มารู้จักเนื้องอกต่อมไทมัสที่มีคนไทยมีโอกาสเป็นหนึ่งในล้าน

เนื้องอกหรือมะเร็งต่อมไทมัส เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นในเซลล์บนพื้นผิวของต่อมไทมัส (ต่อมไทมัสนั้นเป็นต่อมที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-cell ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกันของบุคคล เนื้องอกหรือมะเร็งต่อมไทมัส เป็นเนื้องอกค่อนข้างหายาก และมะเร็งชนิดนี้มักเกิดขึ้นในบริเวณต่อมไทมัสโดยอุบัติการณ์เกิดในคนไทยจะมีโอกาสเกิดขึ้นใน 1 ในล้านคน  ผศ.นพ.ศิระ  เลาหทัย  ศัลยแพทย์ทรวงอก จากคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล กล่าวว่า เนื้องอกหรือมะเร็งต่อมไทมัสส่วนใหญ่เติบโตช้า และมีเพียงไม่กี่รายที่ลุกลามออกนอกต่อมไทมัส ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านพยาธิวิทยาบางคนจำแนกมะเร็งต่อมไทมัสว่าเป็นมะเร็ง (ร้ายแรง)หรือเนื้องอก (ไม่ร้ายแรง) ได้ยาก ซึ่งวิธีการรักษาทั้ง 2 ชนิดเหมือนกับมะเร็งอัตราการรอดชีวิตหลังผ่าตัดนั้นค่อนข้างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการวินิจฉัย เนื้องอกในระยะเริ่มแรกและได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญด้านทรวงอก  โดยผู้ป่วยโรคของเนื้องอกต่อมไทมัสนั้น อาการส่วนใหญ่มักจะส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ ซึ่งไม่น่าแปลกใจนัก เนื่องจากเนื้องอกหรือมะเร็งต่อมไทมัสนั้นเกิดขึ้นที่หน้าอก อาการที่เกิดขึ้นอาจมีได้แก่ หายใจลำบาก ไอแห้งเรื้อรังหรือเจ็บหน้าอก บางรายหลายคนอาจตามมาด้วยอาการมองเห็นภาพซ้อนหรือกลืนลำบาก หรืออ่อนเพลีย เนื่องจากเนื้องอกหรือมะเร็งต่อมไทมัสมักสัมพันธ์กับโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia Gravis:MG) สิ่งสำคัญ คือเราต้องทราบว่าเนื้องอกหรือมะเร็งต่อมไทมัสนั้น จะส่งผลกระทบกับผู้ป่วยแต่ละรายที่แตกต่างกันไป ในความเป็นจริงในขณะที่ผู้ป่วยต่อมไทมัสบางรายมีอาการหลากหลาย แต่บางรายก็ไม่มีอาการ หรือพบเจอโดยบังเอิญได้ ส่วนการวินิจฉัยเนื้องอกชนิดนี้นั้น โดยปกติต้องใช้การทดสอบหลายอย่าง เช่น การสแกนเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) หากผลการทดสอบภาพเหล่านี้ ชี้ให้เห็นว่ามีเนื้องอกหรือมีสิทธิ์เป็นชิ้นเนื้อมะเร็งต่อมไทมัส ขั้นตอนต่อไปอาจเป็นการทำชิ้นเนื้อ...

จุกแน่นแสบร้อนท้อง… ใช่โรคกระเพาะจริงหรือไม่ ต้องทำอย่างไร?

