

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคด่างขาว  

โรคด่างขาวเป็นโรคผิวหนังที่มีการทำลายเซลล์สร้างเม็ดสีของผิวหนัง ทำให้ไม่มีการสร้างเม็ดสีเมลานินตามปกติ เกิดรอยโรคสีขาวชัดเจนตามมา โรคด่างขาวพบได้ร้อยละ 0.5 ถึง 2 ของประชากรทั่วโลก พบในเพศหญิงเท่ากับเพศชายและพบได้ทุกช่วงอายุ โดยพบบ่อยในสองช่วงอายุ คือ ในเด็กช่วงอายุ 1 ถึง 10 ปี และผู้ใหญ่ช่วงอายุ 20 ถึง 50 ปี โรคด่างขาวพบได้ 2 ชนิดหลักคือ โรคด่างขาวชนิดกระจายและโรคด่างขาวชนิดเฉพาะส่วน ซึ่งแต่ละแบบมีสาเหตุและการดำเนินโรคแตกต่างกัน ส่วนสาเหตุของโรคด่างขาว เกิดจากหลายสาเหตุประกอบกัน เช่น พันธุกรรม สารเคมี การบาดเจ็บที่ผิวหนังและที่สำคัญมีการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้มีการทำลายเซลล์สร้างเม็ดสีที่ผิวหนัง เกิดเป็นผื่นด่างขาวตามมา รศ.พญ.นฤมล ศิลปะอาชา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาลกล่าวว่า โรคด่างขาวนั้น จะมีความแตกต่างกับโรครอยขาวชนิดอื่น ๆโดย โรคด่างขาวจะเห็นผื่นสีขาวคล้ายชอล์กขอบเขตเรียบแยกจากผิวหนังปกติได้ชัดเจน สามารถพบรอยโรคด่างขาวได้ทุกตำแหน่งของร่างกายรวมถึงเยื่อบุ ส่วนใหญ่ไม่มีอาการแต่บางรายมีอาการคันบริเวณรอยโรคได้ พบมีผมหรือขนสีขาวร่วมด้วยได้บ่อยโดยเฉพาะโรคด่างขาวชนิดเฉพาะส่วน การที่พบผมหรือขนมีสีขาวเกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสีในรากผมหรือขนถูกทำลาย ในรายที่มีผิวขาวมากหรือเป็นโรคด่างขาวในช่วงแรกอาจเห็นรอยโรคไม่ชัดเจน แพทย์อาจใช้การตรวจเพิ่มเติมเช่นการใช้ไฟบางชนิดส่องดูรอยโรค (Wood’s lamp) จะช่วยทำให้เห็นรอยขาวชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังมีโรคผิวหนังอีกหลายโรคที่มีลักษณะคล้ายกับโรคด่างขาว เช่น โรคเกลื้อน โรครอยขาวจากการอักเสบ ซึ่งสามารถตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมเพื่อแยกโรคได้การรักษา โรคด่างขาว มีหลายวิธี ขึ้นกับชนิด และตำแหน่งของรอยโรค การรักษาหลักประกอบด้วย การใช้ยาทา ยารับประทานการฉายแสงอาทิตย์เทียม...