หลาย ๆ คน คงเคยมีอาการจุกแน่นลิ้นปี่ แสบร้อน เป็น ๆ หาย ๆ แล้วคิดว่าตัวเองเป็นโรคกระเพาะ กินยารักษามาเป็นปี แต่ไม่ยอมหายสักที จริง ๆ แล้วเป็นอะไรกันแน่ ไม่ใช่มะเร็งใช่มั้ย จะรู้ตัวสายเกินไปหรือไม่ โรคกระเพาะ (dyspepsia) ที่หลาย ๆ คนเข้าใจกัน คือ อาการจุกแน่นไม่สบายท้องในช่องท้องส่วนบน หรือใต้ลิ้นปี่ บางคนอาจจะมีอาการแสบร้อนร่วมด้วย และมักจะสัมพันธ์กับช่วงเวลาอาหาร เช่น ช่วงเวลาท้องว่างหลังตื่นนอน หรือดึก ๆ ก่อนเข้านอนและหลังอาหารในผู้ป่วยบางราย...

ผ่าตัดรักษามะเร็งปอด ทำได้อย่างไร

มะเร็งปอด เป็นโรคร้ายที่ป้องกันได้ด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งปอด แต่หากเป็นแล้ว ผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้าสู่กระบวนการรักษา ซึ่งหลักการในรักษามะเร็งปอดคือ การผ่าตัดเอาปอดที่เป็นโรคและต่อมน้ำเหลืองที่อยู่รอบๆรอยโรคออกไปให้หมด สำหรับวิธีการเข้าไปผ่าตัดรักษานั้น สามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู่ป่วย ตำแหน่งของก้อนมะเร็งและระยะของโรค ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย  แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์ทรวงอกเฉพาะทางด้านการผ่าตัดส่องกล้องในช่องทรวงอก โรงพยาบาลวชิรพยาบาล กล่าวว่า วิธีการผ่าตัดเพื่อรักษามะเร็งปอดนั้น มี 2 วิธี 1.การผ่าตัดแบบแผลเปิด (Open Thoracotomy) เป็นการผ่าตัดที่มีแผลยาวหนึ่งบริเวณใต้ต่อบริเวณสะบัก จะใช้อุปกรณ์ถ่างขยายซี่โครง และ ใช้มือของศัลแพทย์และอุปกรณ์การผ่าตัด เข้าไปทำการผ่าตัดปอด โดยทั่วไปความยาวของแผลจะอยู่ประมาณ 20-30 เซนติเมตร และ 2. การผ่าตัดเจาะรูส่องกล้อง (Uniportal Video-assisted thoracoscopic) ทำได้โดยการเจาะรูเล็กๆ บริเวณข้างลำตัว 1 แผล ขนาดประมาณ 3 เซนติเมตรเพื่อสอดกล้องและอุปกรณ์ผ่าตัดที่มีลักษณะเป็นท่อบางๆ ยาว ตรงปลายท่อมีหลอดไฟและกล้องความละเอียดสูงเพื่อให้ศัลยแพทย์มองเห็นภายในช่องทรวงอกและตัดก้อนมะเร็งพร้อมกับต่อมน้ำเหลืองที่อยู่รอบๆได้  โดยทั่วไป ศัลยแพทย์ทรวงอกสามารถใช้วิธีการผ่าตัดส่องกล้องรักษามะเร็งปอดได้ทุกตำแหน่งของปอดทั้ง 2 ข้าง ยกเว้นกรณีที่มะเร็งก้อนใหญ่มากหรือติดอวัยวะข้างเคียงค่อนข้างมาก อาจต้องใช้การผ่าตัดแบบเปิดแทน การผ่าตัดแต่ละวิธีมีข้อดีและข้อด้อยอย่างไร การผ่าตัดเจาะรูส่องกล้อง ลดอาการบาดเจ็บ และ การกระตุ้นต่อการอักเสบของกล้ามเนื้อส่งผลทำให้ร่างกายบอบช้ำน้อย แผลผ่าตัดเล็ก เจ็บแผลน้อยกว่า...

ไอเป็นเลือด อาจเป็นเรื่องร้ายแรงถึงเสียชีวิตได้

ภาวะไอเป็นเลือด อาจเป็นเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายแรง อย่างไรก็ตามเราจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์โดยละเอียดเสียก่อน  อาการไอเป็นเลือดนั้นมักเกิดจากที่เส้นเลือดที่เลี้ยงบริเวณหลอดลม มีอาการอักเสบและแตก โดยความรุนแรงขึ้นอยู่กับปริมาณของเลือดที่ออกมา โดยส่วนมากมักเริ่มมาจากมีเสมหะปนเลือดจนกระทั่งออกมาเป็นแก้ว หรือมีปริมาณมาก ๆ จนน่าตกใจ ซึ่งเมื่อไรก็ตามที่มีภาวะไอเป็นเลือดและมีเลือดออกมากกว่า200 มิลลิตรต่อครั้ง ถือว่ามีความเสี่ยงที่มีโอกาสเสียชีวิตได้ เนื่องจากผู้ป่วยมีโอกาสสำลักและติดเชื้อได้มากขึ้น ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย ศัลยแพทย์ทรวงอกเฉพาะทางด้านผ่าตัดส่องกล้องจากโรงพยาบาลวชิรพยาบาล กล่าวว่า ในยุคปัจจุบันปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ยังคงเป็นปัญหาหลักที่ก่อให้เกิดอาการไอ ปอดติดเชื้อ จนไปถึง ไอเป็นเลือดได้ นอกจากปัญหาเรื่องฝุ่น สาเหตุของโรคนั้นอาจเป็นได้จาก หลอดลมอักเสบ หรือ ปอดติดเชื้อ หรือ วัณโรคปอด จนไปถึงมะเร็งปอด โดยหน้าที่ของแพทย์นั้น คงต้องหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร ฉะนั้นการวินิจฉัยต้องเริ่มตั้งแต่การซักประวัติ จนไปถึงการทำเอกซเรย์ปอดและการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์...

ผ่าตัดถุงน้ำดีแบบซ่อนแผล

ปัจจุบันบนโลกของเรามีผู้ป่วยเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดีถึง 20% ของคนทั่วไป โดยในประเทศไทยมีผู้ป่วยที่มีนิ่วในถุงน้ำดีอยู่ที่ประมาณ 6% และมีแนวโน้มในการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเราได้อิทธิพลการรับประทานอาหารตามชาวตะวันตก ทำให้มีโอกาสเกิดนิ่วชนิดคลอเรสเตอรอลเพิ่มขึ้น แต่กว่า 80% ของผู้ป่วยที่มีโรคนิ่วในถุงน้ำดี จะไม่มีอาการ!! แล้วเราจะทราบได้อย่างไร...ว่าเรามีนิ่วในถุงน้ำดี  ผู้ป่วยที่เป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดีที่มีอาการน้อย มักจะรู้สึกจุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ไปจนถึงใต้ชายโครงขวา และมักเป็นหลังรับประทานอาหารมัน ๆ หรืออาหารมื้อใหญ่ ๆ เป็นครั้ง ๆ ละประมาณ 30-60 นาทีและหายได้เอง แต่ถ้าหากมีอาการมากขึ้นจะรู้สึกปวดร้าวจากท้องไปที่หลัง หรือสะบักข้างขวาได้ บางคนอาจจะปวดมากจนไม่สามารถทานอาหารได้เลย และในผู้ป่วยที่เริ่มมีภาวะแทรกซ้อนแล้ว จะเริ่มปวดท้องรุนแรงตลอดเวลา มีไข้สูง อาจจะถึงขั้นตัวเหลืองตาเหลืองได้ ในกรณีนี้ผู้ป่วยจำเป็นจะต้องเข้าพบแพทย์อย่างเร่งด่วน ส่วนในกลุ่มที่ไม่มีอาการมักจะตรวจพบได้จากการตรวจสุขภาพประจำปี หรือพบเจอจาการตรวจ อัลตราซาวน์ หรือ ทำ CT scan นิ่วในถุงน้ำดีจำเป็นต้องผ่าตัดมั้ย?? และผ่าตัดอย่างไร หลายคนมักจะสงสัยว่า การผ่าตัดเอาแค่นิ่วออกใช่มั้ย หรือ ถ้าไม่ผ่าตัดได้หรือไม่ ? การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี คือการตัดถุงน้ำดีออกไปครับ ไม่สามารถนำแค่นิ่วออกไปได้ เพราะว่าจะมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำ หรืออาจจะเกิดน้ำดีรั่วในช่องท้องได้ครับ และถ้าเราเริ่มมีอาการของนิ่วในถุงน้ำดีแล้ว จำเป็นจะต้องได้รับการผ่าตัดถุงน้ำดีเสมอครับ เพราะว่าเมื่อเริ่มมีอาการแล้ว แปลว่าในอนาคตจะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้สูงครับ แต่ ถ้าไม่มีอาการเลยจะจำเป็นต้องผ่าตัดก็ต่อเมื่อ 1. นิ่วมีขนาดใหญ่กว่า 3 ซม. 2. ตรวจพบนิ่วร่วมกับติ่งเนื้อในถุงน้ำดี3.ถุงน้ำดีมีลักษณะอักเสบเรื้อรัง (porcelain gallbladder) 4. เป็นโรคเม็ดเลือดแดงผิดปกติ เช่น sickle cell anemia, hereditary spherocytosis และ 5.อยู่ในพื้นที่ห่างไกลไม่สามารถเข้ารับการรักษาได้ถ้าเกิดมีภาวะแทรกซ้อน การผ่าตัดโรคนิ่วในถุงน้ำดีในปัจจุบันต่างกับในอดีต อย่างไร? ในอดีตการผ่าตัดถุงน้ำดีจะเป็นแบบเปิดซึ่งมีแผลขนาด 15-20 ซม. ซึ่งการผ่าตัดแบบนี้ทำให้ผู้ป่วยปวดแผลมาก ฟื้นตัวช้าและมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนของแผลผ่าตัดได้สูง จนในปัจจุบันได้มีการพัฒนาการผ่าตัดแบบส่องกล้อง โดยจะมีแผลเพียงแค่ 0.5-1 ซม. ประมาณ 3-4 แผล ทำให้...