โรคอกนูน-อกบุ๋มสามารถรักษาด้วยการผ่าตัดส่องกล้อง 

การรักษาความผิดปกติของบริเวณกระดูกทรวงอกนั้นไม่น่ากลัวอีกต่อไปแล้ว เนื่องจากระบบการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดส่องกล้องเพื่อทำการรักษาของความปกติของโรคกระดูกทรวงอกผิดรูป นั้นมี 2ประเภท คือ ความผิดปกติแบบอกบุ๋ม (Pectus excavanatum)และอกนูนหรืออกไก่ (Pectus carinatum) โดยสาเหตุการเกิดความผิดปกตินี้ มักเกิดจากการเจริญเติบโตที่ผิดทิศทางของกระดูกอ่อนทรวงอก โดยมาก มักพบแบบอกบุ๋มมากกว่าอกนูนและมักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยปกติแล้วผู้ป่วยที่ทรวงอกผิดรูป จะไม่มีผลกระทบต่อร่างกาย แต่อาจจะมีในบางรายเท่านั้น ที่ส่งผลต่อการทำงานของปอดและหัวใจทำให้เกิดอาการเหนื่อยง่าย อย่างไรก็ตามหลายครั้งที่ความผิดรูปของกระดูกทรวงอกเหล่านี้ ส่งผลต่อความมั่นใจของผู้ป่วยไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตประจำวันกับผู้ป่วยหรือสังคมคนรอบข้างเองก็ตาม ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย ศัลยแพทย์ทรวงอกเชี่ยวชาญด้านผ่าตัดส่องกล้องปอดและต่อมไทมัส คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล ได้กล่าวว่า เดิมทีการผ่าตัดแก้ไขในโรคอกบุ๋ม (Pectus excavanatum)นั้น สามารถทำได้โดยตัดบริเวณกระดูกอ่อนซี่โครงหลายชิ้นและพลิกกลับด้าน หรือที่เรียกว่า (Sternum turnover) ซึ่งการผ่าตัดนี้มักเกิดภาวะแทรกซ้อนค่อนข้างมาก แต่ในปัจจุบันการผ่าตัดรักษาโรคอกบุ๋ม นี้ค่อนข้างพัฒนาไปมาก...

การเติมเกลือในอาหาร กับอันตรายจากการการเสียชีวิตก่อนวัย เสี่ยงเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคมะเร็ง

รศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็มและนายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย และพญ.รุ่งทิวา กิจเพิ่มเกียรติ อายุรแพทย์โรคไต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดเผยว่า จากงานวิจัย Hao Ma และคณะ ตีพิมพ์ในวารสาร European Heart Journal (ehac208) ในเดือนกรกฎาคม 2565 ได้ค้นพบว่าความถี่ของการเติมเกลือในอาหารที่บ่อยขึ้นสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยที่มากขึ้น ส่วนการรับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง  เช่นผักและผลไม้ อาจจะมีส่วนในการลดความเสี่ยงของการเติมเกลือในอาหารและอัตราการเสียชีวิตได้ เรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการกินเกลือและสุขภาพ ยังเป็นปัญหาที่ถกเถียงกันมาอย่างยาวนาน การเติมเกลือในอาหารมีความสัมพันธ์โดยตรงกับความชอบรสชาติเค็มและปริมาณเกลือที่ได้รับในแต่ละวัน ดังนั้นการศึกษานี้จึงเน้นนำในเรื่องของความถี่ในการเติมเกลือในอาหารมาเป็นตัวแทนเพื่อดูความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมลักษณะนิสัยของการกินเกลือและอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ทั้งนี้จากรายละเอียดที่นักวิจัยได้จัดทำการศึกษาเป็นหมู่คณะจำนวนกว่า 5 แสนคน จาก 22 สถาบันในประเทศสหราชอาณาจักร ได้แก่ อังกฤษ สก๊อตแลนด์ และเวลส์ ตั้งแต่ปี 2006 ถึง ปี 2010 โดยจะให้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับความถี่ในการเติมเกลือในอาหาร (ไม่นับรวมการเติมช่วงระหว่างปรุงอาหาร) และตรวจปัสสาวะเพื่อดูปริมาณเกลือโซเดียมและโพแทสเซียม สำหรับข้อมูลการเสียชีวิตจะนำข้อมูลมาจากศูนย์บริการสุขภาพแห่งชาติในอังกฤษ เวลส์ และสก๊อตแลนด์  โดยผลการศึกษาพบว่า ความถี่ในการเติมเกลือในอาหารมีความสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณเกลือโซเดียมในปัสสาวะและมีความสัมพันธ์แบบตรงกันข้ามกับปริมาณโพแทสเซียมในปัสสาวะ สำหรับอัตราการเสียชีวิตก็เพิ่มสูงขึ้นเป็น 1.02 เท่า 1.07 เท่าและ 1.28 เท่าในกลุ่มเติมเกลือในอาหารบางครั้ง บ่อยครั้งและทุกครั้งตามลำดับ  เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่เคยเติมเกลือในอาหารเลย และเมื่อนำปัจจัยอื่น ๆ มาวิเคราะห์ร่วมด้วย  เช่น ความดันโลหิตสูง...
Social profiles