หมดปัญหาเหงื่อออกเท้า ปัญหาที่แก้ได้

ปัญหาเหงื่อออกเท้า ยังคงเป็นปัญหาที่พบเจอได้บ่อย นอกจากไม่เพียงแต่ทำให้เกิดกลิ่นเท้า แต่ยังทำให้ขาดความมั่นใจ แต่ยังส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอีกด้วย โรคเหงื่อออกเท้าเป็นการปรับอุณหภูมิของร่างกายในการทำให้เท้าเย็นลง สร้างความสมดุลให้เซลล์ผิว แต่ถ้าเหงื่อออกเท้ามากเกินไปจนส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กโดยเร็ว  โดยอาการเหล่านี้บ่อยครั้งที่มักเกิดจากต่อมเหงื่อถูกกระตุ้นการทำงานมากกว่าปกติ จนทำให้เกิดภาวะเหงื่อออกเท้ามากผิดปกติ (Palmar Hyperhidrosis) โดยอาการที่ผิดปกติ คือ เหงื่อออกเท้ามากเกินไปสัปดาห์ละ 2 ครั้ง และมักเป็นบริเวณเท้าทั้ง 2 ข้าง ผู้ป่วยส่วนมากมักมีอาการสัมพันธ์ร่วมกับเหงื่อออกมือหรือรักแร้ และอาการดังกล่าวนั้น มักเกิดขึ้นโดยไม่เกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆหรือภูมิอากาศ โดยมักเป็นตั้งแต่อายุน้อย ๆ หรือมักมีประวัติครอบครัวมีอาการคล้ายคลึงกัน วิธีการรักษาเหงื่อออกเท้าในปัจจุบัน เริ่มจากการใช้ผลิตภัณฑ์ระงับเหงื่อและรับประทานยาตามที่แพทย์แนะนำหากอาการยังไม่ดีขึ้น...

แพทย์เผยเตรียมรับมือคนไทยอ้วน

ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดและรักษาโรคอ้วน เผยเนื่องในวันอ้วนโลกวันที่  4 มีนาคมของทุกปี ว่าในปัจจุบันมีคนไทยมีภาวะโรคอ้วนมากกว่า 1 ใน 3 (“น้ำหนักเกิน” ค่า BMI > 25 kg/m) โดยในกลุ่มนี้มีเกือบ 7 ล้านคนเป็นโรคอ้วนทุพพลภาพ (ค่า BMI > 30 kg/m) การรักษาโรคอ้วนด้วยการผ่าตัดกระเพาะ ถือเป็นอีกวิธีในการต่อสู้กับภาวะโรคอ้วนรุนแรง ที่จะทำให้ลดภาวะของโรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรงต่าง ๆ ที่เกิดจากความอ้วน นพ.นรนนท์  บุญยืน ศัลยแพทย์ผ่าตัดผ่านกล้องและโรคอ้วน โรงพยาบาลอุตรดิตถ์...

รอบรู้เรื่องโรคไทรอยด์

รู้มั้ยว่ามากกว่า 2 ใน 3 ของพวกเราทุกคนต่างก็มีก้อนที่ต่อมไทรอยด์ โดยที่ผู้หญิงมีโอกาสพบก้อนที่ต่อมไทรอยด์มากกว่าผู้ชายได้ถึง 4 เท่า ปัญหาคือ ถ้าเราเจอก้อนที่ต่อมไทรอยด์....แล้วจะทำอย่างไรต่อดี ในอดีตเราจะรู้ว่ามีก้อนที่ต่อมไทรอยด์ก็ต่อเมื่อ คลำก้อนได้หรือมีอาการกดเบียดจากก้อน เช่น หายใจลำบาก กลืนลำบาก ซึ่งจะพบได้เพียงแค่ 10-15% ของคนที่มีก้อนเท่านั้น แต่ในปัจจุบันเราให้ความสำคัญกับสุขภาพเรามากขึ้น มีการตรวจคัดกรองมะเร็งต่าง ๆมากขึ้น  เราจึงพบก้อนที่มีขนาดเล็กลงและไม่มีอาการ  ทำให้เราเจอก้อนที่ต่อมไทรอยด์เพิ่มมากขึ้นจนถึง50-67 % ของคนทั่วไป แต่อย่าเพิ่งตกใจไปนะครับ.... มีเพียงแค่ 4-7% ของก้อนเท่านั้นที่มีโอกาสกลายเป็นมะเร็งได้ หลังจากพบก้อนที่ต่อมไทรอยด์แล้ว เราจำเป็นต้องตรวจวัดระดับฮอร์โมน และตรวจอัลตร้าซาวด์เพื่อดูลักษณะของก้อน ปกติแล้วก้อนที่มีขนาดใหญ่กว่า 1-2 ซ.ม. หรือหน้าตาน่าสงสัยว่าจะเป็นมะเร็ง จะต้องได้รับการเจาะชิ้นเนื้อไปตรวจ ส่วนการส่งตรวจ Thyroid Scan จะพิจารณาทำในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะไทรอยด์เป็นพิษเท่านั้นครับ เมื่อแพทย์ผู้รักษาได้ข้อมูลต่าง ๆ ครบถ้วน ก็มาถึงขั้นตอนการวางแผนการรักษา การรักษาจะมีแนวทางการรักษาตั้งแต่การตรวจติดตามและเฝ้าระวังในกรณีที่มีก้อนขนาดเล็ก และลักษณะของก้อนไม่เหมือนมะเร็ง ส่วนข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด ได้แก่ ก้อนที่มีขนาดใหญ่...

คนอายุน้อย…ทำไมเป็นมะเร็งปอดมากขึ้น

โดยส่วนใหญ่หลาย ๆ คนมักคิดว่า “โรคมะเร็งปอด” ควรจะต้องเป็นในคนอายุมากหรือคนที่สูบบุหรี่เท่านั้นแต่แท้จริงแล้วโรคมะเร็งปอดสามารถเกิดขึ้นได้ในคนอายุน้อยเช่นเดียวกัน โดย ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย (อ้างอิง การศึกษา Journal of cancer ที่ในสังเกตพบว่ามะเร็งปอดมักพบในช่วงอายุ 70 ปีและมากกว่า 70% มักจะพบในช่วงอายุที่มากกว่า 55 ปี แต่อย่างไรก็ตามมากกว่า 10% ที่พบในกลุ่มที่อายุน้อยกว่า 50% และจำนวน 1.4% พบน้อยกว่าอายุ 35 ปี ทั้งนี้ในกลุ่มคนอายุน้อยจะสังเกตพบว่า จะเจอในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยชนิดที่พบมักจะเป็น Adenocarcinoma)  ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์ทรวงอกเฉพาะทางด้านการผ่าตัดส่องกล้องในช่องทรวงอก โรงพยาบาลวชิรพยาบาล กล่าวว่า ทั่วไปผู้ป่วยที่มีอายุน้อยมักจะพบระยะ 4 เมื่อการตรวจวินิจฉัยครั้งแรก (ระยะ 4 หมายถึง มีการลุกลามเข้าเยื่อหุ้มปอดหรือไปที่บริเวณอวัยวะอื่น ๆ  เช่น สมอง  กระดูก  ต่อมหมวกไต และตับ เป็นต้น) โดยสาเหตุที่พบเจอช้าเนื่องจากเวลามีอาการไอหรือเหนื่อย ในคนอายุน้อยทางการแพทย์เราจะนึกถึงโรคมะเร็งค่อนข้างน้อย จึงใช้เวลาในการหาสาเหตุอื่น ๆ...

วิธีการผ่าตัดรักษาโรคอ้วนแบบสลีฟพลัส Sleeve Plus

โรคอ้วน คืออะไร ? โรคอ้วน คือ ภาวะที่ร่างกายมีไขมันสะสมมากผิดปกติ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันพอกตับ โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ โรคเส้นเลือดหัวใจหรือสมองตีบตัน โรคกรดไหลย้อน กระดูกสันหลังหรือกระดูกเข่าเสื่อม เป็นต้น นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่อีกด้วย  การรักษาด้วยการใช้ยา  การออกกำลังกายหรือการรับประทานอาหารที่มีพลังงานต่ำ สามารถลดน้ำหนักได้ แต่ไม่สามารถรักษาหรือคงน้ำหนักให้ผู้ป่วยได้ตลอด ผู้ป่วยมักจะมีน้ำหนักตัวกลับมาเพิ่มขึ้นได้ จึงได้มีการรักษาด้วยการผ่าตัดขึ้น ซึ่งสามารถลดน้ำหนักได้มากกว่าและมีผลสามารถคงน้ำหนักได้เป็นระยะเวลานานมากกว่า 7-10 ปีขึ้นไป ในผู้ป่วยที่มีดัชนีมวลกาย ไม่มาก สามารถพิจารณาลดน้ำหนักโดยการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายได้ แต่หากผู้ป่วยมีดัชนีมวลกายที่สูงมากมักมีข้อจำกัดในการออกกำลังกายเนื่องจากมีโรคประจำตัวที่เกี่ยวกับโรคอ้วนร่วมด้วย นอกจากนี้ลำพังเพียงการออกกำลังกายและควบคุมอาหารมักไม่สามารถลดน้ำหนักได้มากเพียงพอที่จะทำให้หายจากโรคประจำตัวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วนได้ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ โรคเข่าเสื่อม โรคไขมันในเลือดสูง โรคไขมันเกาะตับ เป็นต้น การผ่าตัดรักษาโรคอ้วน คืออะไร ?...
Social profiles